ตําบลหงไป๋ เมืองสื่อฝ่าง มณฑลเสฉวนที่ตั้งอยู่ในเขตภูเขา เป็นตําบลแห่งเดียวที่ใช้ชื่อสีมาเป็นชื่อ เนื่องจากที่นี่เป็นแหล่งผลิตชาต้มชื่อ"ชาหงไป๋" และในตําบลมีสลานสีแดงและงานสีขาวที่เพื่อบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ จึงได้ชื่อว่าตําบลหงไป๋
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมปีื 2551 เวิ่นชวนซึ่งตั้งห่างจากตําบลหงไป๋หนึ่งภูเขาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว จึงประสบความเสียหายอย่างร้ายแรง สิ่งก่อสร้างพังทลายไปหมด ประชากรกว่า 70,000 คนในตําบลหงไป๋ประสบเคราะห์ร้ายหรือหายสาบสูญ 1,151 คน หลังแผ่นดินไหวสงบแล้ว ตามนโยบายก่อสร้างและฟื้นฟูใหม่ของรัฐบาล ตําบลหงไป๋ได้รับการช่วยเหลือจากกรุงปักกิ่ง
นายหลี่ เต๋อลี่ ผู้ว่าการตําบลหงไป๋เล่าถึงประสบการณ์การกู้ภัยในแผ่นดินไหวให้ฟังว่า พื้นที่ก่อสร้างใหม่ใหญ่เป็น 3 เท่าของเมื่อก่อน คนที่อาศัยอยู่ในภูเขาจํานวนมากต้องอพยพลงมาอยู่ในตําบลหงไป๋ เขากล่าวว่า
"การก่อสร้างเน้นให้เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ ระหว่างกระบวนการต่างๆ เราหลีกเลี่ยงภูมิประเทศที่เสี่ยงภัยและสถานที่ที่อาจเกิดนํ้าป่าไหลหลากลงมาจากภูเขา หลังเหตุแผ่นดินไหวแล้ว ประชากรจํานวนกว่า 1,000 คนจากเขตภูเขาอพยพมาตําบลหงไป๋เพื่อให้พ้นจากภูมิประเทศที่เสี่ยงภัย ตําบลหงไป๋ก่อสร้างขึ้นในพื้นที่เดิม แต่ขยายจาก 0.75 ตารางกิโลเมตรเป็น 2 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็น 3 เท่าของพื้นที่เดิมก่อนเกิดแผ่นดินไหว อีกทั้งมีการก่อสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงานนํ้าประปาและโรงงานบําบัดนํ้าเสียขึ้นก่อน ซึ่งกรุงปักกิ่งเป็นผู้จัดงบประมาณช่วยเหลือจํานวน 180 ล้านหยวน"
ที่ถนนสายเล็กๆ ใกล้กับโรงเรียนประถม มีร้านขายของขนาดย่อม เจ้าของร้านเป็นสตรีแซ่หลิว บ้านพักของครอบครัวเธอก่อสร้างขึ้นใหม่ด้วยเงินชดเชยของรัฐบาล เธอกล่าวว่า หากไม่มีนโยบายของรัฐบาล เธอคงไม่สามารถสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่เช่นนี้ได้
"บ้านหลังนี้ของดิฉัน รัฐบาลให้เงินชดเชยกว่า 30,000 หยวน รวมค่าอื่นๆ แล้วได้ทั้งหมด 50,000 หยวน หากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือ ครอบครัวเราคงไม่สามารถสร้างบ้านหลังนี้ได้ เพราะญาติพี่น้องต่างก็ประสบเคราะห์เช่นกัน แม้แต่ที่ยืมเงินก็ไม่มี บ้านหลังนี้สร้างเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว พวกเราได้อาศัยและขายของอยู่ที่นี่"
เมื่อบ้านพักก่อสร้างเสร็จแล้ว ประชาชนที่อพยพจากเขตภูเขาจะประกอบอาชีพอะไร ตําบลหงไป๋จะพัฒนาต่อไปอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สําหรับเรื่องนี้ นายหลี่ เต๋อลี่เห็นว่า การมีบ้านอาศัยเป็นเพียงก้าวแรก ขั้นตอนต่อไปคือให้ผู้คนทั้งหลายมีฐานะดีขึ้น ส่วนวิธีการก็คือต้องเปลี่ยนรูปแบบการดํารงชีวิต ก่อนเกิดแผ่นดินไหว ตําบลหงไป๋เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ชาวท้องถิ่นจัดการท่องเที่ยวแบบบ้านเกษตรกรรมแบบโฮมสเตย์มาก่อน นายหลี่ เต๋อลี่เห็นว่า การปลูกพืชเศรษฐกิจและการพัฒนาการท่องเที่ยเชิงนิเวศวิทยาเป็นวิธีการที่ดี เขากล่าวว่า
"เราเตรียมพัฒนากิจการท่องเที่ยวโดยรอบภูเขา และปลูกพืชที่มีเอกลักษณ์พิเศษ นอกจากนี้ เราเตรียมนําเข้าไก่บ้าน และปลานํ้าเย็นมาเพาะเลี้ยง เพราะตําบลหงไป๋ก็อยู่ในเขตภูเขาสูง และคุณภาพนํ้าดีมาก เราอยากจะพัฒนากิจการท่องเที่ยวให้สอดคล้องไปกับกิจวัตรที่มีมาช้านานของเรา และค่อยๆ พัฒนาให้ีดีขึ้นต่อไปเรื่อยๆ "
(Ton/zheng)