"เมด อินไชน่า" เผชิญกับข้อท้าทายทางต้นทุน
  2012-07-26 17:14:58  cri

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ บริษัทอาดิดาสประเทศจีนเผยว่า ก่อนสิ้นปีนี้จะปิดโรงงานสังกัดโดยตรงแห่งสุดท้ายในจีน ซึ่งเป็นบริษัทลูกทุนเต็มในนิคมอุตสาหกรรมซูโจว ก่อนสิ้นปีนี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคมปี 2009 ไนกี้ ซึ่งเป็นคู่แข่งของอาดิดาส ก็ได้สั่งปิดโรงงานไท่ชาง ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรองเท้าไนกี้เพียงแห่งเดียวในจีน ส่วนบริษัทข้ามชาติอื่นๆ ก็พากันเคลื่อนย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้

1. ต้นทุนสูงขึ้น บริษัทข้ามชาติแห่สั่งปิดโรงงานสังกัดโดยตรงในจีน

เช่นเดียวกันกับอาดิดาสและไนกี้ ช่วงปีหลังๆ นี้ บริษัทข้ามชาติจำนวนไม่น้อยต่างเคลื่อนย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ย้ายไปยังเวียดนามและบังคลาเทศ เนื่องจากค่าแรงประเทศดังกล่าวต่ำกว่าจีนมาก

รายงานผลการวิจัยโดยหน่วยงานทุนต่างชาติแห่งหนึ่งระบุว่า ปัจจุบัน พนักงานโรงงานสิ่งทอในจีนมีเงินเดือนเฉลี่ย 188-200 ยูโร ขณะที่บังคลาเทศได้รับเพียงประมาณ 80 ยูโรเท่านั้น เวียดนามก็ไม่ถึง 120 ยูโร ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ค่าแรงเฉลี่ยของจีนคิดเป็นมากกว่า 2 เท่าของประเทศดังกล่าว

สินค้าส่งออกของจีนมีต้นทุนสูงขึ้น ทำให้มีกำลังแข่งขันในตลาดโลกอ่อนลง สถิติศุลกากรระบุว่า เริ่มตั้งแต่ปี 2010 กำลังการแข่งขันภาคการผลิตของเวียดนามและอินโดนีเซียสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และกำลังแย่งส่วนแบ่งการตลาดของจีนในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

5 เดือนแรกของปีนี้ สินค้าส่งออกที่ใช้แรงงานจำนวนมากมี 7 ประเภทใหญ่ ได้แก่ สิ่งทอ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ตุ๊กตา เครื่องเฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก มีส่วนแบ่งในตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 63.3 ลดลงร้อยละ 0.4 ขณะที่สินค้าประเภทเดียวกันจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ มีส่วนแบ่งในตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 0.2 และ0.2 ตามลำดับ

2. นวัตกรรมใหม่ๆ เป็นแรงขับเคลื่อนให้กิจการทันสมัยขึ้น

ความเป็นจริงคือ ช่วงหลายปีมานี้ "เมด อิน ไชน่า" กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเงียบๆ ในนิคมอุตสาหกรรมซูโจว นับวันมีบริษัทข้ามชาติ เช่น ซีเมนส์ ซัมซุง และฟิลิปส์ มาตั้งศูนย์การวิจัยและการพัฒนามากขึ้น เพื่อทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามอุปสงค์ของตลาดจีน จากสถิติระบุว่า นิคมอุตสาหกรรมซูโจว มีหน่วยงานการวิจัยและการพัฒนาทั้งหมด 117 แห่ง มวลรวมการผลิตของธุรกิจที่เจริญขึ้นใหม่ในปี 2011 มีกว่า 200,000 ล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 53.2 ของมวลรวมการผลิตทั้งหมด

นักวิเคราะห์เห็นว่า หลังวิกฤตการเงินโลก โครงสร้างเศรษฐกิจโลกเกิดการปรับปรุงเชิงลึก จีนควรถือโอกาสนี้ปรับปรุงอุตสาหกรรมให้ทันสมัยยิ่งๆ ขึ้น

(YING/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040