มุมมองของนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ต่อเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน
  2011-03-28 13:30:15  cri

ความตกลง FTA อาเซียน-จีนนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก จีนนับเป็นคู่เจรจาอันดับแรกที่อาเซียนได้ลงนามความตกลง FTA ด้วย โดยได้เริ่มลงนามกรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีนในปี 2545 และความ ตกลงฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา มูลค่าการค้าระหว่างอาเซียนกับจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในปี 2552 มีมูลค่าการค้า สูงกว่า 212,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจีนนำเข้าจากอาเซียนสูงถึง 106,202 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 10 ของการนำเข้าของจีนจากทั่วโลกและผลจากความตกลง FTA อาเซียน-จีน

และผลจากความตกลง FTA อาเซียน-จีน ก็ปฏิเสธมิได้ว่าทำให้ภาพรวมการค้าระหว่างไทยและจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน โดยหากพิจารณาเปรียบเทียบมูลค่าการค้าก่อนและหลังความตกลงมีผลบังคับใช้ พบว่ามูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย-จีนขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่า 106% โดยในปี 2546 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 11,691 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ปี 2549 หลังจากความตกลง มีผลบังคับใช้เพียง 1 ปี มูลค่าการค้าสองฝ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 25,332 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการค้าเพิ่มสูงขึ้นทุกปีหลังจากนั้น

โดยล่าสุดในปี 2553 ไทยมีมูลค่าการค้ากับจีนสูงถึง 45,989.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นประมาณเกือบ 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับก่อนมี FTA อาเซียน-จีน

ในด้านการใช้สิทธิจากความตกลงด้านการค้าสินค้า จากสัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับจีน หากดูจากปี 2553 ซึ่งไทยส่งออกอยู่ที่มูลค่า 11,453 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจำนวนนี้ มีการขอใช้สิทธิผ่าน FTA อาเซียน-จีน 7,372 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 60 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโอกาสทางการค้ากับจีนยังคงมีอีกมาก

มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่การสัมมนาในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA อาเซียน-จีนให้เพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการภาคเอกชนจะได้ทราบโอกาสต่างๆ ภายใต้ความตกลง และจะเป็นข้อได้เปรียบสำคัญของผู้ประกอบการไทยในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนซึ่งมีจำนวนถึง 1,300 ล้านคน ในขณะเดียวกันผู้ผลิตในประเทศจะต้องปรับตัวรองรับการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นจากจีนเช่นเดียวกัน

และในส่วนของการลงทุน อาเซียนและจีนได้เจรจาจัดทำความตกลงด้านการลงทุนแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่การลงทุนและนักลงทุน รวมถึงให้ความคุ้มครองนักลงทุน และเงินทุนของนักลงทุนของทั้งสองฝ่ายโดยไม่เลือกปฏิบัติ จีนเองก็มีนโยบายให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจในอาเซียน เนื่องจากจีนมองว่าหากเศรษฐกิจในอาเซียนเติบโต ก็จะทำให้มูลค่าการค้าและการลงทุนกับจีนเติบโตไปด้วย

ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ประเทศอาเซียนภายใต้วงเงิน 8,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้จีนเข้าไปร่วมทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน สาธารณูปโภค ระบบขนส่ง และระบบสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียน

1 2 3 4
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040