ปี 2021 ผลสำเร็จจีนในการสร้างประชาคมมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ (1)

2022-01-10 09:52:14 | CMG
Share with:

โลกที่สะอาดสวยงามเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งในการร่วมสร้างประชาคมของสิ่งมีชีวิตบนโลก ทั้งยังเป็นความปรารถนาร่วมกันของประชาชนทุกประเทศด้วย ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ปกคลุมการพัฒนาโลก ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังสูญเสียไปในอัตราที่รวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่อาจมองข้ามได้

ปี 2021 บนหลายเวทีระดับโลก นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เรียกร้องให้ทุกประเทศเพิ่ม “ความร่วมมือสีเขียว” เดินหน้า “การพัฒนาสีเขียว” หนุน “การฟื้นตัวสีเขียว” สร้างการมีส่วนร่วมที่มีค่ามากสุดในการสร้างบ้านเรือนที่สวยงามและสมานฉันท์สำหรับสรรพสิ่ง เสนอแบบแผนจีนในการรับมือความท้าทายจากสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม อัดฉีดความเชื่อมั่นและแรงขับเคลื่อนเพื่อเดินหน้าสร้างระบบนิเวศที่ดีของโลก

การคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ คำตอบสีเขียวทำให้โลกมองด้วยความชื่นชม

ปี 2021 ผลสำเร็จจีนในการสร้างประชาคมมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ (1)

ปี 2021 ฝูงช้างเอเชียสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนาน “มีชื่อเสียงบนอินเทอร์เน็ต” เป็นประเด็นยอดนิยมระดับโลก เนื่องจากขึ้นเหนือเพื่อเคลื่อนย้ายถิ่นฐานแล้วลงใต้เพื่อกลับสู่ภูมิลำเนาโดยได้รับการเอาใจใส่จากทางการและประชาชนจีนตลอดเส้นทาง มีการถ่ายทำสารคดีสั้นเรื่อง “ช้างสู่หยุนหนาน” ( “象” 往云南) ภายใต้หัวข้อ “มนุษย์-ช้างอยู่กันอย่างปรองดอง” ซึ่งสร้างความประทับใจและอบอุ่นใจแก่ทั่วโลก สะท้อนจีนที่สวยงาม มนุษย์กับธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง สารคดีดังกล่าวนำออกฉายรอบปฐมฤกษ์ในพิธีเปิดประชุมภาคีสนธิสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 15 (COP15) ณ เมืองคุนหมิง เดือนตุลาคม นักวิชาการด้านนิเวศศาสตร์จากฝรั่งเศสกล่าวชื่นชมว่า เรื่องราวของช้างเอเชียในมณฑลหยุนหนานเป็นกรณีศึกษาของจีนในการเพิ่มการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพและการส่งเสริมมนุษย์กับธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันอย่างปรองดองมากขึ้น

การประชุม COP15 เป็นครั้งแรกที่สหประชาชาติกำหนดระบบนิเวศที่ดีเป็นประเด็นหลักของการประชุม นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เข้าร่วมประชุมสุดยอดฯ พร้อมกล่าวปาฐกถานำผ่านระบบทางไกลโดยย้ำว่า ควรยึดแนวคิดระบบนิเวศที่ดี ร่วมสร้างประชาคมสิ่งมีชีวิตบนโลก (地球生命共同体) ส่งเสริมมนุษย์กับธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง สร้างเสริมเศรษฐกิจกับสิ่งแวดล้อมอย่างประสานกลมกลืนกัน และสร้างโลกใบนี้ให้เป็นบ้านเรือนที่ทุกบ้านทุกประเทศพัฒนาด้วยกัน ข้อเสนอดังกล่าวของจีนได้รับการตอบสนองจากประชาคมโลกและสร้างข้อขบคิดอย่างลึกซึ้ง

โลกใบนี้เป็นบ้านของมนุษย์ที่ใช้ชีวิตและคุ้มครองร่วมกัน ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสายเลือดและรากฐานของประชาคมสิ่งมีชีวิตบนโลก (地球生命共同体) ในกระบวนการใหม่ของการกำกับดูแลความหลากหลายทางชีวภาพของโลก จีนประกาศดังนี้ จะเป็นผู้ริเริ่มลงทุนจำนวน 1,500 ล้านหยวนสำหรับตั้งกองทุนความหลากหลายทางชีวภาพคุนหมิงเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ เร่งสร้างระบบแหล่งคุ้มครองธรรมชาติที่ถืออุทยานแห่งชาติเป็นหลักโดยเร็ว กำหนดนโยบาย “1+N” ตามเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนในระดับสูงสุดและการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์... บุคคลนานาชาติกล่าวชื่นชมว่า ภาวะผู้นำและการปฏิบัติของจีนในการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพมีส่วนช่วยไม่ให้ระบบนิเวศโลกในปัจจุบันเป็นไปในทิศทางที่ด้อยคุณภาพไปอีก

ปี 2021 ผลสำเร็จจีนในการสร้างประชาคมมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ (1)

สถิติระบุว่า จีนประสบผลในการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพหลายสายพันธุ์ เช่น หมีแพนดา “สมบัติแห่งชาติ” ปรับลดจาก “ใกล้จะสูญพันธุ์” (E) มาเป็น “ง่ายต่อการสูญพันธุ์” (V) จำนวนหมีแพนดาในป่าเพิ่มขึ้นเป็น 1,864 ตัวจากเดิม 1,114 ตัว ภายในช่วง 40 ปี ขณะที่จำนวนนกช้อนหอยหงอน (朱鹮) ในป่าและในการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 5,000 ตัวจากเดิม 7 ตัวช่วงแรกที่ค้นพบ จำนวนช้างเอเชียในป่าเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 300 ตัวจากเดิม 180 ในทศวรรษปี 1980 จำนวนละมั่งทิเบต (藏羚羊) บนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตก็เพิ่มขึ้นมาก โลมาแม่น้ำแยงซี “เทพแห่งรอยยิ้ม” ก็ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

“ด้านการสำรวจ ติดตาม เพาะพันธุ์ กำหนดแผนเขตคุ้มครอง รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอีกหลายด้าน จีนก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว” นี่คือคำชื่นชมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองสัตว์ป่ารายหนึ่งของสหรัฐฯ

“คำตอบสีเขียว” ที่จีนเขียนนั้น ทำให้โลกมองด้วยความชื่นชม แหล่งคุ้มครองธรรมชาติประเภทต่าง ๆ ระดับต่าง ๆ มีเกือบ 10,000 แห่ง ระบบนิเวศทางบก 90% และสายพันธุ์สัตว์-พืชป่า 71% ได้รับการคุ้มครองด้วยดี นอกจากนี้ข้อริเริ่มปฏิบัติการ “ขีดเส้นแดงคุ้มครองนิเวศ ชะลอและปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” ขึ้นทะเบียนเป็นกรณีชั้นดีระดับโลกในการกำหนด “แบบแผนแก้ไขที่ตั้งอยู่บนธรรมชาติ” ของสหประชาชาติ พื้นที่ป่าไม้และปริมาณไม้สะสม (森林蓄积) “เพิ่มขึ้นทั้งคู่” ติดต่อกันเป็นเวลา 30 ปี ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีทรัพยากรป่าไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุดของโลก ภาพจากดาวเทียมปรากฏว่า พื้นที่ป่าไม้ส่วนที่เพิ่มขึ้นใหม่ระหว่างปี 2000 - 2017 ของโลกราว 1 ใน 4 อยู่ในจีน ซึ่งมากที่สุดของโลก ส่วนวารสาร Nature ของอังกฤษตีพิมพ์บทความระบุว่า จีนมีประสบการณ์มากมายในการสร้างความสมดุลระหว่างการส่งเสริมเศรษฐกิจกับการกำกับดูแลการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อไม่ให้สูญหาย อันเป็นแบบอย่างการเรียนรู้ของโลกในการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ

ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพนั้นจีนก็ประสบผลมากมาย โดยจีนกับรัสเซีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือระยะยาวด้านการคุ้มครองนก จีนกับรัสเซีย มองโกเลีย ลาว เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ ดำเนินโครงการแหล่งคุ้มครองธรรมชาติข้ามแดนและระเบียงระบบนิเวศ ปัจจุบันที่แหล่งคุ้มครองธรรมชาติข้ามแดนจีน-รัสเซียมีจำนวนสายพันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสือ “ตงเป่ยหู่” (东北虎) หรือ เสือไซบีเรีย (Siberian Tiger, Amur Tiger) ในป่าเคลื่อนย้ายข้ามแดนได้อย่างเสรี ขณะที่แหล่งคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพข้ามแดนจีน-ลาวมีพื้นที่ 200,000 เฮกตาร์ ให้การคุ้มครองช้างเอเชียและสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ใกล้สูญพันธุ์และหายากเป็นอย่างดี ...

“จีนให้การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพจนเป็นแบบอย่างแก่ทั่วโลก” องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) สาขารัสเซีย กล่าวชื่นชมจากใจจริงเช่นนี้

(TIM/LING/LU)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

陆永江