สี่ประเทศเน้นต้องปฏิบัติตาม "พิธีสารเกียวโต" ต่อไป
  2010-12-08 18:00:47  cri

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีสี่ประเทศคือ จีน บราซิล อินเดียและแอฟริกาใต้ ที่อยู่ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เมืองแคนคูนเน้นว่า ต้องปฏิบัติตาม "พิธีสารเกียวโต" ต่อไป

เจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีสี่ประเทศดังกล่าวจัดประชุมแถลงข่าวเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อยืนยันจุดยืนพื้นฐานของสี่ประเทศดังกล่าวตลอดจนประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ นายไจราม ราเมศ (Jairam Ramesh )รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการป่าไม้ของอินเดียกล่าวคำปราศรัยว่า การประชุมแคนนูครั้งนี้ มีสามปัญหาที่รอมชอมไม่ได้ เขาชี้ว่า

"เราสี่ประเทศมีความเห็นว่า ปัญหาสามประการดังต่อไปนี้ไม่อาจรอมชอมได้ หนึ่ง) ต้องแสดงให้ชัดแจ้งว่า จะปฏิบัติตามพันธกรณีระยะที่สองของพิธีสารเกียวโตต่อไป สอง) เร่งให้ประเทศพัฒนาเสนอเงินช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้โดยเร็ว และสาม) สร้างระบบความร่วมมือทางเทคโนโลยี

นายเซี่ย เจิ้นหวา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติจีนในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนจีนกล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นของนายไจราม ราเมศดังกล่าว

"ประการแรก ต้องปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโตอย่างแน่วแน่ ประการที่สอง ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระยะที่สองของพิธีสารเกียวโตต่อไป สำหรับปัญหาเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้องปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโตควบคู่ไปกับการปฏิบัติตาม"อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"( United Nations Framework

Convention on Climate Change หรือ UNFCCC ) หมายความว่า ประเทศที่เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต ต้องให้คำมั่นสัญญาตามพันธกรณีระยะที่สองของพิธีสารเกียวโตด้วย

ส่วนประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมพิธีสารเกียวโตควรให้คำมั่นสัญญาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อกำหนดของโรดแมปบาหลีภายในกรอบ "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

นายเซี่ย เจิ้นหวา กล่าวว่า พิธีสารเกียวโตเคยแสดงบทบาทสำคัญมาแล้ว โดยต้องปรับปรุงให้สมบูรณยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

นายไจราม ราเมศยังชี้ว่า สหรัฐอเมริกาในฐานะเป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อันดับที่สองของโลก แต่จนถึงขณะนี้ ความพยายามในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของสหรัฐอเมริกาทำให้ผู้คนผิดหวัง เพราะว่า หากสหรัฐอเมริกาไม่เข้าร่วม ความพยายามของนานาประเทศก็จะไม่สมบูรณ์ เขากล่าวว่า

"ไม่ว่าด้วยเหตุอะไรก็ตาม เรารู้สึกผิดหวังมากต่อเป้าหมายถึงปี 2020ของสหรัฐอเมริกาในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะว่า เป้าหมายระยะกลางมีความสำคัญมาก สี่ประเทศเราเห็นว่า ควรให้สหรัฐอเมริกากลับสู่ช่องทางการเจรจาสิ่งแวดล้อมของโลก เราหวังว่า สหรัฐอเมริกาจะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และรีบดำเนินโครงการให้เงินช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยเร็วที่สุด"

NL/QI

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
UN
v การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติบรรลุร่างญัตติเกี่ยวกับการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการลดมลพิษ 2010-12-07 18:08:21
v การเจรจาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศก้าวหน้าช้า 2010-12-07 12:11:56
v จีนมีความก้าวหน้าอย่างมากในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำลังใช้ความพยายามอยู่ 2010-12-06 11:36:30
v โพลการประชุมแคนคูนระบุ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลร้ายแรง 2010-12-05 16:49:26
v เม็กซิโกวิจารณ์จุดยืนของญี่ปุ่นในการเจรจาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2010-12-05 16:27:37
v จีนยึดหลัก "ภาระหน้าที่ร่วมกัน แต่ความรับผิดชอบต่างกัน" 2010-12-04 17:17:02
v การประชุมแคนคูนจําเป็นต้องได้รับผลคืบหน้าในการลดก๊าซเรือนกระจก 2010-12-04 16:27:17
v ผู้แทนจีนเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมแคนคูนเพิ่มการหารือ 2010-12-03 16:18:59
v ญี่ปุ่นโดนวิจารณ์เพราะคัดค้านการสานต่อ "พิธีสารเกียวโต" 2010-12-02 17:19:08
v เจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติกล่าวว่า การประชุมแคนคูนจะประสบผลคืบหน้าในด้านความร่วมมือทางเทคโนโลยี 2010-12-01 19:26:00
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040