“ออกจากอียู” แล้วอังกฤษจะไปทางไหน

2019-01-17 14:50:53 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190117ta1

วันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษได้จัดการลงมติรับรองข้อตกลงออกจากสหภาพยุโรปหรือ “เบร็กซิท” ที่นางเทเรซ่า เมย์  นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ตกลงไว้กับสหภาพยุโรป ผลปรากฏว่า ไม่เห็นด้วย 432 เสียง เห็นด้วย 202 เสียง คัดค้านข้อตกลงดังกล่าว

การที่ข้อตกลง “เบร็กซิท” ถูกปฏิเสธจากรัฐสภาอังกฤษ ดูไม่เป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายของภายนอก เนื่องจากก่อนการลงมติโหวตครั้งนี้ ก็ได้มีการทำนายพูดคุยกันทั่วไปว่า ข้อตกลงนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกปฏิเสธ  แต่การที่มีเสียงไม่เห็นด้วยมากกว่าเห็นด้วยถึง 230 เสียง ช่องว่างขนาดใหญ่เช่นนี้ต่างเป็นเรื่องที่คาดคิดกันไม่ถึง ดังนั้น รัฐบาลของเทเรซ่า เมย์จึงสร้างสถิติใหม่แซงหน้ารัฐบาลเจมส์ แรมเซย์ แมคโดนัลด์ จากพรรคแรงงานอังกฤษ ที่ทำไว้เมื่อปี 1924 กลายเป็นการลงคะแนนเสียงต่อข้อเสนอรัฐบาลที่ได้รับคะแนนเสียงไม่เห็นด้วยมากที่สุดในประวัติศาสตร์รัฐสภาอังกฤษ

และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ช่องว่างขนาดใหญ่ของการลงคะแนนเสียงเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่เทเรซ่า เมย์ ดำรงตำแน่งเป็นนายกรัฐมนตรี กลยุทธ์ "เบร็กซิท"แบบ "ผ่อนปรน" ที่เธอดำเนินการมาตลอด โดยตั้งเป้าหมายที่จะยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปไว้ได้ล้มเหลวลง เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว เทเรซ่า เมย์หวังจะให้คงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับอียู โดยเห็นว่า การแยกกับสหภาพยุโรปอย่างสิ้นเชิง ไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์พื้นฐานของอังกฤษ ดังนั้น เมื่อเผชิญกับการลงมติ “การออกจากอียู” ทางเลือกของเธอคือ “ออกจากอียู” อย่างที่เห็นภายนอก แต่ให้  “คงอยู่กับอียู”อย่างมากที่สุดในความเป็นจริง นายกฯ เทเรซ่า เมย์เชื่อว่า กลยุทธ์นี้ สามารถตอบสนองความต้องการของฝ่ายที่อยากให้แยกตัวจากยุโรป ทำให้อังกฤษไม่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่ในความเป็นจริง ช่วยให้อังกฤษกลายเป็น “ประเทศสมาชิกแบบไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป” เพื่อได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายที่อยากให้คงอยู่กับอียู

Yim/Patt/Cici

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (14-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (13-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (13-11-2567)

彭少艾