เกี่ยวกับผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของจีนนั้น อ.วรศักดิ์ มหัทธโนบลระบุว่า
"ผมคิดว่าจีนในวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก คือ เมื่อเทียบกับเวลาแล้วเปลี่ยนเร็วมาก ผมอยากยกตัวอย่าง อย่างเช่น ประมาณราวๆ ปี 1991 ผมไปที่ปักกิ่ง เวลาเห็นจีนผลิตสินค้าอะไร อย่างดีไซน์การออกแบบนั้น เห็นว่าไม่ค่อนสวย พออีก 10 ปีถัดไปที่ผมไปอีกครั้ง พบว่า โอโฮ สวยมากดีมาก รวมถึงตึกรามบ้านช่อง ทั้งการออกแบบ คุณภาพของสินค้าที่มีรูปแบบที่น่าจับต้องมากขึ้น นอกจากนี้ มีความก้าวหน้าในด้านอื่นๆ คือ เร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้ ซึ่งผมคิดว่าจะเปลี่ยนได้เร็วอย่างนี้หรือเปล่า ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าเป็นการปรับตัวครั้งสำคัญของจีนที่เข้ากับระบบโลกของปัจจุบัน อยากจะแสดงความยินดีกับชาวจีนที่สถานะทางเศรษฐกิจของจีนค่อนข้างจะมีเสถียรภาพและก้างหน้าในระดับที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ"
เกี่ยวกับจีดีพีของจีน ซึ่งมีมากถึง 39.8 ล้านล้านหยวน และเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 11.2 ต่อปีตามที่นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนแถลงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 11 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2011 นั้น อ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบอกว่า
"ก็เป็นตัวเลขที่เป็นที่ประจักษุ์ของประชาคมเศรษฐกิจโลกอยู่ ตัวเลขเหล่านี้คิดว่ารัฐบาลกลางของจีนก็คงยินดีกับตัวเลขเหล่านี้ แต่ว่าในแง่ของการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะของสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่อยู่รายล้อมระบบเศรษฐกิจของจีนขณะนี้ ผมมีข้อคิดว่า รัฐบาลกลางก็คงมองเห็นเหมือนกัน เช่น การที่บอกว่าจีดีพีสูง แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มในอนาคตด้วยว่า อาจจะก้าวขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งแทนสหรัฐฯ หรือไม่ในอีก 5-10 ปีข้างหน้านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เราสามารถคาดการณ์ได้ หรืออาจจะเป็นไปได้ แต่กระนั้น ผมเองก็อยากจะเรียนว่า สภาพแวดล้อมอยู่รายล้อมระบบเศรษฐกิจจีนเนี่ย ก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ตัวเลขนี้เจริญเติบโตได้ ยกตัวอย่างเช่น อาจจะเจริญเติบโตขึ้นมาบนฐานที่ว่าจีนมีความได้เปรียบในหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องค่าแรง
เรื่องค่าแรงนี้ผมมองในทางลักษณะของทางเศรษฐศาสตร์ว่า ถ้าคงค่าแรงอย่างนี้ไป คงจะไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดีเท่าไร หรือยินดีสักเท่าไร กล่าวคือว่า จีนก็ต้องพัฒนาแรงงานของตนให้เป็นแรงงานที่มีทักศะมากขึ้น ถ้ามีทักศะมากขึ้น ค่าแรงก็จะสูงขึ้น เมื่อค่าแรงสูงขึ้น ราคาสินค้าก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งอันนี้ก็ต้องเกี่ยวกับจีดีพีว่า จะเป็นตัวเลขที่มีขนาดใหญ่อย่างนั้นหรือไม่
สภาพแวดล้อมอีกอันหนึ่งคือ ต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราก็คงจะทราบดีว่า ทางรัฐบาลเองก็วิตกกับปัญหาอยู่มากพอสมควร คือ โรงงานหลายๆ โรงงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าในส่วนกลางหรือของท้องถิ่น ก็มีต้นทุนของด้านสิ่งแวดล้อมค่อนข้างต่ำ ฉะนั้นในอนาคต ซึ่งรัฐบาลเองก็ตระหนึกถึงปัญหานี้ ก็พยายามที่จะแก้ไขปรับปรุง เมื่อแก้ไขปรับปรุงแล้วก็หมายความว่า ก็ต้องมีการลงทุนทางด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อมีการลงทุนทางด้านนี้ ต้นทุนทางด้านนี้ก็สัมพันธ์กับต้นทุนทางการผลิตนะฮะ ก็อาจจะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ซึ่ตรงนี้จะสัมพันธ์กับจีดีพีหรือไม่ นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษาติดตามต่อไป"
(IN/LING)