รัฐบาลพม่าประกาศภาวะฉุกเฉินในรัฐยะไข่
  2012-06-11 17:00:48  cri

วันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีของพม่าลงนามคำสั่ง ประกาศภาวะฉุกเฉินในรัฐยะไข่ โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนาม ค่ำวันเดียวกัน เขายังกล่าวคำปราศรัยผ่านสถานีวิทยุ และสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ โดยเรียกร้องให้มวลชน องค์กรศาสนา พรรคการเมือง และองค์กรจัดตั้งทางสังคมร่วมมือกับรัฐบาล ร่วมกันรักษาเสถียรภาพและความสงบสุข เขากล่าวว่า หากไม่ใช้มาตรการใดๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ความรุนแรงอาจบานปลายไปยังพื้นที่อื่นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคง การพัฒนา และกระบวนการความเป็นประชาธิปไตยของประเทศชาติ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลพม่าประกาศใช้คำสั่งเคอร์ฟิวในหลายพื้นที่รวมถึงรัฐยะไข่ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้การปะทะระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมบานปลาย คำสั่งเคอร์ฟิวระบุว่า ห้ามชาวบ้านออกนอก เคหสถานยามวิกาลระหว่างเวลา 18.00.-06.00น.ของวันรุ่งขึ้น ตามเวลาท้องถิ่น ห้ามชาวบ้านจำนวนมากกว่า 5 คนชุมนุมกันตามสถานที่สาธารณะในเวลากลางวัน

ทางการพม่าเผยว่า เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในเมืองมิงตอ และเมืองบูตีต่อง ในรัฐยะไข่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บ 23 คน บ้านเรือน 508 หลังคาเรือนถูกจุดไฟเผา มัสยิด 1 แห่ง และร้านค้า 19 แห่งถูกทำลาย หนังสือพิมพ์ของพม่ารายงานวันที่ 9 มิถุนายนนี้ว่า คนร้ายกว่า 1,000 คนโจมตีธนาคาร 1 แห่ง และทำลายบ้านเรือนหนึ่งหลังในพื้นที่ จากนั้น คนร้ายยังจุดไฟเผาร้านค้าและร้านอาหารหลายแห่งในบริเวณเดียวกัน ไฟลุกไหม้บ้านเรือนหลายหลังคาเรือนในบริเวณนั้น ค่ำวันเดียวกัน คนร้ายยังโจมตีโรงพยาบาลประชาชนเมืองมองตอ จากนั้น รัฐบาลประกาศคำสั่งเคอร์ฟิวในพื้นที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบ เพื่อควบคุมสถานการณ์ไว้ให้ได้

สื่อมวลชนเห็นว่า สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุการณ์จลาจลดังกล่าวคือ เมื่อเร็วๆ นี้ เกิดคดีฆาตกรรมสองคดี ทำให้ความขัดแย้งระหว่างชนชาติ และศาสนาในพื้นที่ดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น

พม่าเป็นประเทศมีหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งประเทศมี 135 กลุ่มชาติพันธุ์ รัฐยะไข่ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของพม่า ประชากรในรัฐยะไข่ส่วนใหญ่เป็นชาวยะไข่ และชาวพม่า ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ เนื่องจากทางภาคเหนือของรัฐยะไข่มีพรมแดนติดกับประเทศบังกลาเทศ รัฐยะไข่จึงเป็นชุมชนของชาวมุสลิมด้วย ในช่วงระยะเวลายาวนานที่ผ่านมา ชาวพุทธและชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ใน รัฐยะไข่มีความขัดแย้งและไม่ลงรอยกัน ประชากรชาวมุสลิมมีเพียง 4% ของประชากรทั้งหมดในพม่า ส่วนประชากรส่วนใหญ่ของพม่าเป็นชาวพุทธ ด้วยเหตุนี้ ชาวมุสลิมจึงมักถูกมองว่าเป็นผู้อพยพที่มาจากต่างประเทศ

(YING/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
东盟
v รัฐมนตรีช่วยว่าการ 2 คนจากสองกระทรวงของเมียนมาร์จะลาจากตำแหน่ง 2012-06-07 14:08:52
v พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ยกเลิกการเยือนไทย 2012-06-05 15:54:25
v เมียนมาร์ดำเนินการให้ Visa on Arrival สำหรับบางประเทศและเขตแคว้น 2012-06-04 16:46:24
v นางออง ซาน ซู จีกลับเมียนมาร์อย่างราบรื่นหลังจากเสร็จสิ้นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกในช่วง 24 ปีที่ผ่านมา 2012-06-04 11:46:03
v นางอองซาน ซูจี เยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยที่จังหวัดตาก 2012-06-03 16:05:53
v เหตุใดนางอองซาน ซูจี จึงเลือกเยือนไทยเป็นประเทศแรกในช่วง 24 ปีที่ผ่านมา 2012-05-31 15:51:11
v นายกรัฐมนตรีอินเดียเยือนเมียนมาร์ครั้งแรกในรอบ 25 ปี 2012-05-28 15:30:37
v นางออง ซาน ซูจี เตรียมเดินทางเยือนไทย นับเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกในรอบ 24 ปีที่ผ่านมา 2012-05-25 12:46:53
v ญี่ปุ่นกับพม่าจัดเจรจาการลงทุน 2012-05-22 16:48:23
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040