ยาพิเศษที่จีนผลิตชนิดแรกมีผลต่อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่ผู้วิจัยมีคำตอบ

2021-12-23 16:54:01 | CRI
Share with:

ยาพิเศษที่จีนผลิตชนิดแรกมีผลต่อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่ผู้วิจัยมีคำตอบ

วันที่ 8 ธ.ค. BRII-196 ซึ่งเป็นยาพิเศษสำหรับต้านไวรัสโควิด-19 ได้รับการอนุมัติเข้าตลาดโดยสำนักงานกำกับดูแลยาแห่งประเทศจีน เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าจีนเปิดตัวยาต้านโควิด-19 ที่จีนวิจัยและผลิตเองทั้งหมด รวมทั้งได้รับการพิสูจน์ว่าได้ผลตัวแรก ศ.จาง หลินฉี จากมหาวิทยาลัยชิงหวา ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพและโรคติดต่อนานาชาติ เป็นแกนนำทีมวิจัยยาตัวนี้

ควรใช้ยาชนิดนี้อย่างไรและได้ผลมากน้อยแค่ไหน?

ยาพิเศษที่จีนผลิตชนิดแรกมีผลต่อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่ผู้วิจัยมีคำตอบ

ศ.จาง หลินฉี. พวกเราใช้ยาตัวนี้ในรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เอายาขวดหนึ่งใส่ในน้ำเกลือ แขวนเจาะฉีดทีละขวดโดยใช้เวลาทั้งหมด 40 นาที ฉีดเข้าร่างกายปุ๊บได้ผลทันที สามารถเกิดภูมิคุ้มกันที่ดีมากต่อร่างกาย

ผลการทดลองทางคลินิกแสดงว่า ยาพิเศษตัวนี้สามารถลดอัตราการรักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ให้น้อยลงถึง 80% บทบาทหลักคือรักษาโรค ขณะเดียวกันตัวภูมิคุ้มกันยังสามารถอยู่ในร่างการของมนุษย์ได้นานถึง 9 - 12 เดือน สามารถขยายบทบาทการป้องกันการติดเชื้อได้บ้าง ตัวเลขเหล่านี้นับเป็นตัวเลขของการรักษาที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับบรรดายาพิเศษสำหรับต้านเชื้อโรคจากทั่วโลก

เดือนมกราคม 63 ช่วงโควิด-19 เพิ่งแพร่ระบาดได้ไม่นาน ศ.จาง หลินฉี ผู้มีความไวในสายอาชีพเป็นอย่างดีนำทีมวิจัยของสถาบันแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยชิงหวา และทีมของศ.หวาง ซินฉวน สถาบันชีววิทยามหาวิทยาลัยชิงหวา และทีมของศ.จาง เจิ้ง จากโรงพยาบาลประชาชนที่ 3 ของนครเซินเจิ้น ประกอบขึ้นเป็นคณะวิจัยอย่างรวดเร็วโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนมากก็คือ วิจัยยาพิเศษที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19

ยาพิเศษที่จีนผลิตชนิดแรกมีผลต่อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่ผู้วิจัยมีคำตอบ

ศ.จาง หลินฉีรวบรวมกำลังในการวิจัยส่วนสำคัญของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็คือโครงสร้างและบทบาทของโปรตีนแท่งในชั้นผิวของเชื้อไวรัส เนื่องจากโปรตีนแท่งมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับไวรัส เสมือนลูกกุญแจเข้าบ้านขโมย ส่วนแม่กุญแจของประตูนั้นความจริงคือโปรตีนในชั้นผิวเซลล์ของมนุษย์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างลูกกุญแจกับแม่กุญแจนั้นก็คือบทบาทระหว่างโปรตีนสองชนิดดังกล่าว พวกเราพบปรากฎการณ์หลาย ๆ ชนิดนั่นก็คือบทบาทระหว่างโปรตีนกับโปรตีนนั่นเอง เมื่อเชื้อไวรัสเข้าไปในเซลล์ก็คือเข้าสู่ตัวเซลล์ของมนุษย์ด้วยโปรตีนของตน และใช้ตัวเซลล์ของมนุษย์เป็นช่องทางและฐานการผลิตลูก ๆ หลาน ๆ ของตัวเอง

ตัวภูมิกันนั้นคืออาวุธธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ เป้าหมายของศ.จาง หลินฉีและทีมของเขาก็คือค้นหาภูมิกันชั้นเลิศหนึ่งหรือหลายชนิดที่สามารถตัดการประกบตัวระหว่างเชื้อไวรัสกับเซลล์ของมนุษย์อย่างแม่นยำได้ จนสามารถยับยั้งไวรัสไม่ให้ทวีคูณและแพร่ระบาดในตัวเซลล์มนุษย์ ในกรณีที่ต้านเชื้อไวรัสและยกภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูโดยเร็ว

ยาพิเศษที่จีนผลิตชนิดแรกมีผลต่อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่ผู้วิจัยมีคำตอบ

ศ.จาง หลินฉี เมื่อร่างกายมนุษย์เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันหลายอย่างหลังจากได้รับเชื้อไวรัสแล้ว ร่างกายของมนุษย์เกิดภูมิคุ้มกันจำนวนมากขนาดนี้ แต่ไม่ใช่ภูมิคุ้มกันทุกตัวจะมีบทบาทต้านเชื้อไวรัสได้ ขอเปรียบเทียบดู พวกเราเรียกภูมิคุ้มกันที่มีบทบาทเช่นนี้เป็นภูมิคุ้มกันเป็นกลาง เป็นภูมิคุ้มกันที่สามารถปรับความมีชีวิตของเชื้อไวรัสเป็นกลางได้ หรือกล่าวได้ว่า มีแต่ทหารพิเศษในกองทัพถึงจะมีบทบาทเช่นนี้ได้ ด้วยเหตุนี้พวกเราต้องคัดเลือกทหารพิเศษเหล่านี้ และขยายทหารพิเศษเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้นนอกร่างกายเสียก่อนค่อยส่งเข้าตัวร่างการผู้ป่วยก็จะออกฤทธิ์ทันที สามารถขยายบทบาทกีดขวางเชื้อไวรัส นั่นก็คือความเป็นมาขั้นพื้นฐานของยาชนิดนี้

ผู้สื่อข่าว: ขั้นตอนคัดเลือกนั้นสลับซับซ้อนเป็นพิเศษหรือเปล่า?

ศ.จาง ฉีหลิน เท่ากับงมเข็มจากมหาสมุทร คัดหนึ่งจากหมื่น

ศ.จาง ฉีหลิน วัย 58 ปี เลื่องชื่อลือนามในวงการไวรัสวิทยาโลก จบการศึกษาจากคณะชีววิทยา มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ปักกิ่งในทศวรรษที่ 1980 แล้วศึกษาต่อป.เอกที่คณะพันธุศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยเอดินบะระของอังกฤษ วิจัยทฤษฎีการกลายพันธุ์และหลบหนีในร่างกายของผู้ติดเชื้อเอดส์ ในปี 1993 ศ.จาง ฉีหลินไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ติดตามศ.เหอ ต้าอีทำวิจัยเชื้อไวรัสเอดส์ ในปี 2007 ศ.จาง ฉีหลินกลับไปทำงานที่ม.ชิงหวา ทำการวิจัยยาและวัคซีนเอดส์เป็นหลัก นอกจากโรคเอดส์แล้ว ศ.จาง ฉีหลินยังวิจัยเชื้อไวรัสที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดชนิดอื่นด้วย

Chu/Dan/Tim

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

张丹