ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ได้ออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easingหรือ QE) รอบสอง ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้นอีก 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ก่อนปลายเดือนมิถุยายนปี 2554 เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไป ก็ได้เกิดเสียงสะท้อนอย่างมากจากทั่วโลก เยอรมนี จีน บราซิลและอีกหลายประเทศต่างวิพากษ์วิจารณ์อย่างแข็งกร้าว ด้านตลาดโลก ราคาสินค้าล็อตใหญ่ เช่น ทองคำและทรัพยากรได้พุ่งสูงขึ้น การที่สหรัฐฯ ใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจโลก และทำไมจึงเกิดเสียงสะท้อนอย่างรุนแรงจากทั่วโลก ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอได้นำปัญหาเหล่านี้ไปขอสัมภาษณ์นายติง อีฝัน นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการพัฒนาโลกของศูนย์วิจัยการพัฒนาของคณะรัฐมนตรีจีน
นายติงชี้ว่า การที่สหรัฐฯ ออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสองในขณะนี้ ความสำคัญอยู่ที่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด (Deflation) แต่สหรัฐฯ ใช้วิธีการเพิ่มสภาพคล่องของเงินตราในตลาด ด้วยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้ตลาดคาดการณ์การเกิดอัตราเงินเฟ้อได้
" เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ราคาสินค้าของตลาดมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปริมาณของเงิน ถ้าปริมาณเงินมีจำนวนมาก ราคาสินค้าก็แพงขึ้น ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ เคยออกนโยบายเงินตราที่ผ่อนคลาย แต่ไม่ได้รับผลตามที่คาดการณ์ แม้อัตราดอกเบี้ยมีระดับต่ำก็ตาม ประชาชนยังคงนิยมไปฝากเงินออมไว้กับธนาคาร จึงทำให้สหรัฐฯ ตกอยู่ในภาวะกับดักสภาพคล่อง ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้ สหรัฐฯ จึงออกนโยบายเงินตราที่ผ่อนคลายรอบสอง ไม่เพียงแต่ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เท่านั้น หากยังทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอีกด้วย ตามสภาพการณ์ทั่วไป ราคาสินค้าล็อตใหญ่ของตลาดโลกมักจะผันแปรตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ การที่ดอลล่าสหรัฐฯ อ่อนค่าลง ย่อมทำให้สินค้าล็อตใหญ่มีราคาพุ่งสูงขึ้น เยอรมนีและจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าทรัพยากรจึงต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นในการซื้อสินคาล็อตใหญ่นี้ ซึ่งมีความหมายเท่ากับว่าได้นำเข้าภาวะเงินเฟ้อ โดยไม่ได้เกิดจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศตน หากทั้งหมดเกิดจากการที่ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ดังนั้น การกระทำเช่นนี้ของสหรัฐฯ จึงก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากหลายประเทศ"
ตามความคิดเห็นของนายติง ในขณะที่บางประเทศได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อพิจารณาที่จะถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่นั้น การที่ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง เท่ากับทำให้เงินตราของประเทศเหล่านี้แข็งค่าขึ้น ทว่า หากประเทศอื่นๆ พากันทำให้เงินตราของประเทศตนอ่อนค่าลง สิ่งนี้ อาจจะก่อให้เกิดสงครามเงินตราก็ได้
ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงทำให้ราคาของทรัพยากรพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าในจีนและอีกหลายประเทศเพิ่มสูงขึ้นและเกิดภาวะเงินเฟ้อ กรณีนี้เป็นข่าวดีหรือไม่สำหรับประเทศผู้ส่งออกทรัพยากร นายติงบอกว่า คำตอบยังมีความไม่แน่นอน
"หากพิจารณษจากระยะสั้นแล้ว ราคาของทรัพยากรและพลังงานพุ่งสูงขึ้น ย่อมเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้ส่งออกทรัพยากร แต่เมื่อมองจากระยะยาวและระยะกลางแล้ว ยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ล้วนไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ในบรรดาประเทศเหล่านี้ มีบางประเทศเท่านั้นที่เศรษฐกิจมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพราะว่า เมื่อมีทรัพยากรอุดมสมบูณณ์แล้ว ผู้คนก็จะขาดแรงกระตุ้นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ในระยะยาว ประเทศเหล่านี้ก็จะกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจล้าหลัง"