อาเซียนก้าวสู่เป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียน
  2010-11-01 17:22:12  cri

เมื่อค่ำวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 17 ที่ดำเนินการมาเป็นเวลา 3 วันปิดฉากลงที่กรุงฮานอยของเวียดนาม นอกจากการประชุมสุดยอดผู้นำ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ยังมีการเจรจาหลายครั้งระหว่างผู้นำอาเซียนและประเทศอื่นๆ

การประชุมสุดยอดผู้นำ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีประเด็นหลักว่า "จากวิสัยทัศน์ถึงการปฏิบัติ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน" โดยตั้งโครงการปฏิบัติการหลายโครงการ เพื่อบรรลุเป้าหมายประชาคมอาเซียนในปี 2015 แต่ปัญหาการพัฒนาอย่างไม่สมดุลของประเทศสมาชิกต่างๆ ของอาเซียนยังเป็นการท้าทายขนานใหญ่ต่อการสร้างประชาคมอาเซียน

ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำครั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ทบทวนผลคืบหน้าอันใหม่ของกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน ตั้งโครงการการสร้างประชาคมอาเซียนด้านเศรษฐกิจ ความปลอดภัยทางการเมือง และวัฒนธรรมทางสังคม ผู้นำที่เข้าร่วมการประชุมได้ผ่านมติเห็นชอบในเอกสารเรื่อง "แผนแม่บทการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน" เป็นต้น การปฏิบัติตามเอกสารเหล่านี้จะประกันให้บรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียนในปี 2015

แผนแม่บทดังกล่าวรวมถึงกว่า 700 โครงการ อาเซียนหวังว่า ประเทศสมาชิกและประเทศหุ้นส่วนจะเข้าร่วมโครงการเหล่านี้ด้วยการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ผู้นำประเทศอาเซียนยังตกลงที่จะจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อการเชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน เพื่อประสานงานและกำกับดูแลกระบวนการปฏิบัติตามแผนแม่บทดังกล่าว

ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งนี้ อาเซียนยังได้จัดการประชุม 10+3 กับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และจัดการประชุม 10+1 กับอาเซียน อีกทั้ง ยังได้จัดการประชุม 10+1 กับรัสเซียด้วย

การประชุมระหว่างผู้นำจีนกับอาเซียนประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม โดยสองฝ่ายได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างจีนกับอาเซียน และประกาศมาตรการ 13 ประการเพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย

นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า จีนยินดีที่จะสร้างเขตความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้ากับประเทศสมาชิกทุกประเทศในเวลา 5 ปีข้างหน้า และพยายามทำให้ยอดการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนมีมูลค่าถึง 500,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2015 นอกจากนี้ จีนจะเพิ่มทุน 17 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐให้กับกองทุนเพื่อความร่วมมือในเอเชียเป็นการเฉพาะ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค

10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ได้เข้าร่วม "ข้อตกลงพหุภาคีของข้อเสนอเชียงใหม่" ซึ่งมีความหมายสำคัญต่อความมั่นคงทางการเงินของภูมิภาค ทั้งนี้ คลังสำรองเงินตราต่างประเทศของภูมิภาคที่มียอดมูลค่าถึง 120,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐได้รับขนานนามจากบุคคลในวงการว่า เป็น "คลังโลหิตของเงินทุนเอเชีย" ขณะเดียวกัน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ กำลังพิจารณาที่จะตั้งสำนักงานศึกษาเศรษฐกิจมหภาค เพื่อประกันให้ "คลังโลหิตเงินทุนเอเชีย" ดำเนินการไปได้ด้วยดี

NL/Zhou/Ldan

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040