คุยประเด็น“การขจัดความยากจน”และ“สังคมกินดีอยู่ดี”ของจีน

2020-09-17 16:42:01 | CRI
Share with:

เป้าหมายการต่อสู้ “ ร้อยปี 2 เป้าหมาย”ของจีน

เมื่อปีค.ศ. 1997  การประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 15 ได้เสนอเป้าหมายการต่อสู้ “ ร้อยปี 2 เป้าหมาย”ของจีนเป็นครั้งแรก ว่าถึงวาระครบรอบหนึ่งร้อยปีแห่งการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ตั้งแต่ปี 1921 - 2020)เศรษฐกิจประชาชาติจีนได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น ระบบในด้านต่าง ๆ มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น และเมื่อถึงวาระครบรอบหนึ่งร้อยปีแห่งการก่อตั้งจีนใหม่(ตั้งแต่ปี 1949 - 2050)ในภาพรวมจีนจะบรรลุความทันสมัย ได้รับการพัฒนาเป็นประเทศสังคมนิยมที่มั่งคั่ง แข็งแกร่ง มีประชาธิปไตยและมีอารยธรรม

คุยประเด็น “การขจัดความยากจน”และ “สังคมกินดีอยู่ดี”ของจีน_fororder_0917-3

หลังจากนั้นการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 16  17 โดยเฉพาะครั้งที่  18 ก็ได้เน้นและออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว หลังจากนั้นเป็นต้นมา คำว่า “ร้อยปี 2 เป้าหมาย”กลายเป็นคีย์เวิร์ดที่มั่นคงและเป้าหมายการต่อสู้ร่วมกันของประชาชนทั่วประเทศจีน

คุยประเด็น “การขจัดความยากจน”และ “สังคมกินดีอยู่ดี”ของจีน_fororder_0917-2

ปี 2017 การประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 19 ได้วางตารางเวลาและโรดแมปที่ชัดเจน กล่าวคือ ถึงปี 2020 จีนจะบรรลุเป้าหมายการสร้าง“สังคมอยู่ดีกินดี”รอบด้าน ซึ่งถือเป็นเป้าหมายการต่อสู้ในรอบร้อยปีเป้าหมายแรก จากนั้นดำเนินการต่อสู้อีก 15 ปี   คือถึงปี 2035 พัฒนาประเทศจีนให้เป็นประเทศที่ทันสมัยแบบสังคมนิยมในขั้นพื้นฐาน จากนั้นดำเนินการต่อสู้อีก 15 ปี คือถึงกลางศตวรรษที่ 21 บรรลุเป้าหมายการต่อสู้ในรอบร้อยปีรอบที่สอง คือ พัฒนาประเทศจีนให้เป็นประเทศสังคมนิยมที่มั่งคั่ง แข็งแกร่ง ปรองดอง สวยงาม มีประชาธิปไตยและอารยธรรม

“การขจัดความยากจน”ในจีน

การขจัดความยากจนให้หมดไปจากแผ่นดินจีนภายในปี 2020 เป็นเงื่อนไขและภาระหน้าที่สำคัญที่สุดในการบรรลุเป้าหมายการต่อสู้ในร้อยปีเป้าหมายแรกของจีน ปธน. สี จิ้นผิงย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าว่าจำต้องบรรลุเป้าหมายนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจีนได้รวมศูนย์กำลังจากทั่วประเทศเพื่อขจัดความยากจนตามชนบทที่ห่างไกลและถิ่นทุรกันดารอย่างเต็มที่ ไม่ลดละ ไม่ท้อถอย

ขอบเขตการกำหนดความยากจนในปัจจุบันของจีนเริ่มขึ้นเมื่อปี 2011 คือรายได้เฉลี่ยต่อหัวของครัวเรือนในชนบทต่ำกว่า 2,300 หยวน มาตรฐานนี้สามารถปรับได้ตามสถานการณ์และเวลาที่เปลี่ยนไปโดยยึดรายได้ที่ระดับ 2,300 หยวน ในปี 2011 เป็นเกณฑ์ หลังจากนั้นจีนเคยปรับขอบเขตกำหนดความยากจนในปี 2015 เป็น 2,800 หยวน และในปี 2016 เป็น 3,000 หยวน มาตรฐานนี้ใกล้เคียงกับขอบเขตกำหนดความยากจนสากลตามที่ธนาคารโลกกำหนดไว้

คุยประเด็น “การขจัดความยากจน”และ “สังคมกินดีอยู่ดี”ของจีน_fororder_0917-1

10 มาตรฐานการสร้าง“สังคมอยู่ดีกินดี” รอบด้านของจีน  

“การอยู่ดีกินดี”เป็นความใฝ่ฝันที่เรียบง่ายของประชาชนจีนที่อยากจะมีชีวิตที่ดีงาม อยู่เย็นเป็นสุขและพอกินพอใช้  ซึ่งมาตรฐานของการสร้างสังคมอยู่ดีกินดีอย่างรอบด้านนั้นต้องมีอะไรบ้าง?  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจีนได้อ้างอิงระบบดัชนีชี้วัดตามหลักสากล พร้อมกับพิจารณาถึงเงื่อนไขของประเทศ กำหนดเป็นมาตรฐานการสร้างสังคมอยู่ดีกินดีรอบด้านของจีน มีด้วยกัน 10 ข้อ ดังต่อไปนี้

๑. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) เฉลี่ยต่อคน มากกว่า 3,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พื้นฐานของการบรรลุเป้าหมายการสร้างสังคมมีกินมีใช้รอบด้านของจีน

๒. รายได้ของชาวเมืองเฉลี่ย/คน/ปีไม่น้อยกว่า 18,000 หยวน

๓. รายได้สุทธิเฉลี่ย/คน/ปีของครัวเรือนในชนบทของจีนไม่น้อยกว่า 8,000 หยวน

๔. สัดส่วนของรายจ่ายที่ใช้ไปกับ “อาหาร” กับการใช้จ่ายทั้งหมด น้อยกว่า 40%

๕. เนื้อที่ก่อสร้างที่พักอาศัยของชาวเมืองเฉลี่ยต่อคนไม่น้อยกว่า 30 ตารางเมตร

๖. อัตราความเป็นเมืองไม่น้อยกว่า 50%

๗. อัตราการใช้คอมพิวเตอร์ของครัวเรือนไม่น้อยกว่า 20%

๘. อัตราการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของเด็กที่จบมัธยมศึกษาตอนปลายไม่น้อยกว่า 20%

๙. มีแพทย์เฉลี่ย 2.8 คน/ประชากร 1,000 คน

๑๐. การมีหลักประกันด้านการดำรงชีวิตขั้นต่ำสุดของชาวเมืองมากกว่า 95%

Bo/Lu

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

许平平