นายหยาง เป่าจวิน รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เคยไปดูงานในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงหลายครั้ง และเห็นว่าประสบความสำเร็จด้วยดี
"โครงการฯ นี้เกิดขึ้นได้ภายใต้ความพยายามร่วมกันของจีนกับประเทศที่เกี่ยวข้อง และประสบความสำเร็จไม่น้อย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งรวมถึงการปรับการเดินเรือให้ดีขึ้น สามารถเพิ่มกำลังการขนส่ง รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ทำให้จีนมีความร่วมมือกับประเทศรอบข้างเพิ่มมากขึ้น อุทิศทั้งกำลังและทุนทรัพย์จำนวนมาก โดยไม่ประสงค์จะเป็นแกนนำ"
"รายงานว่าด้วยความร่วมมือและการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง 2012" ที่ประกาศในวันเดียวกันระบุว่า จีนมีส่วนร่วมและเป็นผู้ผลักดันความร่วมมืออนุภูมิภาคมาโดยตลอด และให้เงินทุนสนับสนุนโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างจริงจัง เช่น ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ขณะที่การค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับอีก 5 ประเทศก็นับวันเพิ่มขึ้น จีนจึงเป็นแหล่งเงินทุนและคู่ค้าสำคัญ ในปี 2011 ยอดการค้าระหว่างจีนกับอีก 5 ประเทศมีกว่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นางหลิว จื้อ ในฐานะบรรณาธิการใหญ่ของ "รายงานว่าด้วยความร่วมมือและการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง 2012" และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง มหาวิทยาลัยมณฑลยูนนานระบุว่า โครงการความร่วมมืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขงดำเนินมาเป็นเวลา 20 ปีมาแล้ว ขณะนี้กำลังเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ แต่ดูจากภาพโดยรวมแล้ว ทุกประเทศในอนุภูมิภาคมีความประสงค์ที่จะขยายความร่วมมือและร่วมแสวงหาการพัฒนามากขึ้น
(TON/LING)