เหตุใดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในจีนจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ (1)
  2011-01-04 17:25:27  cri

ช่วงนี้ ชาวจีนที่ชอบทานแอปเปิลส่วนใหญ่หันไปทานผลไม้ราคาถูกชนิดอื่นๆ เพราะว่า ในตลาดผลไม้ ราคาแอปเปิลแพงขึ้นมาก อย่าง แอปเปิลเกรดปานกลางตกกิโลละ 10 หยวน เพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว ไม่เฉพาะแอปเปิล ราคาพืชผลการเกษตรชนิดอื่นๆ เช่น ถั่วเขียว กระเทียม ขิง ก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ปัญหาราคาสินค้าสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก

นางจัง ชวนคุณยายวัย 77 ปี ชาวปักกิ่ง บอกว่า ต้องออกจากบ้านตอน 7.15 น. เพื่อไปรอซื้ออาหารราคาถูกประจำวันที่ คาร์ฟู ซูเปอร์มาเก็ต ตอน 8 โมงเช้า แต่พอมาถึง พบว่ามีคนเข้าแถวยาวกว่า 50 คน รอซื้อของถูกเช่นเดียวกัน

นางหลี่ ซินจีน แม่บ้านวัยเกษียณ กล่าวว่า ปีที่แล้ว ราคาไข่กิโลกรัมหนึ่งจะตกอยู่ประมาณ 6.6 หยวน แต่ปีนี้ พุ่งไปถึง 9.6 หยวน และมีอีกหลายอย่างที่ราคาเปลี่ยนแปลงกันเป็นรายวัน

นายเจิง จินซิ่ว ผู้จัดการทั่วไปบริษัทจำหน่ายเนื้อไก่แห่งหนึ่งในกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า ราคาเนื้อไก่ เนื้อเป็ดตอนนี้ พุ่งขึ้นสูงมาก จากเดิมราคา 8,000 - 9,000 หยวน ต่อตัน เป็น 12,000 - 13,000 ต่อตัน ราคาเนื้อหมูก็พุ่งจาก 15,000 หยวนต่อตัน เป็นไม่ต่ำกว่า 20,000 หยวนต่อตัน ส่วนเนื้อวัวก็เช่นกัน จาก 28,000-29,000 หยวน เป็น 35,000 หยวน ต่อตัน

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนเผยผลสำรวจราคาค้าปลีกอาหารกว่า 31 รายการ ตามเมืองต่างๆ พบว่า มี 80 เปอร์เซนต์ ที่ราคาพุ่งสูงขึ้น

ส่วนสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจีนในไตรมาส 3 ปี 2010 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส โดยร่วงลงสู่ระดับ 104 จุดในไตรมาส 3 ปี 2010 จากระดับ 109 จุดในไตรมาสก่อนหน้านี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคชาวจีน 3,500 คนทั่วประเทศระบุว่า ผู้บริโภค 76% คาดว่าราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นอีกในปี 2011 เพิ่มขึ้นจากระดับ 70% ในไตรมาสก่อนหน้านี้

ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนประจำเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 4.4% สูงขึ้นจากเดือนกันยายนปี 2010 เป็นอัตราเงินเฟ้อในส่วนของผู้บริโภคที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2008 สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนหรือซีพีไอ ในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.7% ปัจจัยสำคัญที่ดันให้ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคของจีนประจำเดือนตุลาคมสูงถึง 4.4% คือ ราคาอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนปรับตัวสูงขึ้นในเมืองใหญ่ ในเวลาเดียวกันราคาที่ดินและค่าเช่าบ้านในจีนก็เพิ่มสูงตามไปด้วย

นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งเห็นว่า ภาวะเงินเฟ้อในจีนเกิดจาก ราคาอาหารที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยราคาอาหารครองสัดส่วนราว 1 ใน 3 ของดัชนีราคาผู้บริโภค ขณะที่ราคาอาหารพุ่งขึ้น 10.1% ในเดือน ต.ค. ปี 2010 ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมหมวดอาหารขยับขึ้นเพียง 1.6%

ปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาอาหารพุ่งขึ้นคือ หลายพื้นที่ในจีนเผชิญกับภัยธรรมชาติร้ายแรง พืชผลการเกษตรเสียหายหนัก และพ่อค้าคนกลางที่กักตุนสินค้าไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อหวังเก็งกำไร ช่วงนี้ หลายพื้นที่ของจีนเผชิญกับสภาพอากาศหนาวจัด หิมะตกหนัก ส่งผลให้การจราจรเป็นอัมพาต รวมทั้งพืชผลการเกษตรเสียหายอย่างหนัก

ทางหลวงในมณฑลกวางตุ้งถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ ทางการต้องใช้รถแทร็กเตอร์กำจัดหิมะออกจากพื้นผิวจราจร ส่วนที่มณฑลเจ้อเจียง ประชาชนบางพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากสายส่งกระแสไฟฟ้าชำรุด เกษตรกรต้องเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนที่พืชผลจะได้รับความเสียหาย นอกจากนี้หิมะที่ตกหนักยังสร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกรในมณฑลฝูเจี้ยน เพราะหิมะจำนวนมากที่ตกลงมาทับถมอยู่บนหลังคาโรงเรือน ทำให้โรงเรือนปลูกพืชผักพังเสียหายหลายหลัง สภาพอากาศที่หนาวจัดยังส่งผลให้น้ำทะเลเริ่มกลายเป็นน้ำแข็ง เรือประมงนับพันลำต้องจอดเทียบท่า ส่วนที่เขตมองโกเลียในอากาศหนาวจัดจนอุณหภูมิติดลบถึง 30 องศาเซลเซียส

ภัยธรรมชาติดังกล่าวทำให้ปริมาณผลผลิตการเกษตร ลดลงจากเดิม มาก ในขณะที่ ราคาพืชผลการเกษตร อาทิ โป๊ยกั้ก ข้าวโพด ถั่วเขียว ดอกไม้สด ชาผูเอ่อร์ เป็นต้น ในมณฑลกวางซี มณฑล ยูนาน มณฑล กุ้ยโจว เพิ่มขึ้นอย่าง มาก เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดน้อยลงจากปัญหาภัยธรรมชาติ และการกักตุนสินค้าของนักลงทุนเพื่อเก็งกำไร โดยราคาผักหลายชนิด เช่น มะเขือยาว มี ราคาแพงกว่าเนื้อสุกร นอกจากนี้ ราคากระเทียมในเมืองเวยไห่ เพิ่มขึ้น ประมาณ 5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2009 โดยเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 12 หยวน ซึ่งเป็นผลจากการกักตุนสินค้าและการซื้อเก็งกำไรของนักลงทุน

นอกจากปริมาณผลผลิตที่ลดลง และการเก็งกำไรของนักลงทุน แล้ว ต้นทุนในการขนส่ง ราคายาฆ่าแมลง ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น ที่เพิ่มสูงขึ้น ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาผักพุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว

สถิติจากคณะกรรมการการเกษตรมณฑลเจียงซู แสดง ว่า ราคาผักกาดขาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.9 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2009 เป็น 2.92 หยวนต่อกิโลกรัม ราคามะเขือเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2009 เป็น 3.05 หยวนต่อกิโลกรัม เนื่องจาก พ่อค้ามีสินค้าแต่ไม่จำหน่าย กักเก็บสินค้าในห้องเย็นเพื่อเก็งกำไร

ปรากฎการณ์ข้างต้นทำให้ รัฐบาลท้องถิ่น ในมณฑลต่างๆ ออกมา จัดการปราบปรามผู้ฉวยโอกาสขึ้นราคาพืชผลการเกษตรหลังเกิดภัยธรรมชาติ หรือนักลงทุนที่ใช้โอกาสดังกล่าวในการทำกำไรจากสินค้าเกษตรที่รัฐไม่ได้เข้ามาแทรกแซงหรือควบคุมราคา อาทิ หัวกระเทียม พริก อ้อย ซึ่งมักใช้วิธีการซื้อสินค้าเข้ามาในราคาต่ำและจำหน่ายออกไปในราคาสูง รวมทั้งการปล่อยข่าวปั่นราคา นอกจากนี้ ยังทำให้รัฐบาลจีนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดระบบ มาตรฐานการตั้งและประกาศราคาสินค้าเกษตรที่น่าเชื่อถือสำหรับสินค้าเกษตรในจีนใหม่ เพื่อป้องกันการปั่นราคา

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
经济
v การรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้าเป็นเป้าหมายสำคัญของนโยบายด้านเงินตราของจีน 2010-12-30 11:40:07
v วันขึ้นปีใหม่และวันตรุษจีนใกล้จะมาถึง จีนจะเพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามการกระทำที่ขึ้นราคาอย่างผิดกฎหมาย 2010-12-27 15:08:37
v วันขึ้นปีใหม่และวันตรุษจีนใกล้จะมาถึง จีนจะเพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามการกระทำที่ขึ้นราคาอย่างผิดกฎหมาย 2010-12-25 19:09:22
v ราคาบ้านใน 70 เมืองขนาดใหญ่และกลางของจีนในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา 2010-12-10 17:58:30
v จีนออกมาตรการไม่เก็บค่าผ่านทางด่วนของรถขนส่งผัก ทำให้ราคาผักลดลง 2010-12-06 17:58:07
v มาตรการปรับราคาผักให้ลดลงของจีนเริ่มได้ผล 2010-12-03 18:08:01
v ราคาผักลดลง มาตรการคุมเข้มราคาสินค้าของจีนเริ่มเห็นผล 2010-12-01 15:06:59
v จีนแสดงว่า มาตรการแทรกแซงราคาสินค้าจะไม่กระทบถึงเสรีภาพในการตั้งราคาของวิสาหกิจ 2010-12-01 12:20:05
v ราคาผลิตผลการเกษตรของจีนส่วนหนึ่งลดลง 2010-11-30 12:59:48
v นโยบายพยุงราคาสินค้าได้ผลสัมฤทธิ์ 2010-11-29 17:13:06
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040