ในบันทึกของผู้สื่อข่าวตอนที่แล้ว ผมเคยกล่าวไว้ว่า เมืองยวี่ซู่มีการเกิดใหม่หลังแผ่นดินไหว สิ่งก่อสร้างพื้นฐานของเมืองแห่งนี้ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน เมืองแห่งนี้ก็ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม สิ่งที่น่าพูดก็คือ สวนสาธารณะพื้นที่ชุ่มชื้นแห่งชาติปาถังเหอซึ่งได้รับการยกย่องว่า “ปอดสีเขียว”
สวนสาธารณะแห่งนี้ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองยวี่ซู่ เดินจากตัวเมืองถึงที่นี่แค่ครึ่งชั่วโมงกว่า ผู้สูงวัยท้องถิ่นกล่าวว่า เมื่อก่อนที่นี่เป็นพื้นที่รกร้าง ไม่มีใครมา แต่เวลานี้ มีทั้งต้นไม้ ดอกไม้ อากาศก็ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมก็สวยขึ้น ผู้คนชอบมาเดินเล่นที่นี่ ผมก็มาสำรวจที่นี่สักหน่อย
เมื่อเดินเข้าสวนสาธารณะไม่นาน ก็มีหลายต้นที่เต็มลูกสีเหลืองดึงดูดผมแล้ว ถามแล้วถึงจะรู้ว่า นี่คือซีบัคธอร์น(Sea Buckthorn) เมื่อได้ยินซีบัคธอร์น ผมรู้สึกประหลาดใจมาก เมื่อก่อน ผมเคยดื่นน้ำซีบัคธอร์นที่มองโกเลียในและหนิงเซี่ย แต่ไม่เคยเห็นซีบัคธอร์นมีรูปร่างอย่างไร ไม่ได้นึกว่า คราวนี้ ได้พบของจริงที่ชิงไห่ ซีบัคธอร์นบนต้นไม้ ออกลูกเป็นพวง ๆ มีขนาดไม่ถึง 1 เซ็นติเมตรทุกลูก เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเชิญผมลิ้มรสลูกซีบัคธอร์น ซึ่งมีรสชาติเปรียวหน่อยและมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษด้วย
ผมจึงมีข้อสังสัยว่า ทำไมต้องปลูกซีบัคธอร์นที่นี่? ผู้รับผิดชอบกรมกิจการป่าไม้และทุ่งหญ้าท้องถิ่นบอกผมว่า เนื่องจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตมีออกซิเจนน้อย อุณหูภูมิต่ำและมีรังสีดวงอาทิตย์ที่แข็งแกร่ง ทำให้ที่ราบสูงชิงไห่ยากที่จะปลูกต้นไม้ ฉะนั้น อัตราการปลูกพืชของเมืองยวี่ซู่ในเมื่อก่อนต่ำมาก แต่เมืองที่ไม่มีพื้นที่สีเขียวทำให้ผู้คนรู้สึกขาดอะไรไปสักอย่าง เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพเช่นนี้ เมืองยวี่ซู่ได้จัดทีมปลูกพืชที่มีประสบการณ์มาก และนำเข้าต้นไม้จากต่างถิ่นซึ่งรวมทั้งซีบัคธอร์น และปลูกต้นอ่อนทุกต้น โดยต้นไม้เหล่านี้ ทำให้ถนนยวี่ซู่เต็มไปด้วยสีเขียวและมีชีวิตชีวามากขึ้น
สวนสาธารณะพื้นที่ชุ่มชื้นแห่งชาติปาถังเหอที่มีต้นซีบัคธอร์นนั้น ไม่เพียงแต่ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของตัวเมืองยวี่ซู่แล้ว หากยังนับเป็นรั้วสำคัญในข้างนอกของเขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติต้นแม่น้ำสามสาย ที่ว่า “ต้นแม่น้ำสามสาย” ได้แก่ต้นแม่น้ำแยงซี แม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำล้านช้าง