2021-08-25 06:53ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนและนครนิวยอร์กออกรายงานใส่ร้ายโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และการลงทุนในต่างประเทศของจีนว่า การดำเนินธุรกิจในต่างประเทศของจีนมีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน
แต่ข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นการโกหกหลอกลวง แท้ที่จริงแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจีนและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันพัฒนา “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อกระตุ้นการพัฒนาร่วมกัน ลดความยากจนขั้นสุดขีด และปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรในท้องถิ่น จึงถือเป็นการสร้างคุณูปการต่อการพัฒนาภารกิจสิทธิมนุษยชนทั่วโลกอย่างมิอาจโต้แย้งได้
จีนยึดหลักการปรึกษาหารือกันอย่างกว้างขวาง ให้การสนับสนุนร่วมกัน และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนา “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยย้ำหลายต่อหลายครั้งว่า โครงการนี้ไม่ได้เป็นกลยุทธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์แบบบริการตนเองอย่างที่นักการเมืองตะวันตกซึ่งยึดทฤษฎีเกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์ หรือ เกมที่ต้องมีผู้แพ้ผู้ชนะได้คาดเดาไว้
แม้จีนเป็นผู้เสนอข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ก็ตาม แต่โอกาสการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เข้าร่วม นอกจากนี้ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ยังเป็นโครงการที่เปิดกว้างและครอบคลุม ซึ่งต้อนรับการมีส่วนร่วมของตลาดฝ่ายที่สามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ความร่วมมือที่ดียิ่งขึ้น
จากการดำเนินโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” บริษัทจีนได้นำเสนอโซลูชั่นการจัดหาพลังงานสะอาดและปลอดภัย ตอบสนองความต้องการในท้องถิ่นแก่บางพื้นที่ในประเทศปากีสถานและกัมพูชา ช่วยให้ประชาชนจำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสใช้ไฟฟ้าในราคาถูก จากการดำเนินโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้งานมานานแล้วในประเทศกรีซและประเทศอื่น ๆ ได้รับการปรับปรุงดีขึ้น กลายเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนทางรถไฟที่กำลังก่อสร้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป และแอฟริกาจะอำนวยความสะดวกต่อการคมนาคมขนส่งแก่ประเทศเหล่านี้
ตามรายงานธนาคารโลก ภายใน ค.ศ. 2030 โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จะช่วยให้ประชากร 7.6 ล้านคนพ้นจากภาวะยากจนสุดขีด และประชากร 32 ล้านคนพ้นจากภาวะยากจนระดับปานกลางทั่วโลก
ภายใต้สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ประเทศต่าง ๆ ตามรายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นอกจากยังคงเน้นพัฒนาความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน การค้า และการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว ยังขยายความร่วมมือครอบคลุมถึงด้านสาธารณสุขด้วย
เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จีนและ 28 ประเทศได้ร่วมกันริเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนระหว่างประเทศรายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ด้านความร่วมมือทางวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมความช่วยเหลือ การส่งออก และการผลิตวัคซีนร่วมกัน เพื่อร่วมกันคุ้มครองสุขภาพและชีวิตประชาชน
ขณะนี้จีนได้ทำข้อตกลงความร่วมมือด้านวัคซีนป้องกัน-19 กับประเทศที่ร่วมสนับสนุนโครงการข้อริเริ่มดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งหมด 775 ล้านโดส ขณะที่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้มีการส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปแล้วรวม 350 ล้านโดส
แม้โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เกิดขึ้นยังไม่ถึง 10 ปี แต่ประสบความสำเร็จอย่างมากและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ปัจจุบันมี 140 ประเทศลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับจีนภายใต้กรอบ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นับตั้งแต่ ค.ศ. 2013 จนถึงปัจจุบัน การค้าระหว่างจีนกับประเทศรายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” มีมูลค่าเกิน 9.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ล้วนพิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการดังกล่าว
แน่นอนไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบบนโลกใบนี้ และโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ก็เช่นเดียวกัน นั่นก็คือเหตุผลที่จีนกำลังเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ให้มีคุณภาพสูง ทั้งยังทำงานร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อบรรลุเป้าหมายความร่วมมือที่มีมาตรฐานสูง ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีความยั่งยืน
เป็นเวลานานแล้วที่ประเทศตะวันตกพูดมากเกินไปแต่ทำน้อยเกินไปในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา เมื่อเร็ว ๆ นี้ สหรัฐฯ ร่วมกับประเทศตะวันตกอีกหลายแห่งเสนอโครงการ "Build Back Better World" หากประเทศตะวันตกสนใจประชาชนที่กำลังประสบปัญหาความยากจนทั่วโลกอย่างแท้จริง คราวนี้ก็ควรจะทำตามสัญญาที่ให้ไว้ อย่ามัวแต่ใส่ร้ายโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” อย่างไร้เหตุผล แน่นอน พูดง่ายกว่าทำเสมอ
(tim/cai)