บทวิเคราะห์ : ทั่วโลกถกเถียงปัญหาสิทธิมนุษยชนเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน

2021-10-12 14:18:02 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ : ทั่วโลกถกเถียงปัญหาสิทธิมนุษยชนเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน

เมื่อเร็ว ๆ นี้  คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติสมัยที่ 48 ได้สิ้นสุดการประชุมลง  ตลอดเวลาเกือบหนึ่งเดือนที่เปิดอภิปรายหารือกัน  มีผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ได้วิจารณ์นโยบายสิทธิมนุษยชนและความบกพร่องด้านสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ อังกฤษ  แคนาดา  และออสเตรเลีย  เป็นต้น ซึ่งในวันที่ปิดประชุม   ที่ประชุมได้ลงมติผ่านญัตติของจีนเรื่อง  “ปัญหาตกค้างจากลัทธิเมืองขึ้นส่งผลกระทบทางลบต่อสิทธิมนุษยชน”

บทวิเคราะห์ : ทั่วโลกถกเถียงปัญหาสิทธิมนุษยชนเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน

ระหว่างการประชุมดังกล่าว  มีจำนวนเกือบร้อยประเทศได้แสดงการสนับสนุนต่อจุดยืนของจีนผ่านคำปราศรัยร่วม คำปราศรัยเดี่ยว  หรือส่งสารแสดงการสนับสนุนร่วมกัน  เป็นต้น  โดยเน้นว่า  เรื่องเขตซินเจียง  เขตฮ่องกง  และเขตทิเบตเป็นกิจการภายในของจีน  ประเทศอื่นใดเข้าแทรกแซงไม่ได้  เสียงเที่ยงธรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชาคมโลกคัดค้านประเทศตะวันตกใช้ข้ออ้างเรื่องสิทธิมนุษยชนแทรกแซงกิจการภายในของจีน

บทวิเคราะห์ : ทั่วโลกถกเถียงปัญหาสิทธิมนุษยชนเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน

ผู้แทนฟิลิปปินส์ระบุในที่ประชุมว่า  ฟิลิปปินส์ได้เคยเป็นเมืองขึ้นของสเปนและสหรัฐฯตามลำดับ จึงตระหนักถึงความสำคัญต่อการขจัดปัญหาที่ตกค้างจากลัทธิเมืองขึ้นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  การที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติลงมติผ่านญัตติของจีนดังกล่าว ได้สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนซึ่งเคยถูกลัทธิล่าเมืองขึ้นกดขี่ กล่าวอภิปรายถึงปัญหาที่ตกค้างจากการเป็นเมืองขึ้น  จึงมีความหมายสำคัญยิ่ง

เป็นที่ทราบกันดีว่า  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไม่มีเกณฑ์ดีที่สุด  มีแต่เกณฑ์ที่ดีขึ้น  จีนพัฒนาสิทธิมนุษยชนตามสภาพความเป็นจริงของประเทศตน  ซึ่งไม่เพียงแต่ได้ประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชนจีนเท่านั้น  หากยังได้ผลักดันการพัฒนาภารกิจสิทธิมนุษยชนของโลกอีกด้วย(Yim/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (16-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (16-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-04-2567)

周旭