ผู้เชี่ยวชาญจีนระบุ การกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำล้านช้างส่งผลกระทบต่อประเทศที่อยู่ปลายน้ำไม่มาก
  2012-05-23 13:02:20  cri

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอรายงานว่า สำหรับความคิดเห็นที่ว่าการกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำล้านช้างอาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศที่อยู่ปลายน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศในลุ่มแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขง) สนใจเป็นอย่างยิ่งนั้น นายหม่า หงฉี สมาชิกสภาวิศวกรรมแห่งประเทศจีน หัวหน้าที่ปรึกษาบริษัทหัวเหนิงแม่น้ำล้านช้าง ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ไม่ว่าดูจากแง่ปริมาณและคุณภาพน้ำ หรือการอนุรักษ์ระบบนิเวศ การกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำล้านช้างซึ่งอยู่ต้นน้ำนั้น ส่งผลกระทบต่อประเทศที่อยู่ปลายน้ำไม่มาก นอกจากนี้ สถานีกำเนิดไฟฟ้าที่อยู่ต้นน้ำเช่นนี้ยังใช้มาตรการกักเก็บแบ่งน้ำไว้บางช่วงด้วย ซึ่งมีส่วนช่วยประเทศที่อยู่ปลายน้ำบรรเทาภัยแล้งและภัยน้ำท่วม

นายหม่า หงฉีระบุว่า ประการแรก กล่าวในแง่ของปริมาณน้ำ การกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำล้านช้างส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำตอนปลายแม่น้ำไม่มาก เขาระบุว่า

"ปริมาณน้ำของแม่น้ำล้านช้างตอนไหลออกจากจีนสู่ต่างประเทศปีหนึ่งมีประมาณ 60,000 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 15 ของยอดปริมาณน้ำทั้งปีของลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ดังนั้น การกักเก็บน้ำในแม่น้ำช้านล้างตอนต้น จึงมีผลกระทบต่อยอดปริมาณน้ำของประเทศที่อยู่ปลายน้ำเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ขณะนี้เราเพียงแต่กักเก็บน้ำเพื่อนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น ส่วนการผลิตไฟฟ้าก็ไม่สิ้นเปลืองน้ำแม้หยดเดียว และไม่ก่อมลพิษในน้ำแม้แต่เพียงน้อยนิด เพียงแต่เปลี่ยนปริมาณการปันน้ำตามไตรมาสในรอบปีเท่านั้น"

เนื่องจากสถานีกำเนิดไฟฟ้าตอนต้นน้ำใช้มาตรการกักเก็บน้ำแบบแบ่งช่วงอย่างถูกต้อง โดยในแต่ละปีจะมีการกักเก็บน้ำในช่วงน้ำหลากและปล่อยน้ำมากขึ้นในช่วงขาดแคลนน้ำ จึงได้สร้างหลักประกันให้ปริมาณน้ำตอนปลายมีปริมาณเพียงพอ และช่วยให้ประเทศที่อยู่ปลายน้ำบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งและภัยน้ำท่วมไปในตัวด้วย

สำหรับเรื่องการอนุรักษ์ระบบนิเวศ เช่น เรื่องดินทรายและการอนุรักษ์สัตว์ประเภทปลา ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้คนสนใจอย่างมากนั้น สถานีกำเนิดไฟฟ้าในต้นน้ำก็ได้ใช้เทคโนโลยีทันสมัยหลายประการ เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด นายหม่า หงฉีระบุว่า

"หลังจากใช้มาตรการการคืนผืนนาเป็นผืนป่าในบริเวณลุ่มแม่น้ำล้านช้างตลอดสายเป็นต้นมา ปริมาณดินทรายก็มีน้อยมาก ส่วนบริเวณตอนปลายแม่น้ำโขงเป็นแหล่งผลิตทรายขนาดใหญ่ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะทรายที่อยู่ฝั่งเขื่อนของเราจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ราบที่เกิดจากกระแสน้ำพัดพาและทับถมของประเทศที่อยู่ปลายน้ำ ส่วนผลกระทบต่อปลานั้น จีนใช้มาตรการต่างๆ เช่น การสร้างสถานีเพาะและปล่อยพันธุ์ปลา จับปลาตอนต้นแม่น้ำด้วยตาข่ายชนิดพิเศษ แล้วขนส่งข้ามเขื่อนและปล่อยลงน้ำใหม่ ซึ่งได้อนุรักษ์ระบบนิเวศของแม่น้ำล้านช้างตอนปลายอย่างมีประสิทธิผล"

(TON/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
环保
v เส้นทางคมนาคมจากจีนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้สร้างเสร็จเบื้องต้น 2012-05-22 12:34:23
v สถานการณ์การขนส่งทางเรือระหว่างประเทศตามแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเกิดขึ้นแล้ว 2011-08-14 15:33:37
v จีนลดผลกระทบต่อระดับน้ำแม่น้ำล้านช้างช่วงสู่ต่างประเทศ 2011-05-24 12:52:59
v จีนระบุ มีการคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อประเทศในตอนปลายของแม่น้ำขณะสร้างเขื่อนตามแม่น้ำระหว่างประเทศ 2011-03-30 15:06:39
v การขนส่งผู้โดยสารทางเรือตามลุ่มแม่นํ้าล้านช้าง-แม่นํ้าโขงเพิ่มมากขึ้น 2011-03-07 12:01:08
v จีนตระหนักถึงประเทศที่อยู่ลุ่มแม่น้ำล้านช้างตอนปลายอย่างเต็มที่ในกระบวนการบุกเบิกทรัพยากรน้ำ 2010-11-18 18:56:03
v จีนเสนอข้อมูลด้านอุทกวิทยาของแม่น้ำล้านช้างแก่ประเทศตอนล่างแม่น้ำโขง 2010-03-31 19:18:01
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040