วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ธนาคารโลกประกาศรายงานว่า เนื่องจากราคาอาหารของโลกผันผวนและสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศยากจนที่สุด
ธนาคารโลกเห็นว่า ปัจจัยที่ทำให้ราคาอาหารผันผวนคือการเติบโตของประชากร การเปลี่ยนแปลงความเคยชินในการบริโภคอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างราคาอาหารกับพลังงานใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นและการเติบโตของผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพ ปัจจุบัน ประชากรโลกมีถึง 7,000 ล้านคน ประชาคมโลกควรออกมาตรการเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร นายโรเบิร์ท โซลลิค ประธานธนาคารโลกเรียกร้องให้กลุ่มจี 20 ให้ความสำคัญกับปัญหาอาหารเป็นอันดับแรก
In/kt