นักวิเคราะห์เห็นว่า ในช่วงระยะการดำรงตำแหน่งอีก 4 ปีข้างหน้าของนายบารัก โอบามา สหรัฐฯ จะดำเนินยุทธศาสตร์ "การสร้างความสมดุลอีกครั้งในเอเชียแปซิฟิก" ต่อไป
การที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญต่อเอเชียนั้นเป็นเพราะว่า ภูมิภาคนี้เป็นความหวังแห่งอนาคตของโลก ปีหลังๆ นี้ เอเชียเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังปรับเปลี่ยนและสร้างแนวโน้มทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ใหม่ในทั่วโลก ทำให้ผู้ตัดสินนโยบายของสหรัฐฯ เกิดความรู้สึกชัดเจนว่า ควรเร่งปรับปรุงนโยบายในเอเชียแปซิฟิก
โดยรัฐบาลนายบารัก โอบามาจะผลักดันยุทธศาสตร์ "การสร้างความสมดุลอีกครั้งในเอเชียแปซิฟิก" ในสามด้าน คือ เสริมความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ และสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนใหม่ ตลอดจนกระชับความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับองค์การสำคัญในภูมิภาค การเยือนเอเชียครั้งนี้ของนายบารัก โอบามา ไม่ว่าจะเป็นการเยือนเมียนมาร์ที่เพิ่งทะลายน้ำแข็งแห่งความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ได้เมื่อไม่นาน หรือการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกก็ตาม ล้วนเป็นปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว
นักวิเคราะห์เห็นว่า เนื่องจากเอเชียได้กลายเป็นศูนย์กลางของการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก การเมืองภูมิศาสตร์ สหรัฐฯ จึงต้องขบคิดยุทธศาสตร์ของการเมืองภูมิศาสตร์และการรักษาฐานะที่เป็นแกนนำทั่วโลกอีกครั้ง ใน 4 ปีข้างหน้า รัฐบาลโอบามาจะดำเนินยุทธศาสตร์ "การสร้างความสมดุลอีกครั้ง" ในเอเชียแปซิฟิกอย่า่งต่อเนื่อง กระทั่งมีการเพิ่มเติมบ้างก็ได้ นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาอนาคตอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า สหรัฐฯ ยังคงจะเสริมการมีส่วนร่วมในเอเชียในหลายด้าน อาทิ การทหาร การต่างประเทศและเศรษฐกิจให้เพิ่มมากขึ้นด้วย
นักวิเคราะห์ยังเห็นว่า ภายใต้เบื้องหลังการก้าวสู่ยุคโลกาภิวัตน์ที่ผลประโยชน์ระหว่างประเทศผูกพันกันอย่างซับซ้อนมาก ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่ว่า "การสร้างความสมดุลอีกครั้ง" ในเอเชียแปซิฟิกนั้น ควรมีลักษณะแบบเปิดกว้าง เน้นความร่วมมือและให้ความเคารพต่อผลประโยชน์สำคัญของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีแต่ดำเนินการตามแนวคิดเช่นนี้ ฝ่ายต่างๆ จึงจะสามารถร่วมกันสร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีศักยภาพ เจริญรุ่งเรืองและมั่นคง และบรรลุเป้าหมายที่ว่าเอื้อประโยชน์แก่กันและมีชัยชนะร่วมกัน
(Yim/Lin)