วันที่ 26 มิถุนายนเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก ซึ่งในปีนี้มีประเด็นหลักว่า"ทั่วโลกร่วมใจต้านภัยยาเสพติด"ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้ผลคืบหน้าความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศและส่วนภูมิภาคของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเภทยาเสพติด และปัญหาเศรษฐกิจและชนกลุ่มน้อยต่างๆ ทำให้อนาคตการแก้ปัญหายาเสพติดของอาเซียนยังคงหนักหน่วง ซึ่งจากการประชุมความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดอาเซียน-จีนครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมปี 2000 และการประชุมฯครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งเมื่อปี 2005 ที่ประชุมได้ผ่านแถลงการณ์กรุงปักกิ่ง และได้กำหนดกรอบปราบปรามยาเสพติดอาเซียน-จีนอีกครั้ง
จะเห็นได้ว่า อาเซียนกับจีนมีความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดมาโดยตลอด และจัดตั้งกลไกต่างๆ ร่วมกัน จนมีผลงานที่เด่นชัด จีนกับรัฐบาลไทย ลาว เมียนม่าร์ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ได้ลงนามบทบันทึกช่วยจำความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด และดำเนินความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
แม้ว่าอาเซียนใช้ความพยายามมาเป็นเวลานานในการรับมือกับปัญหายาเสพติด แต่พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำยังคงเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดสำคัญในโลก สะท้อนว่าสถานการณ์ปราบปรามยาเสพติดยังคงร้ายแรงมาก และยังสลับกับปัญหาชนเผ่าอีก จึงทำให้ยากที่แก้ปัญหายาเสพติดให้ลุล่วง อย่างเช่นประเทศเมียนม่าร์ที่มีชนเผ่าต่างๆ ถึง 135 ชนเผ่า ทำให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างกันอยู่เนื่องๆ นอกจากนี้ ชนเผ่าส่วนน้อยต่างๆ อยู่ในเขตภูเขาที่เศรษฐกิจด้อยพัฒนา การค้าขายยาเสพติดจึงเป็นแหล่งที่มาของรายได้ประจำของกลุ่มติดอาวุธบางกลุ่ม ดังนั้น ปัญหายาเสพติด ปัญหาชนเผ่าและปัญหาการเมืองภายในประเทศของเมียนม่าร์ทำให้ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดระหว่างประชาคมโลกกับเมียนม่าร์ตกอยู่ในภาวะลำบากยิ่ง
Ton/kt