หุ่นยนต์ช่วยสอนจากจุฬาฯ คว้าสองรางวัลสูงสุดระดับโลก

2021-03-22 19:18:22 | CRI
Share with:

 

หุ่นยนต์ช่วยสอนจากจุฬาฯ คว้าสองรางวัลสูงสุดระดับโลก_fororder_im_230264_659803

บรรยากาศการเรียนโฉมใหม่จะคึกคักขึ้นมากเมื่อมีเพื่อนหุ่นยนต์มาเรียนด้วย ประดิษฐกรรมจากอนาคต ฝีมือนักประดิษฐ์ชาวจุฬาฯ ประกันประสิทธิภาพด้วยรางวัลเหรียญทองและ Innovation Excellence  Award จากการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ “International British Innovation, Invention, Technology Expo 2020” ประเทศอังกฤษ

หุ่นยนต์ช่วยสอนจากจุฬาฯ คว้าสองรางวัลสูงสุดระดับโลก_fororder_im_230264_659802

รางวัลเหรียญทองและ Innovation Excellence  Award จากการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ

International British Innovation, Invention, Technology Expo 2020”

การเล่นเกมกับการเรียนของเด็กๆ จะไม่ใช่คนละเรื่องอีกต่อไป หลังการเปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยสอนตัวล่าสุด อวตาร” นวัตกรรมความร่วมมือระหว่างนักวิชาการจากสองคณะ คือครุศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้งานวิจัย “TARAL : หุ่นยนต์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก”

หุ่นยนต์ช่วยสอนจากจุฬาฯ คว้าสองรางวัลสูงสุดระดับโลก_fororder_im_230264_659808-1024x809

ศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ (ซ้าย)

และรศ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ขวา)

“เราพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยสอนต่อมาจากหุ่นยนต์ตุ๊กตาหมีแต่งตัวได้ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่เคยส่งประกวดนวัตกรรมที่ประเทศเกาหลีใต้ จุดเด่นของอวตารคือลูกเล่นใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนที่น่าเบื่อเป็นการเล่นที่จะสนุกกับเนื้อหาในบทเรียน เพลินกับการเลี้ยงหุ่นยนต์อวตารให้โตขึ้นจาก QR Code ซึ่งมาจากการตอบคำถามในแบบทดสอบ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า Gamification กระตุ้นความรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้จนอาจลืมไปเลยว่ากำลังเรียนหนังสืออยู่” ศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ ซึ่งคิดค้นหุ่นยนต์เรซิ่นขนาดความสูง 10 นิ้ว “อวตาร” ร่วมกับ รศ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เผยจุดเด่นและเบื้องหลังสำคัญของผลงาน

หุ่นยนต์ช่วยสอนจากจุฬาฯ คว้าสองรางวัลสูงสุดระดับโลก_fororder_20210322zdtp

TARAL : หุ่นยนต์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก

“เรานำระบบการจัดการการเรียนรู้ที่เรียกว่า Learning Management System หรือ LMS มาใช้ในกระบวนการทำงานซึ่งทำให้อวตารในระบบ LMS โตขึ้น ๆ (ในระบบ) ยิ่งนักเรียนตอบคำถามมากเท่าไหร่ อวตารก็จะเติบโตขึ้นมากเท่านั้น การเรียนกับการเล่นจึงเป็นเรื่องเดียวกันไปโดยปริยาย”

นอกจากระบบ LMS แล้ว อีกลักษณะพิเศษที่เพิ่มเข้ามาในนวัตกรรมนี้คือระบบ Moodle ซึ่งทำให้ผู้สอนสามารถบรรจุเนื้อหาหรือปรับเปลี่ยนบทเรียนในอวตารได้ตามต้องการ และทุกรูปแบบสื่อการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือจะฝากลิงค์ URL ก็ทำได้ด้วยระบบนี้

“แม้แต่แบบทดสอบแบบเติมคำเติมข้อความหรือประโยคคำตอบก็ทำได้ พร้อมยังสรุปผลวิเคราะห์การเรียนแบบ Real Time ได้อีกด้วย”  

ศ.ดร.เนาวนิตย์ กล่าวทิ้งท้ายว่าปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้และขยายผลโครงการกับโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ช่วยออกกำลังกายสำหรับใช้ทดสอบสมรรถภาพของนักเรียนด้านพลศึกษาด้วย

หุ่นยนต์ช่วยสอนจากจุฬาฯ คว้าสองรางวัลสูงสุดระดับโลก_fororder_Easy-steps-of-using-TARAL

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

张鸿泽