คนจีนเริ่มให้ความสนใจการเขียนตัวอักษรภาษาจีนมากขึ้น (1)
  2013-09-06 11:40:29  cri

                                                                    รายการ "汉字英雄"(ฮั่นจื้ออิงโสง)

หลายเดือนมานี้ สถานีโทรทัศน์ของจีนเกือบทุกช่องมีรายการประกวดหรือรายการแข่งขัน เช่น "the Voice of China" "Chinese Idol" เป็นต้น ซึ่งเป็นรายการประกวดร้องเพลงหรือประกวดการแสดง นอกจากนี้ ยังมีการประกวดกระโดดน้ำด้วย ได้รับความนิยมมากจากผู้ชมชาวจีนทั้งในจีนและต่างประเทศ แต่มีรายการหนึ่งได้รับความสนใจและนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศในสถานีโทรทัศน์ CCTV ช่อง 10 ซึ่งเป็นช่องการศึกษาและวิทยาศาสตร์เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นั่นก็คือรายการ "汉字英雄" (ฮั่นจื้ออิงสยุง) หรือภาษาอังกฤษว่า Hero of Chinese characters คือให้นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันเขียนตัวอักษรจีนตามคำบอก โดยได้เชิญพิธีกรอ่านข่าวที่มีชื่อเสียงจาก CCTV ช่อง 1 เป็นผู้อ่านคำ เพื่อให้การออกเสียงภาษาจีนได้มาตรฐานที่สุด

รายการนี้ออกอากาศสัปดาห์ละครั้ง ได้รับความสนใจจากผู้ชมมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนักเรียนแล้ว ผู้ใหญ่จนกระทั่งผู้สูงอายุของวงการต่างๆ ในสังคมจีนก็พากันให้ความสนใจต่อรายการนี้ด้วย สาเหตุสำคัญอาจเพราะว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และจังหวะชีวิตที่รวดเร็วขึ้น ทำให้คนเราเน้นแต่ประสิทธิภาพสูงในการทำงานและการใช้ชีวิต สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ถนัดตั้งแต่เด็กวัยไม่กี่ขวบ แต่กลับลืมการเขียนด้วยปากกา ชาวจีนบางคนพูดเล่นว่า ตัวเองใกล้จะเป็นผู้ที่ไม่รู้หนังสือแล้ว ถ้าความสามารถในการเขียนภาษาจีนของชาวจีนรุ่นต่อๆ ไปลดลงเรื่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อการสืบทอดวัฒนธรรมจีนอย่างแน่นอน

                                                                      ตัวอักษรจีน "好" แปลว่า ดี

ภาษาจีนมีความสลับซับซ้อนกว่าภาษาอื่น ตัวอักษรที่ใช้บ่อยมีประมาณ6,500-7,000 ตัว ถ้ารวมตัวอักษรโบราณหรืออักษรที่ไม่ค่อยได้ใช้ด้วยก็มีกว่า 10,000 ตัว แต่ละคำมีความหมายที่แตกต่างกัน บางครั้งหนึ่งเสียงมีหลายตัวอักษร หนึ่งตัวอักษรมีหลายความหมายและหลายเสียง หรือหลายตัวมีความหมายเดียวกัน ทำให้ภาษาจีนเรียนยากกว่าภาษาอื่น แต่ก็ถือเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดชาวต่างชาติจำนวนมากให้สนใจเรียนและศึกษาภาษาจีน แต่ชาวจีนในฐานะเป็นเจ้าของภาษา กลับให้ความสนใจต่อภาษาจีนน้อยลงเรื่อยๆ

สังคมจีนปัจจุบัน แม้จำนวนของผู้ไม่รู้หนังสือลดลงอย่างมาก แต่อัตราการเขียน และการอ่านภาษาจีนผิดกลับเพิ่มสูงขึ้น บ่อยครั้งที่รู้จักและอ่านตัวอักษรได้ แต่นึกไม่ออกว่าจะเขียนอย่างไร เพราะภาษาจีนเป็นตัวอักษรไม่เหมือนภาษาตัวสะกด เพียงฟังการออกเสียงจะเขียนออกไม่ได้ ต้องฝึกเขียนหลายๆ ครั้งถึงจะจำแม่น แต่ถ้าไม่ได้เขียนเป็นเวลานาน ก็ลืมง่าย

ขณะที่การพิมพ์ตัวอักษรจีนด้วยคอมพิวเตอร์ จะใช้วิธีการพิมพ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษเพื่อเลือกเสียงเทียบด้วยพินอินแล้วจะมีคำศัพท์จีนที่เสียงเดียวกัน ปรากฎโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้พิมพ์เลือกว่าต้องการใช้ตัวอักษรใด ทำให้ไม่ต้องสนใจในรายละเอียดว่าตัวอักษรดังกล่าวเขียนอย่างไร

                                                               นายโม่เหยียนชอบเขียนโดยพู่กันจีน

นายโม่ เหยียน นักเขียนที่มีชื่อเสียงของจีน ผู้ได้รับรางวัล"โนเบลสาขาวรรณกรรม" เมื่อปี 2012 ไม่ชอบเขียนโดยคอมพิวเตอร์ เขาบอกว่าเวลาใช้ปากกาหรือพู่กันเขียนภาษาจีน รู้สึกมีความสุขกับการเขียนและการชมความสวยงามของตัวอักษรจีน นอกจากนี้ ยังสามารถฝึกสมองได้ด้วย เพราะแม้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์จะเขียนได้เร็ว แต่ทำให้ผู้เขียนขี้เกียจใช้สมองคิด กลับไปเลือกศัพท์ที่คอมพิวเตอร์เสนอให้ จนไม่สามารถเขียนบทความที่ตรงกับความคิดของตนเองอย่างเต็มที่ และไม่มีโอกาสสร้างศัพท์ที่มีความหมายพิเศษได้ ในที่สุดเขาจึงตัดสินใจไม่ใช้คอมพิวเตอร์เขียนหนังสืออีกต่อไป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040