ไอ. เอ็ม. เพ – สถาปนิกชื่อก้องโลก ใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อแสวงหาความสมบูรณ์แบบ 2

2019-07-15 09:12:41 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_1

ช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมา มีข่าวดังในอินเตอร์เน็ตจีน คือสถาปนิกโมเดิร์นนิสต์ชื่อก้องโลก "ไอ. เอ็ม. เพ" เสียชีวิตในวัย 102 ปี จริง ๆ แล้ว ผู้คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จักชื่อของเขา เพราะเขาเป็นสถาปนิกชื่อดังมาก เขาเป็นผู้ออกแบบพีระมิดลูฟวร์ ทางเข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ใจกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของยุคปัจจุบัน

หลังจากจบการศึกษาจาก MIT แล้ว เขาไปศึกษาปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด( Harvard Graduate School of Design) ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ ไอ. เอ็ม. เพได้เรียนกับสถาปนิกแนวหน้าของโลก คือ มาร์เชล บรูเออร์ และสถาปนิกชาวเยอรมันชื่อวอลเตอร์ โกรเปียส(Walter Gropius) ผู้บุกเบิกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเบาเฮาส์ (Bauhaus) ไอ. เอ็ม. เพได้ทั้งความรู้จากอาจารย์ชั้นนำของสถาบันเบาเฮาส์ และได้บรรยากาศทางวิชาการของฮาร์วาร์ด และ MIT ไปพร้อม ๆ กัน เมื่อปี ค.ศ. 1942 เขาแต่งงานกับ ไอลีน ลู ผู้เป็นสถาปนิกเช่นกัน มีลูกสาว ลูกชายด้วยกัน 4 คน

แม้ว่าไอ. เอ็ม. เพจะใช้ชีวิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหลายปี และเคยรับราชการทหารในสหรัฐ แต่ความรับผิดชอบของไอ. เอ็ม. เพต่อมาตุภูมิก็ไม่เคยเปลี่ยน ตอนที่เขาเรียนจบจากฮาร์วาร์ด เขาเลือกพิพิธภัณฑ์ศิลปะเซี่ยงไฮ้เป็นหัวข้อการออกแบบที่สำเร็จการศึกษา ถือว่าตอบแทนคุณแผ่นดินแม่ที่ถูกทำลายในตอนนั้น

图片默认标题_fororder_2

ปี 1945 ไอ. เอ็ม. เพทำงานต่อที่มหาวิทยาลัย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของสถาบันการออกแบบ แต่เขาอยากเห็นผลงานที่ออกแบบของเขาเป็นของจริง ไม่อยากคุยเรื่องแค่บนกระดาษ จึงกลับเข้าทำงานที่บริษัทก่อสร้าง เริ่มตำนานสถาปัตยกรรมของเขา

ตอนนั้นไม่เหมือนกับประเทศจีนที่พัฒนาได้ดีในปัจจุปัน ชาวโลกได้เห็นความสามารถของชาวจีนและเคารพชาวจีน ในยุคนั้นการยอมรับจากคนต่างชาติยังเป็นเรื่องยากนอกจากจะต้องเก่งกว่าคนอื่น และก็ต้องใช้ความพยายามมากกว่าหลายเท่า ในฐานะลูกหลานของครอบครัวนักธุรกิจ ไอ. เอ็ม. เพจดจำคำที่พ่อ ซึ่งเป็นนายธนาคารที่ประสบความสำเร็จสอนเขาไว้ว่า: สาระสำคัญของอาคารที่ดีไม่เพียงแต่การออกแบบอาคารที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น และต้องเชื่อมโยงกับปัจจัยทางการเงินและเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

เขาทำงานร่วม 10 ปี ในนิวยอร์กให้กับนักธุรกิจคนดังด้านอสังหาริมทรัพย์ ต่อมาเปิดบริษัทรับออกแบบเป็นของตัวเอง ผลงานของเขาในยุคต้น ๆ เช่น โรงแรมลองฟองพลาซ่า ในวอชิงตันดีซี และตึกเขียวในเอ็มไอที เขามีชื่อเสียงจากการออกแบบอาคาร ศูนย์วิจัยบรรยากาศสหรัฐฯ ในโคโลราโด ศาลาว่าการเมืองดัลลาส และอาคารตะวันออกของหอศิลป์แห่งชาติ วอชิงตัน ดี.ซี. ห้องสมุดจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในรัฐแมสซาชูเซตส์ 

เมื่อปี 1963 จอห์น เอฟ. เคนเนดี (เจเอฟเค) ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในเวลานั้นถูกลอบสังหาร เริ่มจากประธานาธิบดีโรสเวลต์ การก่อสร้างห้องสมุดประธานาธิบดี กลายเป็นประเพณีทางการเมืองในสหรัฐ ตอนนั้นสถาปนิกทุกคน อยากเอาชนะคุณสมบัติการออกแบบของห้องสมุดเคนเนดี

图片默认标题_fororder_3

ไอ. เอ็ม. เพที่อายุ 46 ปี ซึ่งยังไม่มีผลงานที่มีชื่อเสียงในเวลานั้นก็ไม่มีข้อยกเว้น คู่แข่งของเขา เป็นสถาปนิกระดับแนวหน้าของโลกอีก  5 คน เขาพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อคว้าโอกาสที่หายากนี้ ก่อนแจ็คเกอลีน เคนเนดี (Jacqueline Kennedy) ภรรยาม่ายของเจเอฟเคมาเยี่ยมชมสตูดิโอของเขา เขาได้ทำความสะอาดสตูดิโอที่ไม่หรูหราของเขา และวางช่อดอกไม้ไว้ที่แผนกต้อนรับ เพื่อต้อนรับภรรยาของอดีตประธานาธิบดี

เมื่อแจ็คเกอลีนเดินเข้าไปที่สำนักงานของไอ. เอ็ม. เพ ได้เห็นดอกไม้ที่ชอบ และไอ. เอ็ม. เพที่สวมสูทเหมือนนายธนาคาร ในทางตรงกันข้าม คู่แข่งบางคนหยิ่งผยองและไม่เป็นมิตรนัก สำนักงานของบางคนก็ยุ่งมาก ไอ. เอ็ม. เพแสดงผลงานอิสระของเขา สร้างความประทับใจให้กับแจ็คเกอลีน ซึ่งที่ปรึกษาของเธอเล่าว่า "จากงานที่เขาทำเสร็จแล้ว ไอ. เอ็ม. เพไม่ใช่สถาปนิกที่มีชื่อเสียงและโด่งดังที่สุด และก็ไม่ได้ทำงานในบริษัทใหญ่ แต่เขาเติบโตขึ้นมาด้วยตัวเอง ผมเดาไม่ออกว่างานของเขาจะเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าจะเป็นงานที่ยอดเยี่ยม”

ห้องสมุดจอห์น JFK ตั้งอยู่ที่คาบสมุทรโคลัมเบียพอยท์ในบอสตัน ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 15 ปี เสร็จในปี 1979 ด้วยการออกแบบแปลกใหม่ รูปร่างที่โดดเด่น และเทคโนโลยีชั้นสูง ทำให้เกิดความรู้สึกตกตะลึงในชุมชนสถาปัตยกรรมอเมริกัน และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอเมริกัน ชุมชนสถาปัตยกรรมอเมริกันยังประกาศว่าปี 1979 เป็น "ปีไอ. เอ็ม. เพ” และมอบรางวัลเหรียญทองของสถาบันสถาปัตยกรรมแห่งสหรัฐให้แก่เขา

 

 

Bo/Patt

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

韩希