วิกฤตซีเรียนับวันรุนแรงขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ บางประเทศรอบข้างซีเรียได้เพิ่มปฏิบัติการในประเทศ หลังจากนางฮิลลารี คลินตันเยือนตุรกี รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสเริ่มการเยือนจอร์แดน เลบานอน และตุรกีตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา
ตั้งแต่วิกฤตซีเรียเกิดขึ้น รัฐบาลเลบานอนเคยกล่าวหลายครั้งว่า จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของซีเรีย และคักค้านการแทรกแซงซีเรียทางทหาร โดยเสนอให้แก้วิกฤติซีเรียด้วยการพูดคุยเจรจาทางการเมือง แต่ทว่า รัฐบาลเลบานอนมีแรงกดดันอย่างมากในปัญหาซีเรีย และอยู่ในสภาวะยากลำบาก โดยในด้านหนึ่ง รัฐบาลซีเรียเรียกร้องให้เลบานอนคุมเข้มพรมแดน ห้ามอาวุธและกลุ่มติดอาวุธผ่านพรมแดนเลบานอนและเข้ามายังซีเรีย พร้อมส่งตัวฝ่ายต่อต้านซีเรียกลับประเทศ อีกด้านหนึ่ง สหรัฐฯ และประเทศตะวันตกอื่นๆ ให้แรงกดดันกับรัฐบาลเลบานอนมาโดยตลอด บีบบังคับให้เลบานอนเลิกใช้นโยบายไม่แทรกแซงซีเรีย และสนับสนุนฝ่ายต่อต้านซีเรีย
จุดยืนของตุรกีคือสนับสนุนฝ่ายต่อต้านซีเรีย ตั้งแต่เกิดวิกฤตซีเรียเป็นต้นมา ตุรกีสนับสนุนฝ่ายต่อต้านมาโดยตลอด โดยอนุมัตให้ฝ่ายต่อต้านซีเรียตั้งฐานในเมืองอิสตันบูรของตุรกี และจัดการประชุมระหว่างประเทศในหัวข้อ "มิตรซีเรีย" เพื่อลงโทษซีเรีย และเสนออาวุธให้ฝ่ายต่อต้าน ตลอดจนเรียกร้องให้ประธานาธิบดีบาชาร์ของซีเรียลาออกจากตำแหน่ง
ส่วนอิรักมีจุดยืนสนับนุนการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี วิกฤติซีเรียส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสังคม เศรษฐกิจ และสถานการณ์ความมั่นคงของอิรัก รัฐบาลอิรักเคยเผยหลายครั้งว่า ยินดีที่จะแสดงบทบาทของตน ช่วยกันแก้ไขวิกฤตซีเรีย อิรักเสนอให้แก้ไขปัญหาอย่างสันติด้วยวิถีทางการเมือง คัดค้านการแทรกแซงจากภายนอก และคัดค้านแก้วิกฤตซีเรียด้วยกำลังรุนแรง
ท่าทีของจอร์แดนเป็นแบบไม่สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จอร์แดนเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากวิกฤตซีเรีย โดยมีผู้ประสบภัยชาวซีเรียจำนวนมากมายหลั่งไหลเข้าสู่จอร์แดน สร้างภาระหนักทางเศรษฐกิจแก่จอร์แดน รัฐบาลจอร์แดนแสวงหาวิถีทางการเมืองเพื่อแก้ไขวิกฤตซีเรียมาโดยตลอด
In/Ldan