สาเหตุสำคัญที่ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รักษานโยบายการเงินที่ผ่อนปรน ก็เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ในเขตเงินยูโร ซึ่งนับวันรุนแรงขึ้นในระยะหลังๆ นี้ นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งทั่วไปรอบ 2 ของกรีซในวันที่ 17 มิถุนายนนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินว่า กรีซจะอยู่ในเขตเงินยูโรต่อหรือไม่ ขณะที่สูตรการแก้ไขปัญหาธนาคารสเปนก็อาจจะทำให้ตลาดการเงินและการลงทุนเกิดความปั่นป่วนอย่างกว้างขวาง
รายงานธนาคารโลกฉบับวันที่ 12 มิถุนายนนี้ระบุว่า เมื่อวิกฤตหนี้ยุโรปทวีความร้ายแรงยิ่งขึ้น ประเทศกำลังพัฒนาควรสู้อย่างเต็มกำลังความสามารถ ทั้งภาวะการขาดแคลนแรงกระตุ้นที่จะเติบโตและ "ช่วงยากลำบาก" เนื่องจากตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกามีอุปสงค์ลดลง และเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตช้าลง ซึ่งเป็นภัยใหญ่ต่อเศรษฐกิจของประเทศภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผู้พึ่งพาการส่งออก ดังนั้น ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในปี 2012 จะปรับลดลงเป็นร้อยละ 5.3 จากร้อยละ 6.1 ในปี 2011
ธนาคารโลกเตือนว่า ประเทศกำลังพัฒนาควรลดหนี้สินระยะสั้นให้น้อยลง ตัดตัวเลขแดงงบประมาณรายจ่าย และหันมาใช้จุดยืนนโยบายการเงินที่มีลักษณะเป็นกลางมากขึ้น เช่นนี้แล้วจึงจะสามารถใช้นโยบายที่เปิดกว้างทันทีในยามจำเป็นได้ ดูจากมติธนาคารกลางของไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็น 2 ชาติใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยึดอัตราดอกเบี้ยตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลงนั้น ถือว่า เป็นการสงวนช่องว่างเพื่อใช้นโยบายรับมือกับวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยอีกขั้น
อย่างไรก็ตาม นายฟั่น ลี่หมิน หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกของธนาคารเอชเอสบีซีระบุว่า ถึงแม้อุปสงค์ที่ลดน้อยลงในตลาดเขตเงินยูโร รวมถึงการค้าและเงินทุนที่ลดน้อยลง จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในเอเชียก็ตาม แต่ความร้ายแรงจะน้อยกว่าช่วงเกิดความซบเซาทางเศรษฐกิจโลกปี 2008-2009
(YIM/LING)