บทวิเคราะห์ : ประสบการณ์บรรเทาความยากจนของจีนเป็นที่น่าศึกษาเรียนรู้

2020-10-17 15:42:20 | CRI
Share with:

วันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันช่วยเหลือผู้ยากจนแห่งชาติของจีน และเป็นวันขจัดความยากจนระหว่างประเทศ สถิติจากธนาคารโลก พบว่า ตามมาตรฐานความยากจนสากลที่คิดค่าครองชีพเฉลี่ยต่อวันคนละ 1.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา  หลังจากจีนดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ จีนมีประชากรยากจนกว่า 800 ล้านคนพ้นจากความยากจน คิดเป็นกว่าร้อยละ 70  ของจำนวนประชากรที่หลุดพ้นจากความยากจนทั่วโลกในช่วงเดียวกัน  ตั้งแต่ปี 2012 - 2019 อัตราการเกิดความยากจนของจีนลดจาก 10.2%  เหลือ 0.6% เมื่อจีนบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนโดยสิ้นเชิงอย่างรอบด้านในปีนี้ จีนจะบรรลุเป้าหมายการบรรเทาความยากจนตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ของสหประชาชาติล่วงหน้าเป็นเวลา 10 ปี ถือเป็นคุณูปการสำคัญยิ่งของจีนที่มีต่อภารกิจการบรรเทาความยากจนทั่วโลก

ไม่ว่าการช่วยเหลือผู้ยากจนผ่านอุตสาหกรรมการผลิต การอนุรักษ์ระบบนิเวศ หรือ การศึกษา ทั้งหมดล้วนเป็นแผนบรรเทาความยากจนที่มีประสิทธิภาพและตรงจุดซึ่งได้รับการพิสูจน์ในพื้นที่ต่าง ๆ  ของจีนมาแล้ว แผนดังกล่าวไม่เพียงแต่ขับเคลื่อนกระบวนการขจัดความยากจนของจีนให้รวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น หากยังเป็นแบบอย่างที่น่าศึกษาเรียนรู้สำหรับประเทศอื่น ๆ ในการบรรเทาความยากจนด้วย

การสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญต่องานบรรเทาความยากจนของจีน จีนใช้การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแข็งขันเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาความยากจน  โดยสะสมประสบการณ์ใหม่เพื่อภารกิจบรรเทาความยากจนโลก 

ปัจจุบัน การบรรเทาความยากจนยังคงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับโลก เมื่อเร็ว ๆ นี้  ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ปีนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้จำนวนประชากรยากจนเพิ่มขึ้นจาก 88 ล้านคน เป็น 115 ล้านคนทั่วโลก ขณะที่ การบรรเทาความยากจนของโลกตกอยู่ในภาวะยากลำบากเช่นนี้ ประสบการณ์บรรเทาความยากจนของจีนยิ่งมีคุณค่า

(Tim/Zhou) 

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

周旭