ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศสำคัญตามแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และตามเส้นทางสายไหมทางทะเลด้วย ถ้ามาดูนโยบายของไทยเอง ก็มีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ด้วยเช่นกันอย่าง EEC จะพัฒนาต่อยอดอย่างไร
แผน BRI เป็นโจทย์ใหญ่ ที่ท้าทายและไทยต้องศึกษาและเรียนรู้ อ.เสาวนีย์ เภรีฤกษ์ จาก krisdika.go.thได้เขียนบทความในช่วงหนึ่ง กล่าวถึง กรณีที่จะเห็นว่า ไทยก็มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาขึ้น เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค 4 ตะวันออก (Thailand Eastern Economic Corridor : EEC ) รวมทั้งนโยบาย Thailand 4.0 เชื่อมต่อภายในประเทศและภูมิภาคมากขึ้นทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และ สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของเอเชียในอนาคต
มีทั้ง การก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ การก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง การก่อสร้างท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง การก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาให้เป็น สนามบินเชิงพาณิชย์เพิ่มการเชื่อมต่อภายในประเทศ และภูมิภาคมากขึ้นทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
ยังมีการสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของเอเชียในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ การก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง การ ก่อสร้างท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง การก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และการ ก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์
แต่ถ้ามาดูข้อมูลความร่วมมือ ทางการค้าจาก สำนักพัฒนาและส่งเสริมการวิจัย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
จะพบว่า ไทยก็มีความพยายามพัฒนา และตื่นตัวด้านเศราฐกิจในฐานะที่เป็นประเทศศูนย์กลางของอาเซียนตอนบนที่สามารถเชื่อมต ่อกับเส้นทาง BRI ได้ทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งถือเป็นเส้นทาง ยุทธศาสตร์สำคัญบนระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทร อินโดจีน (China-Indochina Peninsula Economic Corridor : CICPEC) ดังนั้น ก็อาจจะต้องการศึกษาวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบจากข้อริเริ่ม BRI ให้รอบคอบ ทั้ง มิติด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบและโอกาสต่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อม
รวมทั้งต้องเตรียมความพร้อม ด้านนโยบายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จากข้อริเริ่ม BRI ของจีน ทั้งนโยบายการค้าระหว่าง ประเทศเพื่อรองรับข้อริเริ่ม BRI และไทยอาจจำเป็นต้องใช้ ศักยภาพในการมีบทบาทนำในกลุ่มประเทศสมาชิก อาเซียนในการพัฒนาความร่วมมือกับจีน ทั้งมิติ ด้านเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ ที่ไทยต้องศึกษาให้รอบด้าน
การปรับโครงสร้างสินค้าส ส่งออกไปจีนอย่าง จริงจัง โดยเน้นการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการอุปโภคบริโภคไปป้อนผู้บริโภคจีนให้มากขึ้น เช่น อัญมณี 41 เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เพราะ มีผู้บริโภคจีนที่นิยมสั่งสินค้าออนไลน์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีสำหรับการหันมาปรับโครงสร้าง การส่งออกสินค้าสำเร็จรูปจากไทยไปจีนอย่างจริงจัง
ถ้ากรณีเพื่อนบ้านอย่างลาวที่มีรถไฟ เห็นว่าพื้นที่ชายแดนของไทยก็เริ่มเตรียมรองรับการเดินทางของฝั่งลาวด้วย มีการเตรียมพร้อมอย่างไรบ้างคะ
เพิ่งจะมีข่าวว่า นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม (ดีอีเอส) ลงพื้นที่ตลาดท่าเสด็จ จังหวัดหนองคาย เมื่อไม่กี่วันมานี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการพัฒนาจังหวัดหนองคาย ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญมากในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งขนส่งระบบราง โดยเฉพาะจุดที่มีการเชื่อมต่อกับ ลาว รัฐบาลต้องการเน้นการค้าชายแดนให้กลับมาให้คึกคักเหมือนเดิม ลาว น่าจะมีการเปิดประเทศ 9 พฤษภาคม มีการเดินทางระหว่างคนไทยกับคนลาวอย่างสะดวกสบาย การค้าขายชายแดนต้องพัฒนาให้คึกคักดีเหมือนเดิม
จึงได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเส้นทางรถไฟ
ก่อนหน้านี้ thaigov.go.th รายงานว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เคยให้ข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมสำหรับที่จะรองรับการขนส่งข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าไทย-ลาว-จีน จากการพิจารณาปริมาณสินค้าที่ต้องการขนส่ง (demand) ในปัจจุบันนั้น กับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ของไทย ยังสามารถรองรับ ปริมาณการขนส่งดังกล่าวได้
และเพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างรอบด้านกระทรวงคมนาคมจึงได้จัดการประชุมสร้างความเข้าใจร่วมกับภาคเอกชนต่อการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน เพื่อรับฟังความเห็นของภาคเอกชน เพื่อเป็น Team Thailand ร่วมกับภาครัฐของไทย ในการจัดทำแผนเชื่อมโยงระหว่างสามประเทศทั้ง ไทย ลาว และจีนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย
กระทรวงคมนาคมของไทยได้ชี้แจงแผนการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน อย่างไรบ้างคะ
1.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าเปิดให้บริการในปี 2569
2.การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ใกล้กับสะพานเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งห่างประมาณ 30 เมตร โดยมีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน และทางขนาด 1 เมตร ซึ่งปัจจุบันได้ข้อตกลงว่าฝ่ายไทยและลาวจะร่วมลงทุนค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย โดยกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างดำเนินการของบกลางเพื่อออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเร่งดำเนินการก่อสร้าง
3.การเพิ่มรถไฟจาก 4 ขบวนต่อวันเป็น 14 ขบวนต่อวัน และจากขบวนละ 12 แคร่ เป็น 25 แคร่ ซึ่งจะมีศักยภาพการขนส่งเพิ่มขึ้นประมาณ 8 เท่า
4.ในระยะเร่งด่วน จะพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยมีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ โดยจะมีเครื่องโมบายเอกซเรย์ ติดตั้งอยู่ในพื้นที่สถานีหนองคาย โดยให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง อีก 1 แปลงเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ปัจจุบันอยู่ระหว่างประกาศหาเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ 2565
5.ในระยะยาว จะมีการพัฒนาพื้นที่ย่านนาทา จังหวัดหนองคาย ให้สามารถรองรับการขนส่งจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเร่งกระบวนการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือ PPP) ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ให้แล้วเสร็จในปีนี้ และก่อสร้างใช้เวลาประมาณ 2 ปี
พอมีนโยบายแบบนี้ ภาคเอกชนได้แสดงความเห็นต่อที่ประชุมอย่างไร
1.ปัจจุบันรถไฟลาว – จีน สามารถรองรับ 30 ขบวนต่อวัน โดยให้กระทรวงคมนาคมปรับแผนรองรับจำนวนการขนส่งให้มีปริมาณมากขึ้น และเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น – หนองคาย รวมถึงสถานีนาทาในแผนระยะเร่งด่วน พร้อมเสนอให้มีการเปิดด่าน 24 ชั่วโมง และให้บูรณาการร่วมกันระหว่างสถานีนาทา และท่านาแล้ง
2.เสนอให้ออกแบบสะพานรถไฟให้สามารถรองรับการใช้งานของรถไฟ และรถยนต์ เพื่อใช้ควบคู่กันและพิจารณาก่อสร้างสถานีสำหรับขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสารที่สถานีหนองคายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและสินค้าด้วย
3.เสนอให้ รฟท. เตรียมพื้นที่สำหรับการรองรับการขนส่งสินค้าเกษตรที่เป็นผักและผลไม้ รวมถึงการจัดเตรียมระบบโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิ ( Cold – Chain) เพื่อรองรับสินค้าเกษตร
4.เสนอให้มีการกำหนดจุดตรวจร่วมพิธีทางศุลกากร (CCA) และพิจารณาเพิ่มจุดผ่อนปรนบริเวณพื้นที่ชายแดน โดยให้กระทรวงคมนาคมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
5.ปัจจุบันค่าขนส่งสินค้าทางรางจากจีนมาไทยพบว่ามีค่าระวางที่ไม่สูง แต่กรณีการขนส่งสินค้าจากไทยไปจีน ยังมีค่าระวางที่สูง โดยให้ รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา
6.พิจารณาจัดทำแผนการเชื่อมโยงผ่านลาว และจีนไปยังเอเชียกลาง ยุโรป และเส้นทางในบริเวณทางใต้ของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการขนส่ง รวมถึงพิจารณาเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าผ่านระบบรางมายังกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบังด้วย
7.พิจารณาปรับปรุงมาตรฐานด้านสัญญาการขนส่งทางรถไฟ และปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและให้ภาคเอกชนมามีส่วนร่วมในการเดินรถไฟร่วมกับ รฟท.
8.ภาคเอกชนยินดีร่วมเป็น Team Thailand ร่วมกับภาครัฐของไทย ในการจัดทำแผนเชื่อมโยงระหว่างสามประเทศทั้ง ไทย ลาว และจีนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
ในที่ประชุมรับความเห็นของภาคเอกชนไปดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนเชื่อมโยงระหว่างสามประเทศทั้ง ไทย ลาว และจีน รวมถึงได้สั่งการให้ รฟท. จัดทำ Action Plan สำหรับดำเนินการจัดทำลานกองเก็บตู้สินค้า (CY) และเตรียมแคร่สำหรับ Cold – Chain พร้อมนี้ได้สั่งการให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้ภาครัฐได้รับทราบความต้องการของภาคเอกชน โดยจะให้มีการประชุมร่วมกันทุกเดือน
หมายเหตุ : อ้างอิง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมสร้างความเข้าใจร่วมกับภาคเอกชนต่อการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน (thaigov.go.th)
article-00303.pdf (nsc.go.th)
act13496.pdf (krisdika.go.th)