เรียนรู้ทิเบตจากจามรี

2021-08-21 12:33:27 | CRI
Share with:

เรียนรู้ทิเบตจากจามรี_fororder_IMG_7200_副本

“ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต” มีสุภาษิตว่า  “ที่ใดมีชาวทิเบต ที่นั้นก็มีจามรี”

เนื้อ นม  และเนยของจามรี เป็นอาหารหลักของชาวทิเบต  หนังและขนของจามรี เป็นวัตถุดิบที่ขาดไม่ได้ในการผลิตเครื่องใช้ประจำวันของชาวทิเบต  ตลอดจนอุจจาระของจามรีก็เป็นเชื้อเพลิงทดแทน และในพื้นที่ห่างไกลที่การคมนาคมขนส่งด้อยพัฒนา จามรียังเป็นพาหนะสำคัญด้วย  จามรีจึงมีสมญาว่า “เรือบนที่ราบสูง”  ในเขตการเกษตรบนที่ราบสูง  จามรีเป็นแรงงานสำคัญในการไถนา

เรียนรู้ทิเบตจากจามรี_fororder_IMG_7180_副本

นอกจากนี้  ชาวปศุสัตว์ทิเบตนิยมใช้ขนจามรีถักเป็นกระโจม  เพราะว่าขนจามรีเจออุณหภูมิสูงจะพองขึ้นและเจออุณหภูมิต่ำจะหดตัว    นอกจากนี้  ขนจามรียังสามารถกันฝนและกันหิมะได้  ตอนที่อากาศโปร่งใส  เนื่องจากขนจามรีจะพองหลวม  จึงง่ายต่อการระบายอากาศ  

จากคำแนะนำข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า  จามรีเป็นสัตว์ที่ชาวทิเบตขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน  ด้วยเหตุนี้  ชาวทิเบตจึงเรียกจามรีว่า หนัวพู  โดยมีความหมายว่า สมบัติล้ำค่า

เรียนรู้ทิเบตจากจามรี_fororder_IMG_7140_副本

“จามรี” มีความสามารถอยู่รอดเป็นพิเศษ  และเป็นสัตว์ที่สุภาพอ่อนโยนไม่ดุร้าย  ซึ่งได้ส่งอิทธิพลต่ออุปนิสัยเฉพาะตัวของชาวทิเบตด้วย  นายอู๋ อี่ว์ชู  ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จามรีทิเบตระบุว่า  ความซื่อสัตย์ กล้าแกร่ง ใจดีมีเมตตา ทุ่มเทสุดกำลัง ถือเป็นจิตวิญญาณของจามรี  สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของประชาชนบนที่ราบสูงที่มีความอดทน  กล้าหาญ  และมีความมุ่งมั่น  จามรีถือเป็นอารยธรรมบนที่ราบสูงแดนหิมะ(Yim/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)

周旭