วันที่ 15 พฤศจิกายน มีการจัดพิธีลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ผ่านระบบทางไกล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการค้าของ 15 ประเทศสมาชิกได้ลงนามในความตกลงดังกล่าวอย่างเป็นทางการ การลงนามในครั้งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุด มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีศักยภาพการพัฒนามากที่สุดในโลก เปิดตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ วันเดียวกันนายหวัง โซ่เหวิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน และรองหัวหน้าตัวแทนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศของจีนระบุว่า การลงนามความตกลง RCEPได้สนับสนุนการค้าเสรีและกลไกพหุภาคีอย่างมีพลัง ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลกให้พัฒนาไปตามทิศทางที่ถูกต้อง มีส่วนช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงหลังการระบาดของโควิด-19
RCEP ร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดย 10 ประเทศอาเซียน และเชิญประเทศหุ้นส่วนการเจรจา 6 ประเทศเข้าร่วม อันได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความตกลงการค้าเสรีที่มีตลาดเป็นเอกภาพสำหรับ 16 ประเทศ ด้วยการลดภาษีและไม่สร้างกำแพงภาษี
การเจรจาได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2012 มีส่วนเกี่ยวข้องกว่า 10 ด้าน รวมถึง SME การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี สินค้าและการค้าภาคบริการ เป็นต้น วันที่ 4 พฤศจิกายน 2019 การประชุมผู้นำ RCEP ครั้งที่ 3 ประกาศแถลงการณ์ร่วมโดยระบุว่า 15 ประเทศสมาชิกสิ้นสุดการเจรจาทางเอกสารและการอนุญาตเข้าสู่ตลาดทั้งหมด จะเริ่มงานพิจารณาตรวจสอบเอกสารทางกฎหมาย ส่วนอินเดียยังไม่เข้าร่วมความตกลงดังกล่าวเนื่องจาก”มีปัญหาสำคัญที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข”
นายหวัง โซ่เหวิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรองหัวหน้าตัวแทนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศของจีนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 15 ที่ผ่านมาว่าความตกลงนี้เป็นความตกลงการค้าเสรีระดับสูง โดยระบุว่า
“ในด้านเปิดสู่ภายนอกทางการค้าและสินค้านั้น กล่าวโดยภาพรวมแล้ว ได้มีการยกระดับการเปิดสู่ภายนอกถึง 90% ภาษีสินค้าของประเทศสมาชิก 90% จะกลายเป็นศูนย์ ในด้านภาคบริการนั้น ความตกลงมีระดับการเปิดสู่ภายนอกสูงกว่า WTO และบรรดาสมาชิกก็สัญญาว่าอีก 6 ปีให้หลัง จะเปลี่ยนจากรายการที่เปิดเสรีจากบวกเป็นลบ
สมาชิกของ RCEP มีทั้งประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่ด้อยพัฒนา มีความแตกต่างทั้งในด้านระบบเศรษฐกิจ ระดับการพัฒนาและขนาดเศรษฐกิจ ดังนั้น RCEPได้คำนึงถึงความต้องการของทุกฝ่ายให้มากที่สุด สร้างความสมดุลด้านผลประโยชน์ในการอนุญาตเข้าตลาดและกฏเกณฑ์ทั้งในด้านสินค้า การบริการและการลงทุน นอกจากนี้ RCEP ยังให้สิทธิพิเศษกับประเทศด้อยพัฒนา มีข้อกำหนดสำหรับ SME และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกเหล่านั้นเสริมขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ ส่งเสริมความสมดุลในด้านการพัฒนาที่เปิดกว้างในภูมิภาค ร่วมกันแบ่งปันผลประโยชน์จาก RCEP
นายหวัง โซ่เหวิน ระบุว่าการลงนาม RCEP นั้น ยังเป็นการปูพื้นฐานที่ดีสำหรับความตกลงการค้าเสรีระดับสูงขึ้นระหว่างจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
“ในจำนวน 15 ประเทศสมาชิกนี้ ระหว่างญี่ปุ่นและจีน และญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ก่อนหน้านี้ยังไม่มีความตกลงการค้าเสรี แต่ตอนนี้ RCEP ทำให้ระหว่างญี่ปุ่นและจีน และญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้มีความตกลงการค้าเสรีมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญมาก
นอกจากนี้ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มีระดับความเป็นหนึ่งเดียวและการพัฒนาเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ขั้นตอนต่อไปบนพื้นฐาน RCEP 3 ประเทศนี้จะพยายามบรรลุซึ่ง RCEP+ข้อตกลงการค้าเสรีจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เมื่อมีพื้นฐานนี้แล้ว ข้อตกลงการค้าเสรีจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีที่มีระดับสูงขึ้นนั้นก็จะมีพื้นฐานที่ดียิ่งขึ้น
Bo/LR/Cui