แนวโน้มและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจจีน
  2011-01-10 14:36:47  cri

วันนี้วันที่ 10 มกราคม เพิ่งย่างเข้าสู่ปีใหม่ปี 2011 เพียง 10 วันเท่านั้น สำหรับประเทศจีน ได้เข้าสู่ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประชาชาติระยะ 5 ปีฉบับที่ 12 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2011 ถึงปี 2016 ตามแผนฯ ฉบับนี้ ความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมของจีน ตลอดจนปัญหาที่จะเผชิญในปี 2011 นั้น จุดสำคัญอยู่ที่ยับยั้งฟองสบู่ ควบคุมการลงทุน ปรับปรุงโครงสร้าง และปรับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น นายหวัง เสี่ยวกว่าง นักวิจัยจากฝ่ายปรึกษานโยบายสถาบันการบริหารแห่งชาติจีน ได้เปิดเผยถึงแนวโน้มและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนในต้นปี 2011 นี้ให้เรารับทราบค่ะ

ปี 2011 นี้ ปัจจัยแวดล้อมในการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคของจีนทั้งในและต่างประเทศล้วนค่อนข้างดี ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาจจะตึงเครียดบ้าง กลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้ง 3 ประเทศยังมีปัญหาตกค้างอยู่บ้าง ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีใหม่นี้ยังคงไม่ราบรื่น และจะเป็นแรงกดดันต่อการส่งออกของประเทศจีนด้วย แต่ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจซบเซาหรือถดถอย เป็นเพียงเติบโตช้าลงเท่านั้น แม่ว่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศจีน แต่จะไม่ร้ายแรงนัก

ในประเทศจีนเอง สิ่งแวดล้อมการพัฒนายังมีความผ่อนคลาย มีส่วนช่วยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคและปรับปรุงเศรษฐกิจจุลภาคให้ดีขึ้น ในระยะสั้น ยังคงมีแรงกดดันจากการขึ้นราคาสินค้าและนโยบายด้านการเงินของสหรัฐฯผ่อนปรน จีนจึงคงดำเนินนโยบายการเงินที่เคร่งรัดในปี 2011 โดยมิต้องสงสัย แต่การเปลี่ยนนโยบายการเงินจากสภาพผ่อนคลายในปัจจุบันให้เป็นมั่นคงนั้น ต้องการเวลาอีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะไม่ออกนโยบายที่เข้มงวดมาก นโยบายการคลังที่แข็งขันจะดำเนินไปอีกพักหนึ่ง ซึ่งมีส่วนช่วยต่อการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและปรับปรุงโครงสร้าง

ถ้าเรามองอนาคตการพัฒนาในปี 2011 ไม่ยากที่จะพบแนวโน้มและเอกลักษณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคของจีนดังต่อไปนี้

ประการแรก อัตราเติบโตของจีดีพียังคงอยู่ในระดับสูง ปีใหม่นี้ อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะลดลง แต่ยังคงอยู่อัตราสูง การส่งออกชะลอตัวและการบริโภคน้อยลงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง ในโอกาสที่เป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 พื้นที่ต่างๆมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติตามแผนฯ อาจจะทำให้การลงทุนมีการเติบโตอย่างมาก คาดว่าการลงทุนของทั้งสังคมในปี 2011 จะเพิ่มขึ้น 25%

นอกจากนี้ คาดว่ามวลรวมการผลิตภายในประเทศของจีนในปี 2011 จะทะลุ 40 ล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรก จนมากถึง 44.5 ล้านล้านหยวน โดยมีอัตราเติบโต 9.3%

ประการที่ 2 ความต้องการด้านการบริโภคและการส่งออกจะลดลงและการลงทุนจะเพิ่มขึ้น คาดว่าปี 2011 นี้ ยอดการบริโภคทางสังคมจะเพิ่มขึ้น 16.9% ซึ่งมีการชะลอตัว ปัจจัยที่ทำให้การบริโภคน้อยลงคือ ระยะเวลาการบริโภคจะยาวขึ้น ซึ่งอาจจะยืดเยื้อไปถึงปี 2013 หรือปี 2014 การบริโภครถยนต์จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ยอดการบริโภคลดลงเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีปัจจัยราคาที่อยู่อาศัยสูงเกินไป จนยับยั้งการลงทุนและการบริโภคอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนส่งผลกระทบต่อตลาดตกแต่งบ้านด้วย

ปี 2011 นี้ อัตราการเติบโตด้านการส่งออกจะลดลง คาดว่าจะอยู่ประมาณ 10%-15% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีเล็กน้อย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการชะลอตัวด้านการส่งออกคือ แรงฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกไม่เพียงพอ อัตราเติบโตของการส่งออกในปี 2010 ค่อนข้างสูง และต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น เงินหยวนขึ้นค่า การส่งออกมีการแข่งขันรุนแรงขึ้น เป็นต้น

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับการส่งออกและการบริโภคคือ การลงทุนจะมีการเติบโต การลงทุนในด้านอสังหริมทรัพย์ของสังคมในปี 2011 มีหวังจะมากถึง 28% อาจจะทะลุ 30% ด้วย

ประการที่ 3 การเติบโตของราคาสินค้าอาจจะลดลง คาดว่าปี 2011 นี้ ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคหรือดัชนีซีพีไอจะมีการลดลง ต้นปีจะมีอัตราสูงเล็กน้อย แต่ปลายปีจะลดลง มองจากภาพรวม อาจจะลดลงไปเป็น 2.5% ซึ่งเป็นอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ

ปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าลดลงมี 5 ประการ ได้แก่

1 จะปรับนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป 2 การผลิตเกินควรของบางสาขาจะทะลัทออกมาใน 2 ปีข้างหน้า ทำให้ราคาสินค้าอุตสาหกรรมจะลดลง 3 สิ่งแวดล้อมภายนอกมีความตึงเครียด ทำให้สินค้าด้านอุตสาหกรรมภายในประเทศมีแรงกดดันในการลดราคา 4 ผลิตผลการเกษตรสำคัญ เช่น ข้าวและเนื้อหมู มีความเพียงพอในการสนองตลาด อาหารและผักจะไม่ขึ้นราคาอย่างฉับพลัน 5 ในปีใหม่นี้ ในความเป็นจริง การเติบโตของการบริโภคอาจจะลดลงอีก จนกลายเป็นปัจจัยยับยั้งการขึ้นราคาสินค้า

แนวโน้มนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2011

เนื่องจากได้รับการจำกัดจากสิ่งแวดล้อมภายในและต่างประเทศ อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะชะลอลง คาดว่าจะลดจากอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ใน 30 ปีที่ผ่านมาเป็นอัตราเติบโต 8% ซึ่งคนเราก็ควรยอมรับความจริงดังกล่าว เพื่อเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนา พุ่งเป้าสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจไปที่การปรับปรุงโครงสร้าง หรือเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจ

ฉะนั้น ประเด็นสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคปี 2011 ควรอยู่ที่ยับยั้งฟองสบู่ ควบคุมการลงทุน ปรับปรุงโครงสร้าง และปรับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

มาตรการสำคัญในการยับยั้งฟองสบู่และควบคุมการลงทุนคือปรับนโยบายการเงิน โดยจะปรับจากสภาพผ่อนคลายเป็นสภาพมั่นคง การขึ้นดอกเบี้ยและและลดการปล่อยสินเชื่อเป็นวิธีสำคัญ

ส่วนการปรับปรุงโครงสร้างนั้น อาจจะซับซ้อนกว่า ซึ่งคิดว่าจะส่งเสริมในสองด้าน ด้านหนึ่ง ลดความคาดหมายในการเติบโต ปรับแนวคิดการเติบโตในระดับสูง ควรลดการพึ่งพาอาศัยยอดการส่งออกและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างบรรยากาศมหภาคที่ผ่อนคลายให้กับการปรับปรุงโครงสร้าง อีกด้านหนึ่ง ควรสร้างกลไกส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างทางยุทธศาสตร์ เร่งปรับโครงสร้างเสรษฐกิจให้เร็วขึ้น เช่น สร้างรูปแบบให้การเงินผสมกับอุตสาหกรรมการผลิต ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการผลิตก้าวหน้า เพิ่มขีดความสามารถการประดิษฐ์คิดค้นของชาติให้สูงขึ้น พัฒนากิจการด้านบริการด้วยวิธีลดภาษีและให้การสนับสนุนทางการเงิน ขยายการบริโภคด้วยทุกวิถีทาง

การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นนั้น นอกจากควรเพิ่มการลงทุนในด้านบริการสาธารณะ ยังต้องเพิ่มการปฏิรูปสังคม สร้างระบบบริการสาธารณะที่เที่ยงธรรมและสมเหตุสมผล

นายโจว เสี่ยวชวน ผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีน ซึ่งเป็นธนาคารกลางของจีนกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า จีดีพีของจีนเติบโตขึ้นประมาณ 10% ในปี 2010

เว็บไซต์ธนาคารกลางจีนเผยคำกล่าวตอนหนึ่งของนายโจว เสี่ยวชวนในระหว่างบรรยายที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งว่า ภายหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก เนื่องจากปัจจัยภายนอกยังคงส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน จึงยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจีนได้ฟื้นฟูสู่สภาพปกติแล้วหรือไม่

ขณะเดียวกัน นายจาง ผิง ประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนกล่าวว่า ปัจจุบัน หลายมณฑลของจีนกำหนดเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจสูงเกินไป โดยไม่ได้นึกถึงปัญหาทางด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากร

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ จีนได้บรรลุเป้าหมายลดการสิ้นเปลืองพลังงานต่อหน่วยจีดีพี แม้ว่าสถิติล่าสุดยังไม่ได้ประกาศออกมา แต่ได้ลดลงประมาณ 20% พื้นที่ต่างๆของจีนได้ทยอยกันประกาศเป้าหมายการเติบโตของจีดีพีในแผนฯ ฉบับที่ 12 แต่บางมณฑลในภาคตะวันออกของจีนได้ปรับลดเป้าหมายการเติบโตด้วยเหตุเปลี่ยนวิธีการผลิตแล้ว มีมณฑลจำนวนไม่น้อยตั้งเป้าหมายจะกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มจีดีพีเป็น 1 เท่าตัว

นายจาง ผิงจึงเห็นว่า มณฑลต่างๆควรพร้อมกับรัฐบาลกลาง นอกจากรักษาอัตราเติบโตแล้ว ที่สำคัญคือพิจารณาถึงขีดความสามารถในการแบกรับพลังงานและทรัพยากร ไม่ควรกำหนดเป้าหมายสูงเกินควร ไม่ควรใช้พลังงานให้หมดสิ้นไป ควรพิจารณาถึงข้อจำกัดด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม น้ำ และที่ดิน และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้เหมาะสมกับแผนฯ ฉบับที่ 12

(In/Ping)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040