เมื่อกางแผนที่ประเทศไทยออกดู จะเห็นทางหลวง 2 สายเด่นชัดกว่าสายอื่น ซึ่งสายหนึ่งถือกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง ขึ้นสู่ทางภาคเหนือผ่านประเทศลาวเชื่อมต่อกับเมืองคุนหมิงของจีน ทางใต้ผ่านมาเลเซียไปยังสิงคโปร์ อีกสายหนึ่งเป็นสายตอนกลาง ซึ่งทะลุภาคกลางของไทย ทางตะวันออกผ่านลาวไปยังเวียดนาม ทางตะวันตกเชื่อมกับทางหลวงเอเชียหมายเลข 2 ไปยังเมียนมาร์ ทางหลวง 2 สายดังกล่าวมาบรรจบในประเทศไทย ประกอบเป็น"เส้นโลหิตแดง"ของเครือข่ายทางหลวงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นทางหลวงสำคัญที่เชื่อมต่อกับประเทศจีน
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอได้นั่งรถยนต์จากจังหวัดไชยบุรีของลาวไปยังกรุงเวียงจันทร์ ทางหลวงที่วิ่งผ่านเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทางหลวงคุนหมิง-กรุงเทพฯ และเป็นทางหลวงสายสำคัญที่สุดของลาวด้วย แต่ระยะทาง 500 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทางนานกว่า 16 ชั่วโมง ระหว่างทางยังต้องโดยสารเรือข้ามแม่น้ำโขงด้วย แต่ว่ารออีก 1-2 ปี การเดินทางจากคุนหมิงถึงเวียงจันทร์จะสะดวกรวดเร็วทางขึ้น และจากเวียงจันทร์ลงใต้ถึงประเทศไทย ก็จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายทางหลวงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงเวลานั้น เศรษฐกิจของลาวและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทยก็จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากขึ้น
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางหลวงของไทยและมาเลเซียมีสภาพดีที่สุด ประเทศไทยเป็นชุมทางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากทางหลวงในไทยเชื่อมต่อกับเครือข่ายดังกล่าว ก็จะเป็นผลดีต่อธุรกิจการขนส่งทางบกของประเทศรอบข้าง ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเร่งสร้างระเบียงเศรษฐกิจจากใต้ถึงเหนือและจากตะวันออกสู่ตะวันตก เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลไทยได้วางแผนลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท(ประมาณ 73,300 ล้านดอลาร์สหรัฐ) เพื่อพัฒนาระบบการคมนาคม ซึ่งมากกว่า 80% จะใช้กับการสร้างทางรถไฟความเร็วสูง และประมาณ 15% จะใช้กับการสร้างทางหลวง