“กลุ่มผลประโยชน์”ตัวกระตุ้นให้การเมืองอเมริกันตกต่ำ

2021-01-17 11:32:02 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

4 ปีก่อน ผู้นำสหรัฐฯซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรครีพับลิกันเคยอวดอ้างว่า "จะกวาดล้างโคลนตมของวอชิงตัน" แต่ 4 ปีที่ผ่านมา การเมืองในวอชิงตันยิ่งสกปรก ซึ่งกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มการเมืองได้มัดรวมเข้าด้วยกันอย่างลึกซึ้ง การเมืองแบบล็อบบี้ การเมืองแบบเงินตราหรือธนกิจการเมือง (Money Politics) ทำให้เกิดการทุจริตแบบ “มีเหตุผล” กลายเป็นตัวกระตุ้นให้การเมืองอเมริกันตกต่ำ

ในสหรัฐอเมริกา กลุ่มผลประโยชน์และบุคคล ใช้วีธีการล็อบบี้ ส่งผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลหรือฉุดคร่าความคิดเห็นของประชาชนไปอย่างเปิดเผย จากสถิติของ Opensecrets ด้านการบริจาคของสหรัฐฯ มีการใช้จ่ายในการล็อบบี้เพิ่มขึ้นจาก 1,560 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2000 เป็น 3,510 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 การล็อบบี้ทางการเมืองทำให้ผลประโยชน์ของกลุ่มคนส่วนน้อยที่มีอำนาจ  เอาชนะผลประโยชน์ของผู้ด้อยโอกาสที่เป็นคนส่วนใหญ่

กลุ่มผลประโยชน์เป็นผู้สนับสนุนการเมืองแบบเงินตราของสหรัฐฯ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี เนื่องจากมี "ซุปเปอร์ PACs (คณะกรรมการดำเนินการทางการเมือง) " กลุ่มผลประโยชน์ของสหรัฐฯสามารถระดมทุนและแจกจ่ายเงินได้อย่างไร้หลักการ ส่งผลต่อผลการเลือกตั้งในทุกระดับ จากสถิติของ Opensecrets ทั่วสหรัฐอเมริกาในปี 2020 มี "ซุปเปอร์ PACs" 2,276 แห่ง ระดมทุนทั้งหมดประมาณ 3,160 ล้านเหรียญสหรัฐ

นักการเมืองอเมริกันที่อาศัยการถ่ายเลือดของกลุ่มผลประโยชน์ หลังจากรับอำนาจ ก็ต้องทำงานเพื่อผู้อุปถัมภ์ ยกตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันส่วนใหญ่ได้รับเงินทุนจำนวนมากจากบริษัทพลังงาน  จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม "พิธีสารเกียวโต" ส่วนคลินตันและบารัค โอบามาจากพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากได้รับเงินทุนจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ส่งเสริมแผนการสร้างทางด่วนข้อมูลและการสร้างความปลอดภัยเครือข่าย สำหรับรัฐบาลปัจจุบันของสหรัฐอเมริกานั้น  สตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐทำงานให้กับบริษัทจัดการกองทุนโกลด์แมนแซค กับ จอร์จ โซรอส และนายแกรี่ โคห์น อดีตหัวหน้าทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจทำเนียบขาว ก็เคยดำรงตำแหน่งประธานโกลด์แมนแซคส์ด้วย ตามรายงานข่าวของสื่ออเมริกัน ตลอดสี่ปีที่ผ่านมา กลุ่มผลประโยชน์พิเศษได้พยายามที่จะเข้าใกล้และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้นำอเมริกัน ด้วยการใช้เงินจำนวนมากจัดกิจกรรมถึง 137 ครั้งในอสังหาริมทรัพย์ของผู้นำอเมริกัน ทำให้นักการเมืองควบนักธุรกิจผู้นี้ กอบโกยกำไรไปอย่างน้อยกว่าสิบล้านเหรียญสหรัฐฯ

จะเห็นได้ว่า การเมืองอเมริกันถูกกัดกร่อนด้วยเงิน กลายเป็นการทุจริตเชิงระบบ นักการเมืองสหรัฐฯยากที่จะชะล้างกลิ่นเงินออกจากตัว ไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดี ก็ไม่สามารถเป็นยาวิเศษแก้การเมืองแบบเงินตราของอเมริกัน

Yim/Patt/Cui

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

彭少艾