ในที่ประชุมระดับผู้ว่าการธนาคารส่วนกลางและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังระหว่างอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ครั้งที่ 15 ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ บรรดาผู้แทนเข้าร่วมการประชุมได้อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือทางการเงินส่วนภูมิภาคและสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคของเอเชียตะวันออก และเห็นชอบจะขยายขนาดกลไกแบบพหุภาคีของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายความมั่นคงทางการเงินให้มากยิ่งขึ้น ตามเนื้อหาของมาตรการที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายต่างๆ จะขยายขนาดกลไกแบบพหุภาคีของมาตรการเชียงใหม่เพิ่มขึ้น 1 เท่าคิดเป็น 240,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะลดภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเงื่อนไขขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศให้น้อยลง บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมมีความเห็นพ้องกันว่า การกระทำดังกล่าวนี้จะส่งเสริมเครือข่ายความมั่นคงทางการเงินส่วนภูมิภาค เป็นหลักประกันเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ในการประกาศแถลงการณ์ร่วมกันหลังประชุมบรรดาผู้แทนเชื่อมั่นว่า ข้อตกลงของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่จะเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งที่จะส่งเสริมเครือข่ายความมั่นคงทางการเงิน ส่งเสริมให้ภูมิภาคพัฒนาอย่างยั่งยืน บรรดาผู้แทนต่างเห็นว่า ความไม่แน่นอนของวิกฤตหนี้สินเงินยูโร แรงกดดันจากเงินเฟ้อต่อเนื่องจากราคาน้ำมันสูง ตลอดจนความหมุนเวียนของต้นทุนระยะสั้นภายในและนอกภูมิภาค ต่างก็เป็นความเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจและการส่งออกต้องเผชิญหน้าต่อไป
เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2000 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของประเทศอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ได้ลงนามในมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการหมุนเวียนระยะสั้นและรายรับรายจ่ายระหว่างประเทศ เพื่อสนองความต้องการของฝ่ายต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น ต่อมาในเดือนมีนาคมปี 2010 ข้อตกลงแบบพหุภาคีของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ได้เริ่มประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ทำให้คลังเงินสำรองต่างประเทศของเอเชียตะวันออกที่มีขนาดกว่า 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้เป็นรูปร่างขึ้น
(Ying/zheng)