เป็ดย่างปักกิ่ง เป็นอาหารแบบดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของปักกิ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศจีนตลอดจนทั่วโลก ผู้เดินทางมาถึงปักกิ่ง ไม่ว่าทำงานท่องเที่ยวหรือเยี่ยมญาติมิตร ไม่ว่าเป็นชาวจีนหรือชาวต่างชาติ ล้วนจะต้องการชิมเป็ดย่างปักกิ่ง และปัจจุบัน หากคุณมาปักกิ่งรับประทานอาหารชื่อดังจานนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับรสชาติเป็ดจากเหอเถียนของเขตซินเจียง ที่ห่างไกลจากปักกิ่งกว่า 4,000 กิโลเมตร ก็เพราะรสชาตินี้นั่นเอง ที่ช่วยให้ชาวอำเภอลั่วผู่ในเขตเหอเถียนได้หลุดพ้นจากภาวะยากจนโดยสิ้นเชิง
อำเภอลั่วผู่ ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายทากลามากัน พื้นที่สีเขียวมีเนื้อที่ไม่ถึง 6% คนมากแต่ที่ดินเพาะปลูกได้น้อย โครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นแบบเดียว จึงเคยเป็นอำเภอยากจนระดับชาติของจีน
เมื่อปี 2017 กรุงปักกิ่งกับเขตเหอเถียนที่รวมอำเภอลั่วผู่เข้าไว้ด้วย ได้จับคู่ช่วยเหลือกันพัฒนา โดยได้นำเอาเป็ดปักกิ่งสายพันธุ์ซื่อซี่ ซึ่งใช้ทำเป็ดย่างปักกิ่งโดยเฉพาะ ไปยังอำเภอลั่วผู่ พัฒนาการเลี้ยงเป็ด จนได้สร้างเป็นฐานเลี้ยงและสืบพันธุ์เป็ดซื่อซี่ใหญ่อันดับที่ 2 ของจีน
การขจัดความยากจน เป็นอุดมการณ์ของมวลมนุษยชาติมาแต่ไหนแต่ไร และเป็นความฝันของประชาชนประเทศต่างๆ ที่ต้องการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ปี 2020 จีนได้ขจัดความยากจนที่สุดตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจีนได้บรรลุงานขจัดความยากจนตามเป้าหมายบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2030 ของสหประชาชาติก่อนกำหนด 10 ปี ซึ่งได้นำความมั่นใจอันใหญ่หลวงมาให้แก่การขจัดความยากจนทั่วโลก นายบันคีมูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติระบุว่า ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา จีนได้สร้างคุณูปการสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการลดความยากจนในโครงการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติก่อนกำหนด
ในกระบวนการขจัดความยากจนนั้น จีนได้สรุปประสบการณ์แผนการอยู่เสมอ และแบ่งปันประสบการณ์การลดความยากจนให้กับทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาติต่างชาติเห็นว่า จีนได้ประสานวิธีการช่วยบรรเทาความยากจนแบบ “ถ่ายเลือด” กับ “สร้างเลือด” เข้าด้วยกัน ส่งเสริมการช่วยเหลือทางด้านอุตสาหกรรมและยกระดับทางการตลาดให้สูงขึ้น มีความเป็นไปได้สูงในการลงมือปฏิบัติ
นายรอนนี่ ลินส์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยปัญหาจีนของบราซิลกล่าวว่า การบรรเทาความยากจนของจีนมีความเจาะจงสู่ต้นตอของปัญหาที่ทำให้ยากจนได้อย่างแม่นยำ จีนปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ปรับปรุงระบบประกันทางสังคมให้สมบูรณ์ขึ้น ส่งเสริมการศึกษา เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กลับสู่ภาวะยากจนอีกครั้ง ได้เสนอประสบการณ์และแนวทางให้แก่ประเทศยากจนจำนวนมาก ด้านนางเวโรนิกา เอส ซาราสวาตี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยจีนของศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของอินโดนีเซียกล่าวว่า งานขจัดความยากจนของจีนเน้นแก้ไขปัญหาจากต้นตอ ถือเป็นแบบอย่างของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในการบรรลุซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Yim/LR/Patt