เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 42 เปิดฉากขึ้นที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมหารือถึงเรื่องการร่วมผลักดันประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้ก้าวคืบหน้าต่อไป รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนให้ลงลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้นต่อไป
ประเด็นของการประชุมครั้งนี้คือ "จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีชีวิตชีวา และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน" นายเหงียน ตัน ดุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ประธานหมุนเวียนของอาเซียนกล่าวในพิธีเปิดประชุมว่า "กล่าวสำหรับอาเซียนแล้ว ปี 2010 เป็นปีสำคัญในกระบวนการจัดตั้งประชาคมทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประสบความคืบหน้าสำคัญ" ขณะนี้ คำมั่นสัญญาและโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังได้รับการปฎิบัติตามอย่างเป็นขั้นเป็นตอน กฏเกณฑ์ทางการค้าภายในประเทศสมาชิก และนโยบายควบคุมทางมหภาคภายในอาเซียนกำลังหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้รับผลงานอันงดงาม การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนที่ครอบคลุมการค้าสินค้า บริการและการลงทุนกำลังดำเนินไปอย่างเอาจริงเอาจัง ตั้งแต่ปี 1992 ที่ประชุมสุดยอดของอาเซียนครั้งที่ 4 เสนอให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีเป็นต้นมา ประเทศสมาชิกของอาเซียนต่างผลักดันการค้าเสรี และยกระดับความร่วมมือ เพื่อทำให้อาเซียนมีกำลังเข้มแข็งขึ้น นอกจากนั้น แต่ละประเทศสมาชิกยั้งลดขั้นตอนการของด่านศุลกากร ส่งเสริมให้อำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุนและการให้บริการ เพื่อสร้างบรรยากาศทางธุรกิจที่ผ่อนคลาย และสะดวกยิ่งขึ้นแก่สมาชิกประเทศอาเซียน วันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนยังหารือถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนช่วงปี 2010-2011 รวมทั้งเรื่องโครงการความร่วมมือ 12 โครงการ เช่น เชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งและการคมนาคมภายในอาเซียน โดยระบุว่า จะใช้มาตรการที่จริงจัง และมีความสร้างสรรค์ ผลักดันการปฎิบัติตามโรดแมพของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ เพื่อปูพื้นฐานให้บรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เสร็จสมบูรณ์ในปี 2015 ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งนี้ยังได้กำหนดรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจไว้อย่างแน่ชัด นั่นคือ ยืนหยัดการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน และย้ำว่า การตั้งเป้าหมายการเติบโตของอาเซียน ต้องคำนึงถึงการทำให้พื้นฐานทางเศรษฐกิจทางมหภาคของอาเซียนมีเสถียรภาพ นอกจากนั้น ที่ประชุมครั้งนี้ ยังเน้นการรับมือกับการท้าทายที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ และป้องกันการท้าทายใหม่ที่เกิดจากความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากประเทศสมาชิกมีระดับการพัฒนาที่ต่างกัน ดังนั้น ในการดำเนินโครงการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต้องแบ่งขั้นตอน ยกตัวอย่างเช่น การให้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ ในบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนบางส่วน เช่น ไทย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ได้บรรลุโครงการลดภาษีให้เป็นศูนย์ในปี 2010 แล้ว แต่เวียดนาม ลาว กัมพูชาและพม่ากว่าจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้อาจจะต้องเลื่อนเวลาถึงปี 2015 ดังนั้น ที่ประชุมครั้งนี้จึงเน้นว่า การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต้องยืนหยัดการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน ต้องใช้มาตรการที่เป็นรูปธรรม และลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกด้วย