บทวิเคราะห์ :“การทูตเชิงคุกคาม”จะนำนักการเมืองสหรัฐฯ สู่ความโดดเดี่ยวอย่างสุดขั้ว

2020-10-17 14:30:32 | CRI
Share with:

ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์โยมิอุริ ชินบุนของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายคนเผยว่า ญี่ปุ่นได้แจ้งกับสหรัฐฯ ว่า จะไม่เข้าร่วมแผนการของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทจีนออกจากเครือข่ายโทรคมนาคม นอกจากนี้ ในการหารือทางเศรษฐกิจเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างเกาหลีใต้-สหรัฐฯ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ยังปฏิเสธคำขอของสหรัฐฯ ที่จะให้กีดกันบริษัทหวาเหวยออกจากการสร้างเครือข่าย 5G ของเกาหลีใต้ โดยอ้างว่า  “ให้ธุรกิจเป็นผู้ตัดสินใจเอง” ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ในยุคสมัยแห่งโลกาภิวัตน์ที่มีกระแสลัทธิพหุภาคีรวมทั้งแนวคิดเอื้อประโยชน์และได้ชัยชนะร่วมกัน “การทูตเชิงคุกคาม” จะไม่เป็นทางออก

บทวิเคราะห์: “การทูตเชิงคุกคาม” จะนำนักการเมืองสหรัฐฯ สู่ความโดดเดี่ยวอย่างสุดขั้ว_fororder_C03313C3-E6B1-4B46-84EA-83DC091F2C0C

ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ถือการใส่ร้ายจีนเป็นประเด็นหลักมาโดยตลอดระหว่างการเยือนยุโรป ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา แม้บางประเทศมีท่าทีระมัดระวังการคุกคามจากสหรัฐฯ แต่ประเทศจำนวนมากต่างเลือกที่จะมีเหตุมีผล เช่น นายโจเซฟ บอร์เรล ฟอนเทลส ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายการทูตและความมั่นคงของสหภาพยุโรป กล่าวว่า เพื่อผลประโยชน์และค่านิยมของตน จะไม่เลือก “ร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อต่อต้านจีน” นอกจากการกดดันประเทศอื่น ๆ เพื่อสร้าง “กลุ่มต่อต้านจีนวงเล็ก” ที่ว่าแล้ว นักการเมืองสหรัฐฯ ยังคุกคามประเทศอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามแนวคิดของสหรัฐฯ ในประเด็นอื่น ๆ ด้วย รวมถึงพันธมิตรของสหรัฐฯ เอง เช่น สหรัฐฯ มองข้ามผลประโยชน์ของเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศพันธมิตร โดยหวังที่จะหยุดโครงการความร่วมมือ “นอร์ด สตรีม 2” ระหว่างเยอรมนีกับรัสเซียด้วยมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหญ่

บทวิเคราะห์: “การทูตเชิงคุกคาม” จะนำนักการเมืองสหรัฐฯ สู่ความโดดเดี่ยวอย่างสุดขั้ว_fororder_0F248AE2-C8F8-4DA7-B01F-47B00A4C5884

นอกจากนี้ ในการโจมตีอิหร่านและเวเนซุเอลา นักการเมืองสหรัฐฯ ยังใช้นโยบาย “การทูตเชิงคุกคาม” และการเมืองแบบอำนาจนิยม

ประเทศที่มีประชาธิปไตยไม่ว่าจะเป็นเล็กหรือใหญ่ แข็งแรงหรือไม่ก็ตาม ต่างมีฐานะเท่าเทียมกันทางกฎหมายระหว่างประเทศและไม่มีใครเต็มใจยอมรับการถูกบีบบังคับ ประเทศจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่างรู้ดีว่า ข้อขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ นั้น เป็นปัญหาของการยืนหยัดลัทธิพาหุภาคี หรือ ลัทธิลำพังฝ่ายเดียว สนับสนุนความร่วมมือแบบได้รับชัยชนะร่วมกัน หรือ เกมผลรวมเป็นศูนย์ ดังที่สำนักข่าวเอเอฟพี ให้ความเห็นว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจาก "แรงกดดันสุดขั้ว" และพบกับ "ความโดดเดี่ยวสุดขีด" แล้ว

 

Tim/Ldan/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

彭少艾