2021-03-29 17:24
Mr.Yu Benlin ผู้อำนวยการกระทรวงพาณิชย์ระหว่างประเทศของจีนได้กล่าวในการฝึกอบรมออนไลน์หลักสูตรพิเศษเกี่ยวกับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ครั้งที่สอง ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมาว่า จีนได้เสร็จสิ้นการสัตยาบันในข้อตกลงของ RCEP และกลายเป็นประเทศแรกที่ให้สัตยาบันข้อตกลง นอกจากนี้ ประเทศไทยก็ได้ให้สัตยาบันข้อตกลงแล้วเช่นกัน ประเทศสมาชิก RCEP ทั้งหมดได้ระบุว่า จะให้สัตยาบันข้อตกลงก่อนสิ้นปีนี้และผลักดันให้ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2022
Mr. Tu Xinquan คณบดีสถาบันวิจัย WTO แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจระหว่างประเทศและเศรษฐศาสตร์ของจีนกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับนักข่าว Global Times เมื่อวันที่ 22 ว่า “หลังจากที่ประเทศสมาชิก RCEP ลงนามแล้ว ยังจะต้องได้รับการสัตยาบันจากสภานิติบัญญัติในประเทศก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ได้ ทั้งจีนและไทยได้ให้สัตยาบันข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ซึ่งหมายความว่า RCEP มีความก้าวหน้าที่สำคัญและคุ้มค่าที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า”
RCEP หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) เริ่มต้นมาจากอาเซียนในปี 2012 เมื่อวันที่ 15 เดือนพฤศจิกายนปี 2020 ประเทศสมาชิกซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศและคู่เจรจาอีก 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (อินเดียถอนตัวไปเมื่อปี 2019 ) ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงอย่างเป็นทางการ RECP เป็นเขตการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรของ 15 ประเทศสมาชิกมีมากถึง 22,700 หมื่นล้านคน GDP มีมูลค่าถึง 26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกโดยรวมอยู่ที่ 5.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 30% ของโลก Mr. Yu Benlin ได้กล่าวในชั้นเรียนว่า เมื่อข้อตกลงมีผลบังคับใช้ ประเทศสมาชิกจะทำการลดอัตราภาษีตามที่ได้ระบุไว้ในข้อตกลง จะมีการเปิดกว้างการลงทุนตามข้อตกลงและปฏิบัติตามข้อตกลงในด้านต่างๆ
ในปี 2020 ที่ผ่านมา การส่งออกของจีนไปยังประเทศสมาชิก RCEP มีมูลค่าถึง 698,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 27% ของการส่งออกทั้งหมดของจีน การนำเข้ามีมูลค่าประมาณ 775,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 38% ของการนำเข้าทั้งหมดของจีน Mr. Tu Xinquan กล่าว “ว่าการมีผลบังคับใช้ของ RCEP สามารถนำห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่อุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกไปสู่การบูรณาการในระดับที่สูงขึ้น ช่วยลดต้นทุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกและขจัดอุปสรรคที่ไม่จำเป็น เอเชียตะวันออกเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจโลกตื่นตัวมากที่สุดและมีศักยภาพในการเติบโตมากที่สุด หากเอเชียตะวันออกสามารถบรรลุการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้ข้อตกลง RCEP ไม่เพียงแต่จะทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคเติบโตเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกและการฟื้นตัวกับการเติบโตมีผลในเชิงบวกอีกด้วย”
การฝึกอบรมหลักสูตรออนไลน์ระดับชาติของ RCEP ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงพาณิชย์จีน ได้จัดขึ้นมาเป็นครั้งที่สองแล้ว โดยมีผู้เข้าร่วมจากทั่วประเทศ ทั้งจากหน่วยงานรัฐ อย่างเช่น ศุลกากรจีน หรือ สมาคมการค้าต่างๆ รวมกว่า 6,000 คน จุดประสงค์ของการจัดงานอบรมดังกล่าวขึ้นก็เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นั้นคุ้นเคยกับข้อตกลง การสร้างความร่วมมือในต่างประเทศในวงกว้างและแสวงหาโอกาสทางการตลาดที่มากขึ้น Mr.Yu Benlin กล่าวทิ้งท้ายว่า จีนในฐานะสมาชิกทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของ RCEP มีความสามารถอย่างเต็มที่ในการคว้าโอกาสจากความร่วมมือในครั้งนี้