จีนสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  2011-03-24 18:12:58  cri
รถไฟความเร็วสูงเป็นรูปแบบการขนส่งใหม่ในสังคมยุคปัจจุบัน มีความได้เปรียบอย่างเด่นชัดในด้านความปลอดภัย ความสะดวก การประหยัดพลังงาน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังเข้าสู่ศตวรรษใหม่ เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การรถไฟจีนตัดสินใจจะมุ่งพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อขนส่งผู้โดยสารเป็นทิศทางสำคัญในการบรรลุความทันสมัย และใช้ความพยายามและคิดค้นพัฒนา รถไฟความเร็วสูงจากไม่มีจนมี โดยใช้เวลากว่า 10 ปีในการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงและปรับปรุงทางรถไฟที่มีอยู่แล้ว ปัจจุบัน จีนมีเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงที่ขนาดใหญ่สุดและความเร็วสูงสุดของโลก ปีนี้ มีรถไฟความเร็วสูงสายหลักหลายสายจะสร้างเสร็จ รวมทั้งรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ด้วย ทางรถไฟความเร็วสูงที่เปิดให้บริการโดยรวมเป็นระยะทางกว่า 13,000 กิโลเมตร

ประเทศจีนเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ไพศาล ประสบปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ยังไม่สมดุล รถไฟเป็นพาหนะสำคัญ และเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักมาโดยตลอด แต่ 20 กว่าปีที่ผ่านมา หรือในช่วงเวลาที่ยาวกว่านี้ จีนไม่ค่อยได้พัฒนารถไฟความเร็วสูง เมื่อเดือนมกราคมปี 2004 คณะรัฐมนตรีออกแผนพัฒนาเครือข่ายรถไฟของจีน นับเป็นแผนพัฒนาทางรถไฟระยะกลางและระยะยาวฉบับแรกของจีน โดยกำหนดว่า จนถึงปี 2020 จะมีทางรถไฟที่เปิดให้บริการมากถึง 100,000 กิโลเมตร ในจำนวนนี้ ทางรถไฟขนส่งผู้โดยสารที่สามารถวิ่งด้วยความเร็วกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมากกว่า 12,000 กิโลเมตร นายเหอ หวาอู่ หัวหน้าวิศวกรกระทรวงรถไฟจีนกล่าวว่า เมื่อปี 2004 การสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองกับเมืองเป็นเป้าหมายการก่อสร้างที่สำคัญในแผนพัฒนาเครือข่ายรถไฟระยะกลางกับระยะยาวฉบับแรกของจีน พอเวลาผ่านไป 4 ปี การใช้รถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองกับเมืองนั้นได้กลายเป็นความจริงแล้ว เขากล่าวว่า

"เราจะยืนหยัดนโยบายรวมพลังสร้างสรรค์ ในระยะเวลาสั้นๆ เราได้ดำเนินตามเป้าหมาย นำเข้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด หลังการคิดค้นพัฒนาแล้ว เราได้สร้างรถไฟความเร็วสูงที่มีคุณภาพเป็นอันดับหนึ่งของโลกอย่างรวดเร็ว"

เมื่อพูดถึงรถไฟความเร็วสูง ใครๆก็จะนึกถึงรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงปักกิ่งกับนครเทียนสิน ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนสุดยอด รถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงปักกิ่งกับนครเทียนสินเป็นเส้นทางรถไฟขนส่งผู้โดยสารโดยเฉพาะที่มีมาตรฐานสูงสายแรกของจีน มีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร เชื่อมโยงกรุงปักกิ่งกับนครเทียนสิน ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ 2 แห่งของจีน ทางรถไฟสายนี้ ใช้ระบบนิวไฮเทค เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 4 กรกฏาคมปี 2005 และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมปี 2007 เริ่มเดินรถวันที่ 1 สิงหาคมปี 2008 นับเป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของจีน และของโลกที่มีความเร็วเกินกว่า 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่สำคัญคือ เป็นสายแรกที่จีนวิจัยและสร้างเอง เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีนเป็นที่หนึ่งของโลก การสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงปักกิ่งและนครเซี่ยงไฮ้ให้เสร็จเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์รถไฟความเร็วสูงของจีน อดีตอธิบดีกรมขนส่งกระทรวงการรถไฟเห็นว่า ในฐานะเป็นโครงการสำคัญ กระทรวงการรถไฟได้พิจารณาหลายครั้ง สุดท้ายจึงตกลงว่าจะให้ชาวจีนสร้างทางรถไฟสายนี้เอง โดยกล่าวว่า ถ้าอาศัยการนำเข้าเทคโนโลยี เป็นไปไม่ได้ที่จะมีประเทศใดที่จะมาช่วยประเทศจีนผลิตระบบแบบนี้ ประเทศอื่นๆก็ไม่สามารถช่วยเหลือจีนออกแบบทางรถไฟความเร็วสูงที่สอดคล้องกับสภาพของจีน ทางรถไฟความเร็วสูงเป็นอุตสาหกรรมใหม่ มีข้อกำหนดสูงและมีความสำคัญต่อการผลักดันเศรษฐกิจและเพิ่มมูลค่าการผลิต ฉะนั้น ตลาดนี้เรายอมให้ประเทศอื่นไม่ได้ เราชาวจีนเองต้องใช้ความพยายามเอง"

เมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา รถไฟความเร็วสูงที่มีความเร็วเกินกว่า 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสายเจิ้งโจว-ซีอาน สายเซี่ยงไฮ้-นานกิง สายเซี่ยงไฮ้-หางโจว และรถไฟความเร็วสูงที่มีความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือ สายฝูโจว-เซี่ยเหมิน สายหนานชาง-จิ่วเจียง สายฉางชุน-จี๋หลิน สายกวางโจว-จูไห่ และสายรอบเกาะไหหลำต่างได้สร้างเสร็จและเปิดเดินรถ นอกจากนี้ สายกรุงปักกิ่ง-นครเซี่ยงไฮ้ก็เชื่อมโยงทั้งสายแล้ว และได้ทดสอบการเดินรถด้วยความเร็ว 486.1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นับเป็นความเร็วสูงสุดของโลก และเป็นป้ายบอกระยะทางใหม่ของเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีน

แหล่งข่าวแจ้งว่า จนถึงปี 2012 ระยะทางในการเดินรถไฟความเร็วสูงของจีนจะมากกว่า 1.1 แสนกิโลเมตร จะสร้างเครือข่ายการเดินทางโดยรถไฟทั้งจากเหนือสู่ใต้ ตะวันออกสู่ตะวันตก ทั้งหมด 8 สาย นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว เช่น เขตโป๋ไห่ สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียง เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตเมืองอู่ฮั่น เป็นต้น และพื้นที่ที่มีประชากรจำนวนมาก ต่างจะสร้างทางรถไฟความเร็วสูงขึ้นมา เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของจีนกำลังเปลี่ยนแปลงการคมนาคมของจีน ไม่เพียงแต่มีความได้เปรียบในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากยังสามารถส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ และกลายเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญในอนาคตของจีน นายจาง เต๋อเจียง รองนายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า

"การเร่งพัฒนารถไฟความเร็วสูงของจีนนั้น ได้ยกระดับความทันสมัยของวัสดุใหม่รถไฟจีนให้สูงขึ้น เพิ่มขีดความสามารถการขนส่งของรถไฟให้สูงขึ้น ผ่อนคลายปัญหากำลังการขนส่งมีทางรถไฟไม่เพียงพอ ขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก ขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์และวัสดุใหม่ ตลอดจนอุตสาหกรรมบริการด้วย ถ้ากล่าวในด้านเทคโนโลยีและการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ลดการใช้ที่ดิน ประหยัดพลังงาน ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ล้วนมีบทบาทสำคัญ และเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย"

การพัฒนารถไฟความเร็วสูงของจีน ไม่เพียงแต่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ ยังทำให้ชีวิตของประชาชนมีความสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกเดินทางไปท่องเที่ยว ไปเยี่ยมญาติ หรือไปเรียนที่ต่างถิ่น ผู้โดยสารบนรถไฟความเร็วสูงกล่าวว่า

"เมื่อเราร่นเวลาในการเดินทาง ก็เท่ากับว่าเรามีเวลาเที่ยวเพิ่มมากขึ้น"

"ก่อนหน้านี้นั่งรถไฟอย่างน้อยต้อง 2 ชั่วโมง เด็กๆจะไม่มีความอดทน ตอนนี้แค่ครึ่งชั่วโมง สะดวกมาก"

แหล่งข่าวแจ้งว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ การนั่งรถไฟความเร็วสูงไปท่องเที่ยวเป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนในเขตสามเหลี่ยมแม่น้ำแยงซีเกียง อุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูงของจีน จากตามหลังประเทศอื่น กลายเป็นนำหน้าประเทศอื่น นับวันมีอิทธิพลมากขึ้นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีน ซึ่งเกี่ยวข้องถึงการทำงาน การพักผ่อน การเยี่ยมญาติ และอื่นๆ มีคนกล่าวว่า จีนพัฒนารถไฟความเร็วสูง ไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนารูปแบบการคมนาคมเท่านั้น หากเป็นการสร้างอนาคตด้วย

(ข้อมูล

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานเพื่อดำเนินงานความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาจัดทำร่างข้อตกลง (MOU) ด้านรถไฟไทย-จีน โดยคาดว่า ร่าง MOU จะแล้วเสร็จช่วงต้นเดือน มกราคม ปี 2554 จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีช่วงปลายเดือนมกราคม และในเดือนกุมภาพันธ์จะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยคาดว่า กระบวนการจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการออกแบบก่อสร้างเส้นทางดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มได้ในปี 2554 แล้วเสร็จปลายปี 2558

ส่วนรายละเอียดด้านต่างๆ เช่น รูปแบบการลงทุน กระทรวงการคลังจะเป็นฝ่ายดำเนินการและพิจารณา ซึ่งเบื้องต้นทางการจีนเห็นว่าจะเป็นการลงทุนในสัดส่วน 50:50 ขณะที่การลงทุนของจีนในลาว จีนจะลงทุนร้อยละ 70 ที่เหลือลาวลงทุนอีกร้อยละ 30 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพิ่ม 2 คน คือ ผู้แทนของกระทรวงการคลัง และผู้แทนของกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากขั้นตอนของโครงการนั้นเกี่ยวข้องกับร่วมดำเนินการและลงทุนของสองประเทศ

สำหรับงบประมาณการลงทุนนั้น เป็นรถไฟความเร็วสูงแบบรางมาตรฐาน งบประมาณ เส้นทางจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 640 กิโลเมตร ซึ่งเดิมมีการประเมินวงเงินก่อสร้างสำหรับรางคู่ไว้ที่ 180,000 ล้านบาท แต่หากมีการก่อสร้างแบบรางมาตรฐานวงเงินจะลดลงร้อยละ 20-30 ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการนั้น ทั้งสองประเทศจะหารือกันอีกครั้ง)

(In/Ping)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040