บทวิเคราะห์ : ร่วมสานสัมพันธ์ที่เอื้อประโยชน์จีน-อาเซียน

2020-11-13 19:24:22 | CMG
Share with:

วันที่ 12 พฤศจิกายน การประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ 23 ได้จัดขึ้นผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนและผู้นำ 10 ประเทศอาเซียนได้บรรลุความรับรู้ร่วมกันด้านการสานสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างกว้างขวาง และประสบผลสำเร็จสำคัญในการร่วมมือเพื่ออนาคตที่สดใสของจีน-อาเซียน

ภายใต้สภาพที่เกิดการระบาดระลอกสองทั่วโลก ความร่วมมือป้องกันและควบคุมโควิด-19 กลายเป็นประเด็นหลักของการประชุมครั้งนี้ นายหลี่ เค่อเฉียงกล่าวว่า ในกระบวนการร่วมกันต้านไวรัสฯ จีนกับประเทศอาเซียนได้ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ช่วยเหลือกันฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการอย่างดี โดยนายหลี่ เค่อเฉียงเสนอให้ทั้งสองฝ่ายจับมือยืนหยัดต่อสู้กับไวรัสฯต่อไป ยกระดับความร่วมมือด้านสาธารณสุขต่อเนื่อง พร้อมกล่าวว่า จีนจะคำนึงถึงความต้องการวัคซีนจากประเทศอาเซียนอย่างแข็งขัน ใช้ปฏิบัติการจริง ส่งเสริมการใช้วัคซีนจีนในอาเซียนให้ครอบคลุมอย่างสุดความสามารถ และยินดีเริ่มเปิดตัวเครือข่ายฉุกเฉินด้านสาธารณสุขจีน-อาเซียนโดยเร็ว จัดการประชุมความร่วมมือด้านสาธารณสุขจีน-อาเซียนครั้งที่ 3 ให้ดี ด้านผู้นำอาเซียนได้ขอบคุณคุณูปการของจีนในการช่วยเหลืออาเซียนต่อสู้กับไวรัสฯ ยินดีที่จีนถือวัคซีนเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณสุขระหว่างประเทศ และหวังว่าจีนจะให้การสนับสนุนอาเซี่ยนต่อไปเพื่อเอาชนะการต่อสู้กับไวรัสฯโดยเร็ว

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่กัน ร่วมส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และกล่าวว่าจะผลักดันการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP)ให้คืบหน้าโดยเร็ว ปฏิบัติตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนตลอดจนพิธีสาร ยกระดับเสรีภาพและความสะดวกในการค้าการลงทุนในส่วนภูมิภาค อีกทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านดิจิตอล

สิ่งที่น่ายินดีคือ เดือนมกราคมถึงสิงหาคมปีนี้ ยอดการค้าจีน-อาเซียนรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 416,550 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อาเซียนได้กลายเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่เป็นอันดับแรกของจีน ทำให้ต่างฝ่ายต่างก็กลายเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของอีกฝ่ายแล้ว นอกจากนี้ ในส่วนของการลงทุนระหว่างจีน-อาเซียนก็ได้เพิ่มขึ้นแบบสวนกระแสโลกด้วย โดยช่วง 3 ไตรมาสแรกปีนี้ ยอดการลงทุนของจีนต่ออาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.6

ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะพัฒนาการประสานงานเชิงยุทธศาสตร์ ผลักดันความร่วมมือด้านระบบนิเวศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การป้องกันและบรรเทาภัย การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การขจัดความยากจน การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและบุคลากร ความปลอดภัยทางไซเบอร์และเศรษฐกิจสีน้ำเงิน เป็นต้น ทั้งสองฝ่ายยังได้บรรลุความรับรู้ร่วมกันที่สำคัญว่าด้วยการพิทักษ์สันติภาพและความมั่นคงในทะเลจีนใต้ เห็นพ้องที่จะสนับสนุนการกำหนดหลักปฏิบัติในทะเลจีนใต้(COC) ที่มีผลบังคับใช้และมีความหมายที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ผู้นำจีนและประเทศอาเซียนต่างเน้นให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทวิภาคี จะผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนอาเซียน-จีนให้พัฒนาอีกขั้น นายหลี่ เค่อเฉียงระบุว่า จีนให้ความสำคัญกับอาเซียนในการต่างประเทศรอบด้านเป็นอันดับแรก สนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนอย่างแน่วแน่ สนับสนุนเพิ่มฐานะที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียนในความร่วมมือส่วนภูมิภาค

ผู้นำประเทศอาเซียนชื่นชมการพัฒนาความสัมพันธ์อาเซียน-จีน เห็นว่าเป็นความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและเปี่ยมพลังชีวิตมากที่สุดในบรรดาความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศคู่เจรจาอื่น ที่ประชุมได้บรรลุแผนปฏิบัติการว่าด้วยแถลงการณ์ร่วมความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีน-อาเซียนที่เปิดสู่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง และข้อริเริ่มจีน-อาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และประกาศให้ปี 2021 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างจีน-อาเซียน

ทั้งสองฝ่ายล้วนระบุสนับสนุนพหุภาคีและการค้าเสรีที่เคารพกฎเกณฑ์ ร่วมคัดค้านปัจเจกนิยมและกระแสการกีดกันทางการค้าอย่างชัดแจ้ง

เชื่อว่า ภายใต้การประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า การต่อสู้กับไวรัสฯ และเสริมสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ยกระดับความสัมพันธ์จีน-อาเซียนที่มีความร่วมมือและอำนวยประโยชน์แก่กันให้สูงยิ่งขึ้น

(Yim/Cui/Lu)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

陆永江