การพัฒนาความสัมพันธ์จีน-อาเซียนเน้นดำเนินโครงการเชื่อมต่อ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 17 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2010 ได้ผ่าน "แผนแม่บทการเชื่อมต่ออาเซียน" ซึ่งนับเป็นมาตรการสำคัญที่จะนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 การปฏิบัติตามแผนแม่บทนี้จึงเป็นสิ่งที่อาเซียนให้ความสำคัญมาก เพราะเรื่องนี้เกี่ยวพันถึงการแสดงบทบาทที่เป็นแกนนำในความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ เกี่ยวพันถึงเสถียรภาพ ความสามัคคี และการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค และเกี่ยวพันถึงความมุ่งมั่นของอาเซียนที่จะมีบทบาทในกิจการระหว่างประเทศมากขึ้น ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ ผู้นำจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนย้ำในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมปี 2011 ว่า ต้องพยายามประสานงานกัน ใช้ปฏิบัติการที่เป็นจริงเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ระบุไว้ในแผนแม่บทเชื่อมต่ออาเซียน
จีนและประเทศอาเซียนมีดินแดนและน่านน้ำเชื่อมต่อกัน ปีหลังๆ นี้ ผู้นำทั้งสองฝ่ายย้ำครั้งแล้วครั้งอีกว่า การเชื่อต่อเป็นเรื่องที่จะดำเนินการก่อนในความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวขณะพบปะกับดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนเมื่อเดือนเมษายนปี 2011 ว่า "จีนยินดีร่วมกับอาเซียนใช้ความพยายาม เพื่อขับเคลื่อนโครงการเชื่อมต่อต่างๆ ส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างสองฝ่าย " นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนยังกล่าวในที่ประชุมสุดยอดผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ 14 และที่ประชุมเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีแห่งการสร้างความสัมพันธ์คู่เจรจาระหว่างจีน-อาเซียนที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2011 ว่า จีนจะเพิ่มการปล่อยสินเชื่อ 10,000 ล้านดลอลลาร์สหรัฐเพื่อให้ประเทศอาเซียนนำไปใช้ในการดำเนินโครงการเชื่อมต่อ ก่อนหน้านี้ จีนได้ตกลงจะปล่อยสินเชื่อ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐให้อาเซียนนำไปใช้ในด้านนี้แล้ว
การเชื่อมต่อระหว่างจีน-อาเซียนไม่เพียงแต่เป็นการเชื่อมต่อด้านสาธารณะประโยชน์ และการคมนาคมขนส่งเท่านั้น หากยังรวมไปถึงการเชื่อมต่อด้านนโยบายการเปิดตลาด สาขาอาชีพต่างๆ ดังนั้น จึงเป็นการเชื่อมต่อที่มีลักษณะรอบด้าน และระดับลึก
นอกจากการเชื่อมต่อจีนกับอาเซียน ปีหลังๆ นี้ การพัฒนาสีเขียวเติมพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่ความร่วมมือระหว่างจีน-อาเซียน นายหลี่กันเจี๋ย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอนุรักษ์สภาพแวดล้อมจีนกล่าวว่า จีนและประเทศอาเซียนมีภูเขาและลำน้ำติดต่อกัน เราต่างเป็นประเทศกำลังพัฒนา เผชิญกับปัญหาด้านสภาพแวดล้อมจากการพัฒนาอุตสาหกรรม การผลักดันการประสานงานกัน การรวมตัวกันด้านเศรษฐกิจ สังคม เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคนี้จึงเป็นแนวทางสำคัญในการดำเนินความร่วมมือระหว่างจีน-อาเซียน นายคาร์เม รองเลขาธิการอาเซียนกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า กระบวนการความเป็นอุตสาหกรรมของประเทศอาเซียนในช่วงที่ผ่านมาได้ทำลายสภาพแวดล้อมในระดับหนึ่ง ปัจจุบัน อาเซียนได้ตระหนักถึงความอันตรายจากการนี้ จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนา เพื่อให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน อาเซียนสนับสนุนความร่วมมือด้านสภาพแวดล้อมระหว่าง จีน-อาเซียน หวังว่าจะกระชับความร่วมมือด้านนโยบาย และเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ส่วนทางด้านจีน นายเวินเจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวในที่ประชุมสุดยอดผู้นำ จีน-อาเซียนครั้งที่ 14 ว่า จีนยินดีที่จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยน และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสีเขียว การประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม การใช้พลังงานใหม่ พลังงานหมุนเวียน ระหว่าง จีน-อาเซียนให้มากยิ่งขึ้น