เดิมฟิลิปปินส์หมายจะเรียกประเทศอาเซียนมารวมหัวกันแก้ปัญหาทะเลใต้ โดยอาศัยฐานะที่เป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน แต่ความมุ่งหมายนี้ได้รับการวิำพากษ์วิจารณ์จากหลายประเทศอาเซียน โดยย้ำว่า"ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีฝ่ายต่างๆ ในทะเลใต้"เป็นเอกสารสำคัญที่ร่วมกันลงนามโดยอาเซียนกับจีน
สาเหตุที่อาเซียนสามารถมองสถานการณ์ได้อย่างชัดเจนคือ หนึ่ง ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีนมีพื้นฐานหนาแน่น โดยเฉพาะตลอดเวลากว่า 20 ปีหลังจากสองฝ่ายสร้างความสัมพันธ์แบบคู่เจรจาเป็นต้นมา มิตรภาพและความร่วมมือฉันประเทศเพื่อนบ้านได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน ได้สร้างผลประโยชน์มหาศาลให้แก่ประชาชนของจีนและอาเซียน สอง ผู้มีวิจารณญาณในประเทศอาเซียนมองว่า การที่สหรัฐฯ ก้าวก่ายปัญหาทะเลใต้ก็เพื่อสร้างความแตกแยกระหว่างจีนกับประเทศอาเซียน ทำให้สถานการณ์ของภูมิภาคตกอยู่ในภาวะตึงเครียด จะได้ฉวยโอกาสนี้หาผลประโยชน์ให้กับตนเอง
แต่สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในภาวะโดดเดี่ยวคือ การกระทำของฟิลิปปินส์ได้ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักการเกี่ยวกับการแก้ไขกรณีพิพาทด้วยสันติวิธี ซึ่งกำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ อีกทั้งฝ่าืฝืนเจตนารมณ์ของ"ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีฝ่ายต่างๆ ในทะเลใต้"และสวนทางกับความปรารถนาของประชาชนในภูมิภาคที่มุ่งหาสันติภาพ ความมั่นคงและการพัฒนา
เมื่อปี 2002 จีนกับประเทศอาเซียนร่วมกันลงนามใน"ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีฝ่ายต่างๆ ในทะเลใต้"โดยย้ำควรแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับดินแดนระหว่างจีนกับบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสันติวิธี และฝ่ายต่างๆ ควรรักษาความยับยั้งชั่งใจ เพื่อไม่ให้ปัญหาทวีความสลับซับซ้อนและบานปลาย อีกทั้งย้ำว่าไม่ควรแก้ปัญหาด้วยกำลังอาวุธหรือขู่ว่าจะใช้กำลังอาวุธ การกระทำเชิงท้ารบของฟิลิปปินส์ในน่านน้ำทะเลใต้ เป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของปฏิญญาดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด จึงไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียน และย่อมตกอยู่ในภาวะโดดเดี่ยวอย่างแน่นอน