ประเทศอาเซียนฟื้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19

2020-06-02 11:10:04 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

สถานการณ์โควิด-19 นอกจีน โดยเฉพาะในแถบเอเชียอาคเนย์หรือประเทศอาเซียนเริ่มดีขึ้นแล้ว สังเกตได้จากการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ในหลายประเทศ ขณะที่ไทยเอง ประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตแบบ new normal หรือ ตามวิถีปกติใหม่กันมากขึ้น บนพื้นฐานของการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและมีความคึกคักมากขึ้น รายการวันนี้ เราพูดคุยกันถึงเรื่อง การฟื้นตัวของประเทศกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะในเรื่องของเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับต้านโควิด-19

ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม ที่ไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกเป็นต้นมา หลายเดือนมานี้ ไทยผ่านวิกฤตในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 1,000 กว่าคน เป็นเหตุให้รัฐบาลต้องประกาศเคอร์ฟิว แต่ประชาชนไทยใช้ความอดทน ไม่ทิ้งกัน ปันสุขแก่กัน โดยเฉพาะสำหรับไทยที่มีประชากรเกือบ 70 ล้านคน และต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศกว่า 39 ล้านคนในปี 2019 ถือเป็นผลสำเร็จอันน่าชื่นชมอย่างยิ่งในการต่อสู้กับโควิด-19 ครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไทยใช้มาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ

图片默认标题_fororder_1

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การต้านโควิด-19 นั้น ผู้คนต้องเสียสละพยายามอยู่แต่ที่บ้านให้มากที่สุด และรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้ ยังต้องพึ่งพาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การตรวจวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ การค้นคว้าวิจัยวัคซีน และการมีโรงพยาบาลรวมไปถึงเวชภัณฑ์ที่เพียงพอ แม้ทรัพยากรมีจำกัด แต่ไทยก็พยายามร่วมแรงร่วมใจต่อสู้จนผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้มาได้

รัฐบาลไทยใช้มาตรการกักกันโรคอย่างค่อยเป็นค่อยไป ที่ละขั้นตอน เพื่อลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยประกาศภาวะฉุกเฉินก่อน แล้วจึงประกาศเคอร์ฟิว ทำให้ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา  จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ของไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด     

การที่ไทยสามารถรับมือโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญที่สุด คือ ประชาชนมีระเบียบวินัยในตัวเอง บรรดาบุคลากรการแพทย์ ตำรวจ อาสาสมัคร และผู้อยู่แนวหน้าของการต่อสู้โควิด-19 ต่างปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยม 

ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องที่ผู้คนให้ความสำคัญ คือ ประเทศไทยจะฟื้นเศรษฐกิจอย่างไร โดยเฉพาะจะฟื้นการท่องเที่ยวอย่างไร พร้อมไปกับการป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดละรอกใหม่

เมื่อเร็ว ๆ นี้  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุขของไทยร่วมกันออกมาตรฐานบริหารความปลอดภัยและสุขภาพด้านการท่องเที่ยว  โดยมุ่งที่จะยกระดับสุขอนามัยด้านการท่องเที่ยวอย่างทั่วด้าน  และเตรียมความพร้อมเพื่อให้การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวและพัฒนาอย่างยั่งยืน  นายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุว่า  ตลาดการท่องเที่ยวหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก 

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายเดือน  เป็นเหตุให้ผู้ที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวจำนวนมากว่างงาน  บริษัทการท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งต้องปิดตัว  ผู้คนทั้งหลายกังวลว่า เมื่อเปิดตลาดการท่องเที่ยวอีกครั้ง  ประเทศไทยยังมีความสามารถด้านการรับรองนักท่องเที่ยวเพียงพอหรือไม่ 

ต่อการนี้ นายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ ระบุว่า  หลังเปิดตลาดการท่องเที่ยวอีกครั้ง  นักท่องเที่ยวต่างชาติคงไม่หลั่งไหลเข้ามาทันที แต่ในอนาคต ไม่ว่าฝ่ายจัดทัวร์หรือฝ่ายรับรองทัวร์ต่างต้องพิจารณาความปลอดภัยด้านสุขอนามัยก่อน  โดยจะต้องจัดทัวร์อย่างระมัดระวัง  ไทยจะต้องเปิดตลาดการท่องเที่ยวอย่างมีขั้นตอน  เพราะสภาพการณ์ต่างๆ ล้วนเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ  คาดว่าในช่วง 6-8 เดือนข้างหน้าจะเป็นช่วงฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยว

นายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ ให้ความเห็นว่า  ต้นทุนการท่องเที่ยวหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ย่อมจะสูงขึ้น  ยกตัวอย่างเช่น  ก่อนเข้าเมืองประเทศอื่น จะต้องมีการตรวจสุขภาพ และได้หนังสือรับรองสุขภาพจากแพทย์ก่อน   และในส่วนของสายการบินต่างๆ จะจำหน่ายตั๋วเครื่องบินแบบเว้น 1 ที่นั่งไม่ให้นั่งติดกันด้วย ดังนั้น ราคาตั๋วเครื่องบินจะแพงขึ้น  นอกจากนี้  มาตรฐานการอนุมัติให้เข้าตลาดการท่องเที่ยวก็จะยกระดับสูงขึ้น  และระดับการบริโภคด้านการท่องเที่ยวก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย  ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ   การท่องเที่ยวแบบราคาถูกคงไม่มีอีกแล้ว

นายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ ระบุด้วยว่า  เมื่อต้นทุนการเดินทางสูงขึ้นแล้ว  ทำให้บรรดานักท่องเที่ยวต้องชำระเงินจำนวนมากขึ้น  ซึ่งจะทำให้ลูกค้าคุณภาพดีมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น  คาดว่า  สถิติที่ประเทศไทยรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 40 ล้านคนต่อปีนั้น คงจะไม่มีอีกในระยะหนึ่ง  ถึงแม้ว่าตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวของไทยในวันข้างหน้าจะลดน้อยลง  แต่คุณภาพการท่องเที่ยวจะดีขึ้น  ส่วนระดับการบริโภคที่จะสูงขึ้นนี้  จะทำให้การท่องเที่ยวของไทยเข้าสู่ช่วงที่เน้นคุณภาพมากยิ่งขึ้น  รายได้จากการท่องเที่ยวจะมาจากการยกระดับคุณภาพที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ใช่จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากขึ้น

นอกจากประเทศไทยแล้ว  บรรดาประเทศอาเซียนพากันใช้นโยบายต่าง ๆ ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 เวียดนามนับเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการป้องกันและควบคุมโควิด-19 โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมน้อยและไม่มีผู้เสียชีวิตเลย ปัจจุบัน    ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและการประกอบธุรกิจภายในประเทศต่างฟื้นกลับเป็นปกติในขั้นพื้นฐาน

图片默认标题_fororder_2

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เวียดนามดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจพัฒนาอย่างรวดเร็ว อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่มากกว่า 7% แซงหน้าบรรดาประเทศอาเซียน จึงได้รับความสนใจทั้งจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศต่าง ๆ ที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว โดยมีทุนต่างชาติหลั่งไหลเข้าไปอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากโควิด-19 เศรษฐกิจโลกซบเซาและถดถอย การเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศติดลบ แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของเวียดนามในไตรมาสแรกปีนี้กลับเติบโตขึ้น 3.8%

มีรายงานระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามได้รับประโยชน์จากกลุ่มแรงงานคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสูงและการพัฒนาท่าเรือ ซึ่งทำให้เวียดนามมีศักยภาพพัฒนาเป็นศูนย์การผลิตของโลกในอนาคต

ในการต้านโควิด-19 ครั้งนี้ ประเทศกัมพูชาและลาวก็ไม่มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน ด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เมื่อเร็ว ๆ นี้ กัมพูชาได้จัดตั้งธนาคารสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SME งดการเก็บภาษีธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจสิ่งทอ และอสังหาริมทรัพย์  ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและจัดอบรมแก่ผู้ว่างงานให้มีงานทำ  นอกจากนี้ รัฐบาลกัมพูชายังเพิ่มการลงทุนพัฒนาธุรกิจการเกษตรด้วย

图片默认标题_fororder_3

สำหรับสิงคโปร์ ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 สะสมทะลุหมื่นราย สาเหตุสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากเกิดจากความล้มเหลวในการควบคุมและป้องกันกลุ่มแรงงานต่างชาติในประเทศ สิงคโปร์มีประชากรราว  5,700,000 คน แต่มีชาวต่างชาติทำงานในประเทศกว่า 1,400,000 คน คิดเป็นกว่า 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด ทุกวัน ในจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่  1,000 ราย มีพลเมืองสิงคโปร์เพียงประมาณ 10 รายเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นชาวต่างชาติทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา  รัฐบาลสิงคโปร์ออกแผนช่วยเหลือธุรกิจติดต่อกัน 3 งวด วงเงิน 599 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ  คิดเป็น 12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 1 ปี เพื่อช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอาหาร และธุรกิจการขนส่งทางบก อีกทั้งยังใช้มาตรการเฉพาะเพื่อช่วยเหลือประชาชนและสถานพยาบาลให้ผ่านพ้นความยากลำบาก

ด้านอินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีชาวมุสลิมมากเป็นอันดับ 1 ของโลก การใช้มาตรการป้องกันและควบคุมอย่างเชื่องช้า ประกอบกับระบบการรักษาพยาบาลมีจำกัด ทำให้อัตราการตายจากโควิด-19 ของอินโดนีเซียเฉียด 9% ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยของโลกที่ราว 5% เป็นอย่างมาก

เพื่อแก้ไขความผิดพลาดในการควบคุมและป้องกันโควิด-19  ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียนได้เสริมพลังตรวจโควิด-19 ในกลุ่มผู้เสี่ยงติดเชื้อให้มากขึ้น ทั้งนี้ ทั่วประเทศมีห้องปฏิบัติการ 60 แห่ง เปิดให้บริการตรวจโควิด-19 อีกทั้งยังใช้อากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีทันสมัยในการฆ่าเชื้อด้วย

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)

晏梓