การวางแผนก่อเหตุ "เผาตัวตาย" คงไม่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมที่ล้มเหลวของกลุ่มทะไล ลามะ
  2012-12-11 13:23:40  cri
วันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวซินหวาของจีนได้รายงานข่าวเกี่ยวกับตำรวจมณฑลเสฉวนทางภาคตะัวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้คลี่คลายคดีการปลุกปั่นยั่วยุให้คนอื่นเผาตัวตายหลายคดี โดยมีหลักฐานและข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายของผู้ต้องสงสัยดังกล่าว ตลอดจนเปิดโปงให้สาธารณะชนรับรู้ว่า กลุ่มทะไล ลามะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการวางแผนก่อการกระทำผิดกฎหมายเหล่านี้

โดยเมื่อวัน 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทะไล ลามะได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวบีบีซีของอังกฤษ และชื่นชมว่า "ผู้ที่เผาตัวตายเป็นคนกล้าหาญ แต่การเสียชีวิตของพวกเขาจะทำให้เกิดประสิทธิผลขึ้นมาบ้างหรือไม่นั้น ยังไม่แน่ใจ " คำพูดเหล่านี้ของทะไล ลามะทำให้เราเห็นชัดเจนว่า ในสายตาของทะไล ลามะ การเผาตัวตายเป็นเรื่องที่โหดร้าย ไม่ถูกต้องตามหลักมนุษยธรรมและต้องยุติลงโดยเร็วนั้ันคงไม่สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือจะทำอย่างไรให้การเผาตัวตายเกิดประสิทธิผล

ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่งของกลุ่ม ททะไล ลามะ และยังถูกการคัดค้านและประณามจากประชาชนเขตทิเบตและบุคคลวงการศาสนา อีกทั้งทำให้ประชาคมโลกเกิดข้อกังขาต่อทะไล ลามะอย่างมาก

ตั้งแต่ปี 1959 กลุ่มทะไล ลามะ ก่อการกบฎด้วยกำลังอาวุธ แต่พบกับความพ่ายแพ้และลี้ภัยไปต่างประเทศเป็นต้นมา ในช่วงเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ กลุ่มทะไล ลามะ ได้ก่อเหตุร้ายแรงหลายครั้ง อาทิ การร่วมมือกับอิทธิพลต่างชาติใช้กำลังอาวุธล่วงล้ำชายแดนของจีน วางแผนก่อความไม่สงบในเมืองลาซา และก่อเหตุเผาทำลายปล้นทรัพย์ในเมืองลาซา เป็นต้น ทั้งนี้ ล้วนมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ทิเบตเป็นเอกราช ส่วนในปีหลังๆ นี้ ก็พยายามวางแผนให้ก่อเหตุ "เผาตัวตาย" โดยมุ่งหมายจะให้กรรมชั่วร้ายของตนกลายเป็นต้นทุนในการต่อรองกับรัฐบาลกลาง แต่วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ "ทิเบตเป็นเอกราช"

ใครเป็นผู้วางแผนก่อเหตุเผาตัวตาย วัตถุประสงค์ของผู้วางแผนคืออะไร ตามความเป็นจริงแล้ว ประเทศตะวันตกรู้เรื่องนี้อย่างชัดเจนมาโดยตลอด เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รายงานวิจัยของ "บริษัทคาดการณ์ทางยุทธศาสตร์" ของสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า "เมื่อเทียบกับการเดินขบวนประท้วงแล้ว การวางแผนก่อเหตุเผาตัวตายคงง่ายกว่าเพียงต้องปลุกปั่น ยั่วยุบางคนเท่านั้น ไม่ต้องใช้เงินทุนมาก แต่จะเกิดประสิทธิผลมากขึ้นเป็นเท่าตัว จึงควรเร่งให้ทะไล ลามะ ใช้วิธีการที่ลงทุนต่ำ แต่ได้ผลตอบแทนสูง"

หากพิจารณาการเคลื่อนไหวแบบลัทธิแบ่งแยกของกลุ่มทะไล ลามะเห็นได้ว่า ช่วงแรกยังใช้กำลังรุนแรงโดยสิ้นเชิง หลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาใช้ทั้งการใช้กำลังรุนแรงและไม่ใช้กำลังรุนแรง แต่ปัจจุบันก็หันมาใช้กำลังรุนแรงอีกครั้ง กระทั่งมีวิธีใหม่ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม วิธีการต่างๆ ของกลุ่มทะไล ลามะ ล้วนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของทิเบตที่กำลังพัฒนาและเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการดูแลและการสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง อีกทั้งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมที่ล้มเหลวของกลุ่มทะไล ลามะอย่างแน่นอน

(Ying/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040