สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ธนาคารกสิกรไทย เครือเดอะเนชั่น และหนังสือพิมพ์ "ไชน่า เดลี่" ร่วมกันจัดการสัมมนาทางวิชาการที่กรุงเทพฯ ในประเด็น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีนฉบับ 12 จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของไทยและอาเซียนอย่างไร เพื่อแสวงหาโอกาสการพัฒนา และขยายช่องทางการค้าและการลงทุนให้กว้างขึ้น
ปีนี้เป็นปีแรกที่จีนดำเนินแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับ 12 และเป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนฉันท์มิตรจีน-อาเซียน ความร่วมมือในอนุภูมิภาคอ่าวเป่ยปู้ ซึ่งเป็นเสมือนสะพานเชื่อมจีน-อาเซียนทางทะเลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าจีน-อาเซียนให้ลึกยิ่งขึ้น และสร้างโอกาสการพัฒนาภายใต้กรอบเขตการค้าเสรี จีน-อาเซียน
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในการสัมมนาถอดรหัสแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจีน ฉบับที่ 12 : สู่อนุภูมิภาคอ่าวเป่ยปู้ ว่า เมื่อจีน-อาเซียนมีการผสมผสานกันมากขึ้น การรับรู้แนวทางการพัฒนาของจีนจะมีส่วนช่วยให้บริษัทและหน่วยงานกำหนดนโยบายของไทยวางแผนพัฒนาและกุมโอกาสต่างๆ ได้ดีขึ้น เขายังกล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดรหัสแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน และสร้างโอกาสการค้า การลงทุนและความร่วมมือมากขึ้นให้แก่นักธุรกิจทั้งสองประเทศ ในขณะเดียวกัน การถอดรหัสนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนอย่างถูกต้องนั้นยังมีส่วนช่วยให้นักธุรกิจไทยเตรียมตัวรับนักลงทุนจีนที่จะมาลงทุนในไทย
นายหลี่ จี๋ผิง รองประธานธนาคารบุกเบิกพัฒนาแห่งชาติจีน(China Development Bank) กล่าวว่า ขณะนี้ ความร่วมมือด้านการเงินระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ยังอยู่ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น จึงได้เสนอข้อเสนอ 4 ประการดังนี้
ประการแรก เสริมความร่วมมือด้านการเงินmujสำคัญ สถาบันการเงินในภูมิภาคนี้ต้องกระชับความร่วมมือให้แน่นแฟ้นขึ้น ให้การสนับสนุนเงินทุนที่มีประสิทธิภาพสูงและมั่นคงต่อการดำเนินโครงการต่างๆ ประการที่สอง ขยายงบบัญชี และการกู้ยืมด้วยสกุลเงินของประเทศในภูมิภาคนี้ให้กว้างขึ้น การดำเนินการเช่นนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิผล ลดการพึ่งอาศัยตระกูลเงินของฝ่ายที่ 3 ให้น้อยลง ส่งเสริมความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ประการที่ 3 ต้องมีการคิดค้นใหม่ทางการเงินให้มากขึ้น โดยมีการบุกเบิกพัฒนาเครื่องมือและผลิตภัณฑ์การเงินที่สอดคล้องกับลักษณะของภูมิภาคนี้ เพื่อเสนอบริการด้านการเงินที่มีความหลากหลายและเหมาะสมให้แก่โครงการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า และประการที่ 4 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ร่วมกันอบรมบุคลากร และมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรมากขึ้น
ส่วนนาย สวี่ หนิงหนิง เลขาธิการ สภาการค้าจีน-อาเซียนที่เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้แสดงความมั่นใจว่า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าจีน-อาเซียนในปีนี้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว เขาเน้นว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 ของหลายมณฑลในจีนมีการระบุว่า จะกระชับความร่วมมือกับอาเซียน ซึ่งหมายความว่า หลายๆ พื้นที่ในจีนให้ความสนใจกับอาเซียนมาก นาย สวี่ หนิงหนิง ยังได้เสนอข้อเสนอหลายประการต่อการพัฒนาความร่วมมือที่มีลักษณะลงลึกในทุกด้าน และเอื้อประโยชน์แก่กันระหว่างจีน-อาเซียน โดยเฉพาะจีน-ไทยดังนี้ ประการแรก ดำเนินตามแผนปฏิบัติการ 5 ปี ฉบับที่ 2 ของจีน-อาเซียนอย่างจริงจัง แผนปฏิบัติการนี้ครอบคุมทุกด้านและเป็นระบบ จึงเสนอให้จีน-ไทยร่วมกันใช้ความพยายามในการดำเนินตามแผนปฏิบัติการนี้ให้ดี ประการที่สอง จีน-อาเซียน โดยเฉพาะจีน-ไทยต้องให้ทุกสาขามีการประสาน ความร่วมมือกัน สุดท้าย นักธุรกิจอาเซียนต้องพัฒนาทักษะให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อบุกเบิกตลาดจีน
(IN/cai)