บทวิเคราะห์ : ประเทศสมาชิกอาเซียนมีปฏิกิริยาต่างกันต่อสถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย

2022-03-23 11:43:57 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ : ประเทศสมาชิกอาเซียนมีปฏิกิริยาต่างกันต่อสถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย

หนึ่งเดือนที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนพากันแสดงท่าทีและมีปฏิกิริยาต่าง ๆ ต่อสถานการณ์ระหว่างยูเครน-รัสเซีย

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครนโดยระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของ 10 ประเทศอาเซียนเอาใจใส่สถานการณ์ยูเครนอย่างยิ่ง เรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ใช้ท่าทียับยั้งอย่างเต็มที่ และใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจัดการเจรจาขึ้นผ่านทุกวิถีทางซึ่งรวมถึงวิถีทางการทูต ป้องกันไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลง ผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียด แสวงหาวิธีแก้ไขปัญหาตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎบัตรสหประชาชาติ และสนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือฉันมิตรแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีต่างประเทศของ 10 ประเทศอาเซียนออกแถลงการณ์ร่วมอีกครั้งเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครน โดยวิงวอนให้รัสเซียและยูเครนหยุดยิง อีกทั้งย้ำว่าเชื่อว่าโอกาสจัดการเจรจาสันติภาพระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยังคงมีอยู่ ควรป้องกันไม่ไห้สถานการณ์ยกระดับสูงขึ้น และควบคุมไม่ได้ อาเซียนยินดีใช้ทุกวิถีทางเพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันจัดการเจรจาสันติภาพ

ถึงแม้ว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของ 10 ประเทศอาเซียนมีฉันทะมติในการให้ฝ่ายต่าง ๆ คลี่คลายการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครนผ่านการเจรจาอย่างสันติก็ตาม แต่รัฐบาลของ 10 ประเทศอาเซียนยังคงมีปฏิกิริยาแตกต่างกันต่อการปะทะกันระหว่างรัสเซีย – ยูเครน

ย้อนไปเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ รัสเซียเริ่มใช้ปฏิบัติการทางการทหารพิเศษต่อยูเครน พลตรี เจา มินทุน โฆษกของทางการทหารเมียนมา แสดงท่าทีโดยเร็วว่า เมียนมาสนับสนุนรัสเซียใช้ปฏิบัติการทางการทหารต่อยูเครน รัสเซียกำลังปกป้องอธิปไตยของประเทศตนอย่างเต็มที่ เมียนมาเห็นว่าปฏิบัติการดังกล่าวถูกต้อง

ขณะที่สิงคโปร์เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายวิเวียน บาลาคริซนัน รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ ระบุว่า สิงคโปร์จะคว่ำบาตรและจำกัดรัสเซียอย่างสมเหตุในด้านธนาคารและการเงิน ทั้งยังจะกำจัดการส่งออกสิ่งของที่มีความเป็นไปได้ที่ว่าจะนำไปใช้ในการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครนด้วย

ด้านกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครนเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ วิงวอนให้ประชาคมโลกเน้นย้ำปฏิญญามะนิลาว่าด้วยการแก้ข้อพิพาทระหว่างประเทศอย่างสันติของสหประชาชาติ เร่งรัดให้ฝ่ายต่าง ๆ ใช้ความพยายามทุกประการ เพื่อปกป้องสันติภาพรวมทั้งความปลอดภัยระหว่างประเทศด้วยสันติวิธีและการต่างประเทศ หลีกเลี่ยงวิกฤตมนุษยธรรม

วันเดียวกัน นายเดลฟิน ลอเรนซานา รัฐมนตรีกลาโหมฟิลิปปินส์ ระบุว่า ฟิลิปปินส์ใช้ท่าทีเป็นกลางต่อการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครน โดยระบุว่า สงครามไม่มีประโยชน์ต่อใคร กลับคุกคามชีวิตของผู้บริสุทธิ์ในเขตปะทะกันอย่างรุนแรง

สำหรับรัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับปฏิบัติการทางการทหารของรัสเซียที่มีต่อยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า การปะทะกันด้วยกำลังอาวุธในภูมิภาคยูเครนได้คุกคามความปลอดภัยในชีวิตประชาชนและสันติภาพส่วนภูมิภาคอย่างรุนแรง รัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวย้ำว่า ฝ่ายต่าง ๆ ควรจัดการเจรจาอย่างสันติและใช้วิถีทางการทูตในการแก้ไขการปะทะ ควรพิจารณาการได้ข้อยุติอย่างสันติมากกว่า

วันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เรียกร้องให้รัสเซียและยูเครนปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง ขณะเดียวกันยังเน้นย้ำว่าการเจรจาเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดในปัจจุบันระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ปธน.วิโดโด ระบุด้วยว่า การที่บางประเทศคว่ำบาตรรัสเซียทางเศรษฐกิจไม่ใช่ทางเลือกที่สมควร ปัจจุบันสำหรับทุกประเทศเรื่องสำคัญที่สุด คือ ช่วยให้สถานการณ์ตึงเครียดผ่อนคลายลง ป้องกันไม่ให้สถานการณ์ยกระดับสูงขึ้นและส่งเสริมการเจรจา

ปีนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศประธานหมุนเวียนกลุ่มจี 20 เมื่อเร็ว ๆ นี้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของอินโดนีเซียระบุว่า อินโดนีเซียเห็นว่าทุกประเทศต่างมีสิทธิเอาใจใส่ปัญหาประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครน แต่กลุ่มจี 20 ในฐานะกลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบพหุภาคี อินโดนีเซียไม่คิดที่จะจัดการปะทะระหว่างรัสเซีย-ยูเครนให้อยู่ในวาระของกลุ่มจี 20 ในขณะนี้

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ระบุว่า เวียดนามสนใจการปะทะด้วยกำลังอาวุธในยูเครนเป็นอย่างยิ่ง และเรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใช้ท่าทียับยั้ง วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา เอกอัครราชทูต ตาง ดินห์ เคว หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามประจำสหประชาชาติได้ขึ้นพูดในการประชุมวิสามัญเร่งด่วนเกี่ยวกับปัญหายูเครนของสมัชชาสหประชาชาติ โดยเรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ เจรจากันและคุ้มครองประชาชน

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศลาวออกแถลงการเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครนโดยระบุว่า ลาวกำลังติดตามการคลี่คลายและเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ยูเครนซึ่งสลับซับซ้อนมาก เรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ใช้ท่าทียับยั้งและใช้ความพยายามเพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดที่มีความเป็นไปได้ว่าจะกระทบสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศ ลาวสนับสนุนการใช้สันติวิธีและการทูตแก้ไขปัญหาดังกล่าว

กระทรวงการต่างประเทศบรูไนออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ว่า บรูไนห่วงใยสถานการณ์ตึงเครียดและปฏิบัติการทางทหารในยูเครนจะยกระดับสูงขึ้น รวมทั้งประณามการกระทำที่รุกรานอธิปไตยใด ๆ

เกี่ยวกับการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครน กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา เรียกร้องและเร่งรัดให้ฝ่ายต่าง ๆ ผ่อนคลายปฏิบัติการที่ปฏิปักษ์กัน เพื่อป้องกันการสูญเสียผู้บริสุทธิ์ไปมากกว่านี้

วันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศของไทยอนุมัติงบประมาณมูลค่า 2 ล้านบาทเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่อยูเครน

กัมพูชาเป็นประเทศประธานหมุนเวียนอาเซียนในปีนี้ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ระหว่างการเจรจากับนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่เดินทางเยือนกัมพูชา สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้พูดถึงสถานการณ์ยูเครนพร้อมกับเน้นย้ำว่า สงครามใดมิอาจยุติสงคราม ทางออกเดียวคือการเจรจาสันติภาพ

บทวิเคราะห์ : ประเทศสมาชิกอาเซียนมีปฏิกิริยาต่างกันต่อสถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย

บรรดานักวิเคราะห์ลงความเห็นว่า แม้ว่าการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครนห่างจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ตาม แต่ความต่อเนื่องของการปะทะกันดังกล่าวจะทำให้ราคาอาหารการกินและพลังงานในภูมิภาคนี้ปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและการผลิต ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Tim/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

周旭