ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของรถไฟจีน-ลาว (1)

2022-02-28 13:32:33 | CRI
Share with:

ปี 2017 นายหยวน เจ้อเสียงหนุ่มชาวมณฑลหูหนาน (袁志祥) จบการศึกษามหาวิทยาลัย เข้าทำงานการรถไฟจีน เป็นช่วงที่กำลังก่อสร้างทางรถไฟจีน - ลาว เขาจึงถูกส่งไปทำงานที่เขตเขาที่อยู่ทางเหนือของทางรถไฟลาว

ต่อมาไม่นาน หยวน เขารู้จักกับสาวลาวท้องถิ่นชื่ออาเฟิน (ชื่อภาษาจีน) และกลายเป็นแฟนกันในที่สุด

ปี 2018 อาเฟินได้รับเชิญไปร่วมงานฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ นายหยวน เจ้อเสียงขึ้นเวทีร้องเพลงจีน “เจิงฝู” (征服) ที่แปลว่าพิชิต เพลงนี้พิชิตใจสาวงาม อาเฟินตัดสินใจแต่งงานกับเขา

ปี 2019 ลูกสาวคนแรกถือกำเนิดที่อำเภอหมื่นล่า มณฑลยูนนาน พวกเขาตั้งชื่อหยวน ซืออี๋ ซึ่งมีความหมายถึงมิตรภาพจีน-ลาว

หลังโครงการทางรถไฟจีน - ลาวสร้างแล้วเสร็จ ครอบครัวนี้ยังอยู่ต่อในลาวอีกระยะหนึ่ง จนให้กำเนิดลูกสาวคนที่ 2 และตั้งชื่อ หยวน ซืออัน มีความหมายที่ต้องการให้จีนกับลาวเจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

เรื่องดังกล่าวเป็นเหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขั้นในโครงการก่อสร้างทางรถไฟจีน - ลาว ที่เป็นก้าวแรกของเครือข่ายรถไฟจีน - อาเซียน ตลอดจนเครือข่ายรถไฟอาเซียน - จีน - ยุโรป 

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2021 มีพิธีเปิดทางรถไฟจีน-ลาว ที่เชื่อมต่อกรุงเวียนจันทน์กับเมืองคุณหมิงเมืองเอกมณฑลยูน ผู้นำจีนและลาวต่างมาร่วมพิธีเปิด ถือว่าเป็นการให้ความสำคัญกับทางรถไฟสายนี้อย่างสูง

ทางรถไฟจีน-ลาวช่วงที่อยู่ในลาวมีระยะทาง 414 กิโลเมตร ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่จีนในปัจจุบันเฉพาะทางรถไฟความเร็วสูงก็มีกว่า 35,000 กิโลเมตร จึงมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าทางรถไฟจีน -ลาวมีความสำคัญสูงถึงขนาดที่ผู้นำทั้งสองประเทศต้องไปร่วมพิธีเปิดการเดินรถเลยหรือ?

คำตอบคือใช่ เพราะนี่เป็นทางรถไฟที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของประชาชนลาว ประชาชนในภาคตะวันตกเฉียงใต้จีนและประชาชนอาเซียน

ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของรถไฟจีน-ลาว (1)

มีคำถามว่า ลาวเป็นประเทศยากจนและไม่มีทางออกสู่ทะเล จะมีความสามารถปรับเปลี่ยนอนาคตของมณฑลยูนนานกระทั่งเขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเชียวหรือ? คำตอบคือ ลาวคงไม่มี แต่ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีศักยภาพแบบนี้ ทางรถไฟจีน-ลาว เป็นเพียงขั้นแรก เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟแพนเอเชีย

ลาวเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศแบบดั้งเดิม มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เฉพาะเหมืองแร่โลหะขนาดใหญ่ก็มีกว่า 450 แห่ง ปัจจุบันขุดออกมาใช้แค่เพียง 3% เท่านั้น เพราะเมื่อขุดออกมาแล้วไม่มีทางขนส่งออกไปขาย จึงไม่มีใครกล้ามาลงทุนช่วยลาวขุดเหมืองแร่ ชาวลาวจึงเพียงเฝ้ารอคอย

ปี 2016 รัฐบาลลาววางแผนพัฒนาระยะ 15 ปี หวังรับการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อสร้างทางรถไฟ ทำให้ลาวซึ่งเดิมเป็นประเทศที่ถูกล็อกไว้ในแผ่นดินชั้นในมาเป็นประเทศที่เป็นชุมทางภูมิภาค และการสร้างทางรถไฟนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ดังนั้น ประเทศเอเชียตะวันออกจำนวนนึ่งก็ยินดีเข้าร่วมด้วย

ก่อนเปิดเดินรถไฟจีน -ลาว ทั้งประเทศลาวมีทางรถไฟเพียง 3 กิโลเมตรเท่านั้น นี่ไปทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อกับไทย เพื่อให้ความสะดวกแก่แรงงานลาวที่จะเข้าไปทำงานในไทย

พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาวเป็นป่าไม้ เขตที่สร้างทางรถไฟพอดีอยู่ในเขตรอยต่อของแผ่นธรณีภาคยูเรเซีย(Eurasian Plate) รองรับทวีปยุโรป ทวีปเอเชียและพื้นน้ำบริเวณใกล้คียงมีชั้นแตกหักมากมาย ทั้งเป็นแนวที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ สัดส่วนอุโมงค์และสะพานมีกว่า 70% ช่วงเดือนเมษายนถึงตุลาคม จะมีฝนตกชุก

นอกจากนั้น ช่วงสงครามเวียดนาม เส้นทางโฮจิมินห์ส่วนใหญ่ผ่านลาว ทหารสหรัฐฯ ฝังระเบิดไว้กว่า 200 ล้านลูก จนถึงปัจจุบันยังเหลือกว่า 10 ล้านลูกที่ยังไม่ระเบิด จำนวนลูกระเบิดมากกว่าจำนวนประชากรลาวด้วย ทำให้ลาวมีพื้นที่ที่ต้องปิดไม่ให้ผู้คนเข้าไปอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้ลาวที่เป็นประเทศยากจน แต่สินค้ากลับมีราคาสูง

สรุป การสร้างทางรถไฟในลาวยากมากและอันตรายมาก ต้องลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูง สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและยุโรปไม่ยอมลงทุน มีแต่จีนเท่านั้นที่ตัดสินใจไปช่วย

การสร้างทางรถไฟต้อใช้เงินทุน รัฐบาลลาวออกทุน 33% รัฐบาลจีนออก 7% บริษัทจีนในลาวออกทุน 60% หลังสร้างเสร็จ จีนเป็นฝ่ายบริหารก่อนครบอายุสัญญา แล้วจึงมอบให้แก่รัฐบาลลาว โครงการที่ทำยากมากๆ นี้แต่จีนใช้เวลา 5 ปีก็สร้างเสร็จและเปิดใช้ได้

ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของรถไฟจีน-ลาว (1)

ย้อนหลังทศวรรษที่ 1960 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก(Economic And Social Commission For Asia And The Pacific) หรือ แอสแคป (ESCAP) ได้กำหนดโครงการเครือข่ายทางรถไฟขนส่งสินค้าที่เชื่อมต่อทวีปเอเชียกับยุโรป ระยะทาง 14,080 กิโลเมตร ที่เริ่มจากสิงคโปร์- อิสตันบูล จนถึงยุโรป กระทั่งเชื่อมต่อกับแอฟริกา

ปี ค.ศ.1995 ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 5 ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย สืบทอดแนวคิดโครงการดังกล่าว เสนอให้สร้างทางรถไฟระหว่างประเทศที่ออกจากคุนหมิงผ่านลาวเข้าไทยกับ มาเลเซียและสิ้นสุดที่สิงคโปร์ เหล่าผู้นำประเทศที่ร่วมการประชุมล้วนเห็นด้วย และวางแผนจะสร้างให้แล้วเสร็จภายในเวลา 10 ปี โดยมียอดการลงทุนกว่า 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จีนออกประมาณครึ่งหนึ่ง

แต่เรื่องนี้พูดง่ายทำยาก คุยไปคุยมาจนถึงเดือนกันยายนปี 1999 จึงมีการลงนามบันทึกช่วยจำในการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 5 อาเซียน กำหนดแผนรถไฟแพนเอเชีย  

หลังจากนั้นคุยกันอีก 4 ปี เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ที่เมืองปูซาน เกาหลีใต้ 18 ประเทศได้ลงนาม “ความตกลงระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเครือข่ายรถไฟเอเชีย” ที่มีแผนจะสร้าง “เส้นทางสายไหมเหล็กกล้า” 4 สาย เพื่อเชื่อมต่อทวีปเอเชียกับยุโรป ได้แก่

เส้นทางเหนือ เชื่อมต่อคาบสมุทรเกาหลี จีน มองโกเลีย คาซัคสถาน รัสเซีย ระยะทางรวม 32,500 กิโลเมตร

เส้นทางใต้ ผ่านยูนนาน พม่า อินเดีย อิหร่าน ถึง ตุรกี ระยะทางรวม 22,600 กิโลเมตร

เส้นทางเหนือ-ใต้ เริ่มจากมอสโคว์ ผ่านรัสเซียสู่ทะเลแคสเปียน แล้วแยกเป็น 3 เส้นทาง เส้นทางตะวันตกผ่านสองคู่ที่เป็นศัตรูคืออาเซอร์ไบจานกับอาร์เมเนียสู่อิหร่าน เส้นทางกลาง ผ่านทะเลแคสเปียนสู่อิหร่าน และเส้นทางตะวันออกจากภาคกลางเอเชียไปอิหร่าน ทั้งหมดนี้บรรจบกันที่กรุงเตหะราน ไปถึงท่าเรืออิหร่าน ระยะทางรวม 13,200 กิโลเมตร

เส้นทางอาเซียน ออกจากลาวผ่านเวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์จนถึงอินโดนีเซีย ระยะทางรวม 12,600 กิโลเมตร

เมื่อพิจารณาแผนดังกล่าวแล้วต้องหายใจลึกๆ สถานการณ์ทางการเมืองที่สลับซับซ้อน อาทิ เกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ อาเซอร์ไบจานกับอาร์เมเนียก็เป็นปัญหาที่แก้ยาก ทั้งยังมีปัญหาด้านศาสนาและชนเผ่าด้วย

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

何喜玲