บทวิเคราะห์ : ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนครบรอบ 30 ปี อบอุ่นดั่งหม้อไฟฉงชิ่ง

บทวิเคราะห์: ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนครบรอบ 30 ปี อบอุ่นดั่งหม้อไฟฉงชิ่ง_fororder_W020210608059208523227

ช่วงต้นสัปดาห์มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีนสมัยพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียนที่นครฉงชิ่ง นับเป็นการเจรจาต่อหน้ากันครั้งแรกระหว่างสองฝ่ายตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สะท้อนให้เห็นว่าทุกฝ่ายให้ความสนใจและความคาดหวังอย่างสูงต่อการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-อาเซียนภายใต้สถานการณ์ใหม่

เมื่อ 30 ปีก่อน ในวันที่ 19 กรกฎาคม รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งจีนและอาเซียนรวมตัวกันที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เพื่อเริ่มการหารือสร้างความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียน ซึ่งวางรากฐานให้กับการดำเนินความร่วมมือแบบอำนวยประโยชน์แก่กันระยะยาวระหว่างสองฝ่าย 30 ปีหลังจากนั้นความสัมพันธ์จีน-อาเซียนพัฒนาก้าวกระโดดกลายเป็นแบบฉบับแห่งความสำเร็จและมีพลวัตมากที่สุดในบรรดาความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

อย่างไรก็ตามแม้มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบหนึ่งร้อยปีและสถานการณ์โควิด-19 ที่ทับซ้อนกัน ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนยังคงเผชิญสถานการณ์ใหม่ที่ต่างจากช่วงเวลาใด ๆ ในอดีต แต่ก็ไม่ได้กระทบการไปมาหาสู่กันฉันมิตรบ่อยครั้งระหว่างสองฝ่าย

ในด้านการเมือง ปลายเดือนมีนาคมต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีต่างประเทศจาก 4 ประเทศอาเซียนได้เยือนจีนโดยบรรลุความรับรู้ร่วมกันหลายประการในด้านการต่อสู้กับโควิด-19 และผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่ามิตรภาพลึกซึ้งระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนใกล้ชิดกันมากขึ้น ในด้านเศรษฐกิจ ปริมาณการค้าการลงทุนระหว่างจีน-อาเซียนกระเตื้องขึ้นทวนกระแสสถานการณ์โควิด-19 ทั้งสองฝ่ายกลายเป็นหุ้นส่วนการค้าอันดับแรกของอีกฝ่ายหนึ่ง ผลักดันการลงนาม RCEP กระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนในด้านการเชื่อมโยงทางจิตใจระหว่างประชาชน จีนได้ฟันฝ่าอุปสรรคของตนให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์และเทคนิคต่อสู้กับไวรัสฯ แก่ประเทศอาเซียน จัดส่งวัคซีนโควิด-19 แก่ประเทศอาเซียนแล้วกว่า 100 ล้านโดส โดยวัคซีนโควิด-19 จีนเป็นที่พึ่งสำคัญของอาเซียนในการสร้างกำแพงอุดช่องโหว่ภูมิคุ้มกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวล้วนสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีแก่การยกระดับความสัมพันธ์จีน-อาเซียน

บทวิเคราะห์: ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนครบรอบ 30 ปี อบอุ่นดั่งหม้อไฟฉงชิ่ง_fororder_129937041_15348366263731n

ส่วนนครฉงชิ่งซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีนสมัยพิเศษครั้งนี้ก็ได้รับความสนใจจากทุกฝ่าย ฉงชิ่งตั้งอยู่ตรงจุดบรรจบกันระหว่างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี โดย 3 โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนกับสิงคโปร์ก็ตั้งอยู่ที่นี่ ส่งเสริมบทบาทศูนย์กลางของฉงชิ่งในการผลักดันทางบกและทางทะเลแห่งใหม่ให้มีความเด่นชัดยิ่งขึ้น

เส้นทางบกและทางทะเลแห่งใหม่เริ่มต้นจากฉงชิ่ง มีรูปแบบการขนส่งทั้งทางราง ทางถนน และทางน้ำ จากด่านพรมแดนและท่าเรือออกทะเล อาทิ รุ่ยหลี่ โม่ฮาน ผิงเสียง และชินโจว เป็นต้น เชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ทำให้หนึ่งแถบกับหนึ่งเส้นทางเชื่อมโยงกันทางกายภาพ แขกผู้มีเกียรติจากฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา และเมียนมาที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ยังได้เดินทางไปสำรวจท่าเรือกั่วหยวนฉงชิ่งซึ่งเป็นแบบฉบับของศูนย์รวมการส่งขน รวมทั้งสัมผัสความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของฉงชิ่งทั้งทางบกและทางทะเลแห่งใหม่

มีการวิเคราะห์เห็นว่า การเลือกฉงชิ่งเป็นสถานที่จัดประชุม มีประโยชน์ต่อการแสดงแนวคิดและปฏิบัติการใหม่ในการสร้างสรรค์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ส่งเสริมการหมุนเวียนทั้งในและนอกประเทศ ส่งสัญญาณเชิงบวกว่าจีนจะมอบตลาดที่ใหญ่กว่า มีโอกาสที่มากกว่า และพลวัตที่แข็งแกร่งกว่าแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกซึ่งรวมถึงประเทศอาเซียนด้วย

รัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีนสมัยพิเศษ เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียนครั้งนี้ พากันกล่าวที่นครงฉงชิ่งว่า ยินดีประสานยุทธศาสตร์การพัฒนากับจีน ผลักดันความสัมพันธ์จีน-อาเซียนให้ก้าวไปอีกขั้น ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า ฉงชิ่งในฐานะสถานที่จัดงาน อาหารเลิศรสที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือหม้อไฟฉงชิ่ง เราเชื่อว่าความสัมพันธ์จีน-อาเซียนครบรอบ 30 ปี จะอบอุ่นเจริญเติบโตเหมือนดั่งหม้อไฟฉงชิ่ง

(Tim/Cui)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)