สถานการณ์อุทกภัยในจีนและข่าวลือเกี่ยวกับเขื่อนสามผา – 2

2020-07-20 14:18:37 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20200720洪灾1

ปัจจุบัน ภาคใต้ของจีนกำลังประสบอุทกภัยร้ายแรงอยู่ เดือนมิถุนายนและกรกฎาคมของทุกปี ลุ่มแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ของจีนจะเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก สถานการณ์น้ำท่วมในจีนปีนี้ทำให้มีผู้ประสบภัยกว่า 30 ล้านคนใน 27 มณฑล ทางการจีนกำลังเร่งการกู้ภัย เพื่อประกันความปลอดภัยของประชาชนในเขตประสบภัย ถึงแม้ว่าปีนี้มีน้ำฝนมากที่สุดในรอบ 22 ปี แต่เมื่อเทียบกับสถิติเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแล้ว จำนวนผู้ประสบภัย ผู้เสียชีวิตและผู้หายสาบสูญ รวมถึงจำนวนบ้านเรือนถล่มและยอดความเสียหายทางเศรษฐกิจจากอุทกภัยปีนี้ต่างลดลง

图片默认标题_fororder_20200720洪灾3

เรื่องราวเกี่ยวกับ "ต้าอี่ว์" ผู้แก้ปัญหาอุทกภัยลุ่มแม่น้ำหวงเหอเมื่อกว่า 4,000 ปีก่อนนั้น เล่าขานกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้สะท้อนแนวคิดที่สำคัญว่า การปรับปรุงความคล่องตัวนั้นดีกว่าการกั้นไว้ ยกตัวอย่างเช่น ฤดูฝนปีนี้ของจีนนานกว่า 1 เดือน หากเก็บน้ำในเขื่อนสามผา หรือเขื่อนสามผา อย่างเดียวตั้งแต่แรก ในระยะแรกๆ ลุ่มแม่น้ำตอนปลายอาจไม่มีน้ำท่วม แต่พอเขื่อนเต็ม น้ำที่กักเก็บไม่ได้อีกต่อไปก็ต้องปล่อยออกมาทำให้ลุ่มแม่น้ำตอนปลายเกิดอุทกภัยร้ายแรงทุกวัน ดังนั้น ประโยชน์ของเขื่อนสามผาไม่ได้ใช้กั้นน้ำจากลุ่มแม่น้ำตอนต้นและตอนกลาง หากแต่สร้างขึ้นเพื่อปรับปริมาณน้ำของแม่น้ำฉางเจียงปริมาณฝนตกทุกวันไม่เหมือนกัน ปริมาณน้ำในแม่น้ำก็เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอฉะนั้น เมื่อเกิดภัยน้ำท่วมรุนแรง เขื่อนสามผาจึงกักเก็บน้ำปริมาณมากและเมื่อสถานการณ์น้ำท่วมดีขึ้นเขื่อนก็จะปล่อยน้ำบ้างเพื่อเตรียมกักเก็บน้ำรับน้ำหลากในครั้งต่อไปสรุปแล้วก็คือ เขื่อนสามผาช่วยชะลอมวลน้ำจากเขตทิเบต มณฑลชิงไห่ มณฑลหยุนหนาน มณฑลซื่อชวน และนครฉงชิ่ง พร้อมกับปล่อยน้ำในปริมาณที่ปลอดภัยแก่มณฑลหูเป่ย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อน เพื่อไม่ให้ปริมาณน้ำจากแม่น้ำตอนต้นและตอนกลางทำให้สภาพน้ำท่วมในลุ่มน้ำตอนปลายทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นดังนั้นตลอดช่วงฤดูฝนเขื่อนสามผาจะกักเก็บน้ำบ้างและปล่อยน้ำบ้าง ซึ่งทางการจีนและเว็บไซต์บริษัทซันเสียประกาศข่าวสารทั้งหมดอย่างชัดเจน เช่น ตั้งแต่ค่ำวันที่ 6 กรกฎาคม เขื่อนสามผาเริ่มปิดประตูปล่อยน้ำลงบ้าง โดยลดการปล่อยน้ำจาก 35,000 ลูกบาตรเมตรต่อวินาทีลงเป็น 31,000 ลูกบาตรเมตรต่อวินาที ช่วยคลายแรงกดดันด้านการป้องกันน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำตอนกลางและตอนปลายลงอย่างมาก

图片默认标题_fororder_20200720洪灾5

อุทกภัยรุนแรงในปี 1998 จีนจัดส่งทหาร 3 แสนนายเดินทางไปกู้ภัยและมีทหารเสียชีวิตซึ่งมีอายุน้อยสุดเพียง 20 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นลุ่มแม่น้ำฉางเจียงก็ไม่เกิดอุทกภัยรุนแรงเช่นนั้นอีก ปีนี้เป็นปีที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 แต่ความเสียหายด้านชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและด้านเศรษฐกิจต่างต่ำกว่าระดับเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สาเหตุอย่างหนึ่งคือ เศรษฐกิจจีนพัฒนาดีขึ้น ขีดความสามารถด้านวิศวกรรมและการกู้ภัยของจีนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก สาเหตุอีกประการ คือ เขื่อนต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำฉางเจียง โดยเฉพาะเขื่อนสามผาได้แสดงบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก

图片默认标题_fororder_20200720洪灾4

图片默认标题_fororder_20200720洪灾2

Tim/Ldan

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

何喜玲