เมื่อเช้าตรู่วันที่ 4 พฤศจิกายนตามเวลาปักกิ่ง ธนาคารกลางสหรัฐฯประกาศนโยบายเงินตราที่ผ่อนคลายรอบที่ 2 โดยตกลงว่า ก่อนปลายเดือนมิถุนายนปี 2011 จะรับซื้อหนี้รัฐบาลระยะยาวของสหรัฐฯเป็นจำนวนเงิน 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ยังประกาศว่า จะคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับ 0-0.25% เช่นเดิม นักวิเคราะห์จากกรุงปักกิ่งเห็นว่า ทั้งนี้จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการปรับตัวของเศรษฐกิจระดับมหภาค อัตราค่าเงินหยวน การค้าต่างประเทศ และการรักษามูลค่าของเงินตราต่างประเทศ พร้อมกันนั้น ก็เป็นเงามืดหนักหนาต่ออนาคตการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
การที่ว่าผ่อนคลายอย่างจำกัดนั้น เป็นวิธีทางนโยบายเงินตราชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลางลงทุนต่อตลาดโดยตรง นักเศรษฐศาสตร์จากประเทศตะวันตกบางคนเห็นว่า การผ่อนคลายอย่างจำกัดนั้น จริงๆแล้ว เป็นคำพูดที่อ้อมค้อมเพื่อใช้ในการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องการพิมพ์ธนบัตรมาเพื่อรับซื้อหนี้ของรัฐบาลเอง
นางเฉิน เฟิ่งอิง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจโลกของสถาบันวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคปัจจุบันแห่งประเทศจีนกล่าวว่า นโยบายดังกล่าวของสหรัฐฯ ขัดแย้งกับนโยบายพื้นฐานการฟื้นฟูเงินตราของจีน และอาจจะกระทบต่อผลการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของจีน ทำให้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่คาดหมายไว้ของจีนไม่สามารถแสดงบทบาทอย่างเต็มที่
ปัจจุบัน เศรษฐกิจจีนได้เข้าสู่ระยะที่มีความมั่นคงจากการพ้นภาวะการชะลอการเติบโตเมื่อต้นปีนี้ แต่ระดับราคาสินค้ายังคงมีระดับสูง นายหลี่ เต้าขุย กรรมการคณะกรรมการนโยบายเงินตราของธนาคารกลางจีนกล่าวว่า ทั้งนี้ทำให้ผู้กำหนดนโยบายเปลี่ยนความกังวลจากการชะลอตัวของอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจมาเป็นเงินเฟ้อ
นโยบายผ่อนคลายอย่างจำกัดรอบที่ 2 ของสหรัฐฯ จะสร้างการเคลื่อนไหวของเงินอย่างมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยต่ำและการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินทุนดังกล่าวยากที่จะมีบทบาทในตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ จึงย่อมจะไหลไปยังประเทศเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพมากกว่า ทำให้เกิดการปั่นป่วนของเงินตราต่างประเทศและเกิดข้อขัดแย้งทางการค้า
หลังจากออกนโยบายดังกล่าวแล้ว มีการผลักดันให้ลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งยังผลให้องค์เศรษฐกิจใหม่เผชิญกับแรงบีบจากการที่ค่าเงินแข็งขึ้น นักวิเคราะห์เห็นว่า เงินดอลลาร์สหรัฐฯลดค่าลง องค์เศรษฐกิจใหม่จะเกิดฟองสบู่ง่ายกว่าสหรัฐฯ ส่วนสำหรับประเทศจีน จะมีผลกระทบ 2 ด้าน หนึ่งคือกดดันให้เงินหยวนขึ้นค่า สองคือสินทรัพย์จำนวนมหาศาลที่เป็นเงินตราต่างประเทศจะหดตัวลง
นักวิเคราะห์เห็นว่า ประเทศพัฒนาแล้วไม่มีโอกาสมากนักในการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงมุ่งที่จะผ่อนคลายค่าเงินเพื่อส่งเสริมการส่งออก ส่วนประเทศเศรษฐกิจใหม่เนื่องจากกลัวค่าเงินแข็งขึ้นจนทำลายเศรษฐกิจของประเทศตน จึงใช้ปฏิบัติการลดอัตราแลกเปลี่ยน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ สิ่งนี้ อาจจะเป็นการเริ่มต้นของสงครามเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(Ton/Zhou/Xu)